“สิงคโปร์” กำลังจะขึ้นเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่แท้จริง แทนฮ่องกงที่ปัญหาการเมืองกำลังรุมเร้า

922 615 admin

 “สิงคโปร์” กำลังจะขึ้นเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่แท้จริง แทนฮ่องกงที่ปัญหาการเมืองกำลังรุมเร้า

 

ท่ามกลางความตึงเครียดทางการเมืองของฮ่องกง ที่การประท้วงยืดเยื้อมาหลายเดือน รู้หรือไม่ว่าสิงคโปร์กำลังจะเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่ยิ่งใหญ่ เมื่อเทียบกับประเทศรอบข้างที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน

 

Highlight
  • ความตึงเครียดในจีนแผ่นดินใหญ่ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่าธุรกิจหลายแห่งอาจจะฐานธุรกิจจากฮ่องกงไปสิงคโปร์แทน
  • ในปีนี้ฮ่องกงถูกจัดอันดับให้เป็นศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก ขณะที่สิงคโปร์อยู่อันดับที่ 5
  • ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าสิงคโปร์สามารถแซงหน้าฮ่องกงได้ หากฮ่องกงขาดการลงทุนที่ต่อเนื่องของธุรกิจขนาดใหญ่
  • สิงคโปร์กำลังเผชิญกับภาวะถดถอยที่เลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ได้รับเอกราช ซึ่งในปี 2563 นี้คาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) จะติดลบ 7%

 

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ฮ่องกงซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์กลางทางการเงิน อันดับ 6 ของโลก อาจจะต้องดิ้นรนเพื่อรักษาอันดับไว้ เนื่องจากธุรกิจหลายแห่งกำลังพิจารณาย้ายฐานการลงทุนไปสิงคโปร์แทน จากการแก้กฎหมายในประเด็นข้อพิพาทระหว่างจีน-ฮ่องกง ภายหลังเกิดการประท้วงรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา

ล่าสุดในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เพียงวันเดียวก่อนถึงวันครบรอบ 23 ปีที่อังกฤษคืนฮ่องกงให้จีน จีนได้ผ่านกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฮ่องกง ซึ่งในกฎหมายฉบับนี้จีนต้องการควบคุมอำนาจการประท้วงในฮ่องกงอย่างเบ็ดเสร็จ รวมถึงการจัดการก่อการร้ายทั้งหมด ทำให้เหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรงขึ้น เนื่องจากในวันครบรอบฯ ดังกล่าว ผู้คนฮ่องกงต่างออกมาประท้วงรัฐบาลและเรียกร้องประชาธิปไตยเกือบทุก ๆ ปี ทั้งนี้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาแทรกแซงโดยประกาศว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ถือว่าฮ่องกงเป็นอิสระจากจีน

ดังนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมา ย่อมส่งผลต่อเศรษฐกิจฮ่องกงอย่างแน่นอน ผู้เชี่ยวชาญทั้งนักวิเศรษฐศาสตร์และนักวิเคราะห์ต่างตั้งคำถามถึงความสามารถการรักษาการเป็นศูนย์กลางทางการเงิน (ฮับการเงิน) ในระยะยาวไว้ได้หรือไม่ นอกจากนี้เหตุการณ์ความข้ดแย้งทางการเมืองยังทำให้หุ้นตกอีกด้วย

 

สาเหตุที่ “สิงคโปร์” จะขึ้นมาแทนที่

ดัชนีการจัดอันดับ Edition of the Global Financial Centres Index (GFCI) ครั้งที่ 27 จัดอันดับศูนย์กลางทางการเงินโลกโดยให้สิงคโปร์มาก่อน ซึ่งเดิมในปี 2553 ฮ่องกงเคยอยู่ในอับดับที่ 5 แต่ปัจจุบัน GFCI จัดอันดับให้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 4 ในปี 2562 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ความเห็นของนักวิเคราะห์มองว่าสิงคโปร์โดดเด่นกว่าฮ่องกงอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้การจัดอันดับของทั้ง 2 ประเทศจึงห่างขึ้นอีก โดย Arthur Dong ศาสตราจารย์ประจำ Georgetown University’s McDonough School of Business กล่าวว่า “การปรับปรุงกฎหมายความมั่นคง อาจจะทำให้การเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดของโลกของฮ่องกงต้องสิ้นสุดลง”

Arthur Dong กล่าวเพิ่มเติมว่า “ฮ่องกงในฐานะที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินของเอเชียตะวันออก ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากสถานะการปกครอง “1 ประเทศ 2 ระบบ” ภายใต้การปกครองของจีน นับตั้งแต่ปี 2540 หลังอังกฤษคืนฮ่องกงให้จีน”

โดยอาจารย์ประจำ Georgetown University ท่านนี้ อธิบายเพิ่มเติมว่าการเป็นศูนย์กลางทางการเงินโลกของฮ่องกง ต้องพึ่งปัจจัยสำคัญคือการคุ้มครองสิทธิและทรัพย์สิน และเสถียรภาพทางการเมืองที่จะส่งผลต่อการลงทุนธุรกิจในอนาคตของบริษัทเอกชน แต่การแก้กฎหมายฉบับใหม่ของจีนล่าสุด ละเมิดปัจจัยสำคัญทั้ง 2 ข้อที่กล่าวมา

ซึ่งเรื่องนี้ Arthur Dong ไม่ได้กล่าวเพียงคนเดียว แต่ดร.Ying Wu ผู้ช่วยศาสตราจารย์ School of Business at Stevens Institute of Technology กล่าวในลักษณะเดียวกันว่า “เดือนเมษายนที่ผ่านมา เราเห็นการลดลงของเงินทุนในตลาดเกิดใหม่ ทั้งจีนและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประมาณเกือบ 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ”

 

 

ดร.วูกล่าวว่า “การปรับปรุงกฎหมายของจีน คาดว่าจะทำให้กระแสเงินทุนไหลออกจากการศูนย์กลางทางการเงินของเอเชีย ซึ่งถือเป็นสะพานสำคัญที่เชื่อมเศรษฐกิจจีนกับทั่วโลก”  

ทั้งนี้ในเดือนมีนาคม 2563 เธอให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เงินฝากสกุลเงินต่างประเทศ ทั้งในธนาคารในประเทศและต่างประเทศของสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หรือเพิ่มขึ้นรวม 15 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว

“อย่างไรก็ตามแม้จะไม่ทราบแน่ชัดว่าเงินทุนมาจากไหน แต่นักเศรษฐศาสตร์ทราบดีเงินที่ไหลเข้าสิงคโปร์นั้น เป็นการย้ายเงินทุนในภูมิภาค เพื่อเก็บเงินในที่ ๆ มีความปลอดภัยในการลงทุน (Safe Haven)” ดร.วูกล่าว

Jeffrey Halley นักวิเคราะห์การตลาดอาวุโส Asia-Pacific at OANDA กล่าวว่า “หากจะมองหาทางออกของฮ่องกง ประเทศที่จะเป็นผู้ชนะที่แท้จริงจากเรื่องนี้ น่าจะเป็นสิงคโปร์”

“เพราะถ้าฮ่องกงถูกจีนกุมอำนาจเบ็ดเสร็จ จะมีคำถามจากนักลงทุนว่า แล้วทำไมบริษัทต่าง ๆ ยังต้องอยู่ในฮ่องกง? ยิ่งหากบริษัทเหล่านั้นไม่ได้ต้องการอยู่ภายใต้กฎหมายใหม่ของจีน แต่อยากอยู่ภายใต้ระบบกฎหมายแบบตะวันตก นักลงทุนเหล่านั้นก็อาจจะย้ายไปทำธุรกิจที่สิงคโปร์จะดีกว่า” Halley กล่าว

ในทางกลับกัน Hernando Gomez หัวหน้าหน่วยงาน The Business Valuation Division at MBAF กล่าวในอีกมุมมองหนึ่งว่า “ในภาวะที่ฮ่องกงกำลังเผชิญเรื่องเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่ได้รับเอกราชจากอังกฤษ อาจจะไม่ง่ายที่สิงคโปร์จะมาฉกฉวยโอกาสตรงนี้ไป”  

“เพราะอย่าลืมว่าในหลายๆ ประเทศ ทั้งสิงคโปร์เองและเมืองเซียงไฮ้ของจีน ก็กลับเจริญรุ่งเรืองขึ้น ท่ามกลางความโชคร้ายต่างๆ ทั้งนี้มองว่ายังไม่เห็นผู้ที่ชนะอย่างแท้จริง เพราะปัจจุบันแต่ละประเทศกำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย” Gomez กล่าว

 

ภาพรวมเศรษฐกิจสิงคโปร์

การระบาดของโรค Covid-19 ได้ทำลายอุตสาหกรรมหลักของสิงคโปร์ ทั้งในภาคการท่องเที่ยวและการขนส่ง (Shipping) โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ สิงคโปร์ คาดการณ์ว่า GDP อาจจะ -7% ในปี 2563 หรือกรณีที่ดีที่สุด ก็หดตัวประมาณ -4% จากเดิมที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะ -4% ถึง -1%

Halley ระบุว่า “มีเพียงสิงคโปร์ที่กำลังมีความคืบหน้า โดยสิงคโปร์อยู่ระหว่างการผลักดันประเทศให้เป็นศูนย์กลางทางการเงิน และศูนย์กลางทางข้อมูล โดยพยายามจะเทียบชั้นศูนย์ทางการเงินและข้อมูลอย่างเมืองโตเกียว ลอนดอนและนิวยอร์ค”

Halley กล่าวเพิ่มเติมว่า “และเมื่อย้อนกลับไปดูความสามารถการแข่งขันของฮ่องกง พบว่าปัจจุบันฮ่องกงยังอยู่ระหว่างการต่อต้านกฎหมายจีน ขณะที่การพัฒนาของสิงคโปร์คืบหน้าไปเรื่อย ๆ”

โดยสาเหตุที่ Halley มั่นใจเช่นนั้นก็เพราะว่า โครงสร้างเศรษฐกิจสิงคโปร์มาจากฐานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ สอดคล้องกับความต้องการในตลาดโลก ประกอบกับความสามารถในการปรับตัวท่ามกลางความความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็ว

ทั้งนี้ทั้ง 2 ประเทศมีความโดดเด่นต่างกัน ฮ่องกงขึ้นชื่อว่าเป็นศูนย์กลางทางธุรกิจมาอย่างยาวนาน มีนโยบายลดภาษีให้กับนักลงทุนต่างประเทศ และลดภาษีสินค้าเพื่อดึงดูดการท่องเที่ยว สร้างเม็ดเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ขณะที่สิงคโปร์โตอย่างรวดเร็วและมีความคล่องตัวในการลงทุน และเติบโตจากอุตสาหกรรมโลจิสติกส์และการขนส่ง

อย่างไรก็ตามสิงคโปร์-ฮ่องกงแข่งขันกันมาหลายทศวรรษ เพื่อชิงความโดดเด่นในภูมิภาค ต่างดึงดูดนักลงทุนด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่ครบครัน เอื้อการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งนโยบายยกเว้นภาษี หรือสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนที่ครอบคลุมแทบจะทุกด้าน เหมาะสำหรับการเป็น “แหล่งลงทุนที่ดีที่สุด” หรือ Best Place to Do Business

Leave a Reply

Your email address will not be published.