การจดทะเบียนตั้งบริษัทในสิงคโปร์ ฉบับปี 2021

150 150 admin

นักลงทุนต่างชาติที่สนใจตั้งบริษัทที่สิงคโปร์ จะต้องยื่นเอกสารและทำตามขั้นตอนของหน่วยงานด้านการบัญชีและกำกับดูแลองค์กร หรือ Accounting & Corporate Regulatory Authority (ACRA) แล้วการจดทะเบียนธุรกิจในสิงคโปร์จะมีข้อดีอย่างไรบ้าง? ในบทความนี้ Interloop ได้รวบรวมจุดเด่นของการลงทุนในสิงคโปร์และเอกสารที่นักลงทุนต้องเตรียมมาฝากกัน

 

ข้อดีของการจดทะเบียนธุรกิจในสิงคโปร์  

 

1. สิงคโปร์เป็น Financial Hub ในเอเชีย

สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีบริการทางการเงินที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นบริการธนาคารพาณิชย์ การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ การลงทุนในหุ้น และประกันภัย ซึ่งบริการเหล่านี้เป็นตัวอย่างการให้บริการบางส่วนเท่านั้น ยังไม่นับบริการอื่น ๆ เช่น บริการจัดการทรัพย์สิน การซื้ออนุพันธ์ หรือตราสารหนี้ในต่างประเทศ

สำหรับตลาดหุ้นสิงคโปร์หรือ Singapore Exchange (SGX) ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียน 200 แห่ง ทั้งบริษัทต่างชาติที่มีชื่อเสียงระดับโลก และบริษัทที่เป็นธุรกิจของชาวสิงคโปร์ ทำให้ตลาดหุ้นสิงคโปร์มีความโดดเด่น จากการซื้อขายอนุพันธ์ที่หลากหลายแห่งแรกในเอเชียแปซิฟิก

ดังนั้นด้วยบริการทางการเงินที่ครอบคลุมทุกด้านของสิงคโปร์ ส่งผลให้เอเชียมีความโดดเด่นด้าน Asset Management

 

2. การจัดเก็บภาษีในอัตราต่ำ

สิงคโปร์ได้ลงนามในข้อตกลงภาษีกับประเทศอื่น ๆ กว่า 70 ฉบับ เพื่อลดการจัดเก็บภาษีซ้ำซ้อน ขณะเดียวกันสิงคโปร์ยังออกกฎหมายจัดเก็บภาษีนิติบุคคล หรือ Corporate Tax ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ หรืออยู่ที่ประมาณ 17%

นอกจากนี้ยังมีเงื่อนไขยกเว้นภาษีสำหรับบริษัทที่เพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจ ที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ ทั้งยังไม่จัดเก็บภาษีเงินปันผลและภาษีจากทุนจดทะเบียน เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ส่วนการจัดเก็บอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปัจจุบันจัดเก็บในอัตรา 0-22%

 

3. สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการลงทุน

World Bank ได้จัดอันดับให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความยากง่ายในการประกอบธุรกิจอันดับต้น ๆ จากความโปร่งใสในการประกอบธุรกิจ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุน จากการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลในระดับต่ำ รวมถึงทักษะแรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่กฎหมายอนุญาตให้มีการย้ายถิ่นฐานได้ หากมีการลงทุนในสิงคโปร์

 

4. ค่าครองชีพเหมาะสม

ค่าครองชีพในสิงคโปร์ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย ทำให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่น่าอยู่ทั้งในแง่ของการลงทุนและการใช้ชีวิตประจำวัน จากค่าครองชีพที่เหมาะสม ทำให้คนมีทางเลือกและลดรายจ่ายไปได้ค่อนข้างมาก ด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่ดี ทำให้ที่อยู่อาศัยไม่กระจุกตัว ส่วนค่าอาหารก็ไม่แพง เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยของประชากร

 

5. โครงสร้างพื้นฐานระดับ World-Class

สิงคโปร์เป็นประเทศหนึ่งในเอเชียที่มีโครงสร้างพื้นฐานระดับโลก ทั้งทางถนนและระบบรถไฟฟ้าที่ครอบคลุมการเดินทางทั้งเกาะ ซึ่งเป็นผลจากการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่โตอย่างรวดเร็ว ทำให้เป็นประเทศต้นแบบในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และนอกจากโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมแล้ว สิงคโปร์ยังมีระบบบริการด้านสุขภาพ (health care) ระบบการศึกษา และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ เช่น สวนสาธารณะที่ดีมากเช่นกัน

 

 

6. เอกสารสำคัญที่ต้องใช้ยื่นจดทะเบียนธุรกิจในสิงคโปร์

สำหรับผู้ประกอบการที่อยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าไปลงทุนที่สิงคโปร์ดีหรือไม่ ก่อนอื่นจะต้องเตรียมเอกสารสำคัญเหล่านี้ เพื่อลดความยุ่งยากในการจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่ในต่างประเทศ

  • ชื่อบริษัท : อันดับแรกคือชื่อบริษัท โดยสิ่งที่ต้องนักลงทุนต้องทราบ คือ ชื่อที่ใช้ควรเกี่ยวข้องกับธุรกิจ ทั้งนี้ควรตรวจสอบว่าซ้ำกับบริษัทอื่นหรือไม่ เพื่อให้ได้ชื่อเป็นเอกลักษณ์ และสามารถสร้างแบรนด์ได้ในอนาคต หลังจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว
  • คำอธิบายธุรกิจสั้น ๆ : ในขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท สิ่งสำคัญที่หน่วยงานรัฐบาลสิงคโปร์จะพิจารณาคือ ข้อมูลของบริษัทว่าดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอะไรและแผนการดำเนินงานอย่างไรบ้าง ดังนั้นนักลงทุนควรจะอธิบายธุรกิจแบบสั้น ๆ ว่าธุรกิจคุณคืออะไร ทำอะไรบ้าง เพื่อให้การออกใบอนุญาตราบรื่นและตรงกับธุรกิจมากที่สุด
  • รายนามผู้ถือหุ้น : บริษัทจะต้องเปิดเผยรายชื่อผู้ถือหุ้น ซึ่งตามกฎหมายการประกอบธุรกิจสิงคโปร์ระบุว่า บริษัทสามารถมีผู้ถือหุ้นได้อย่างน้อย 1 ราย แต่ไม่เกิน 50 ราย ทั้งนี้ผู้ถือหุ้นจะเป็นนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาก็ได้
  • เลขานุการบริษัท : บริษัทจะต้องระบุชื่อเลขานุการบริษัท ตามองค์ประกอบของการจัดตั้งบริษัทโดยทั่วไป โดยหน้าที่ของเลขานุการบริษัทนั้น จะเป็นผู้ดูแลและยื่นเอกสารที่สำคัญทั้งหมด
  • กรรมการบริษัท : กรรมการบริษัทอาจจะเป็นชาวต่างชาติหรือขาวสิงคโปร์ก็ได้ แต่มีเงื่อนไขว่า หากมีกรรมการบริษัทเป็นชาวต่างชาติ จะต้องต้องมีกรรมการอย่างน้อย 1 คนที่มีถิ่นพำนักถาวรในสิงคโปร์ ทั้งนี้ไม่อนุญาตให้มีกรรมการบริษัทที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล

 

7. โครงสร้างการจัดตั้งบริษัทในสิงคโปร์มีอะไรบ้าง?

ACRA อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติจดทะเบียนธุรกิจในรูปแบบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • Private Limited Company หรือบริษัทเอกชนจำกัด
  • Partnership business หรือธุรกิจห้างหุ้นส่วน
  • Sole Proprietorship หรือธุรกิจที่มีเจ้าของเพียงผู้เดียว

โดยทั้ง 3 รูปแบบนี้ การจัดตั้งบริษัทแบบ Private Limited Company เป็นโครงสร้างธุรกิจที่พบมากที่สุดในสิงคโปร์ มีข้อดี ดังนี้

  • ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัด กรณีที่ธุรกิจขาดทุนรับผิดชอบในส่วนที่ถือหุ้นเท่านั้น แต่ไม่ต้องออกทรัพย์สินส่วนตัว
  • น่าเชื่อถือและเป็นที่นิยมมากกว่ารูปแบบอื่น ๆ
  • ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีมากกว่ารูปแบบอื่น ๆ
  • ขั้นตอนการจดทะเบียนค่อนข้างง่าย ไม่ซับซ้อน

 

สรุป

หากนักลงทุนเข้าใจการทำธุรกิจในสิงคโปร์หรือเตรียมตัวอย่างดี ขั้นตอนการจดทะเบียนทำธุรกิจในสิงคโปร์ก็ไม่ใช่เรื่องยาก แม้หลายขั้นตอนอาจจะมีความซับซ้อนบ้าง เช่น การขอใบอนุญาต การขอจดทะเบียนชื่อบริษัท เป็นต้น แต่นักลงทุนก็สามารถเริ่มต้นทำธุรกิจได้อย่างประสบความสำเร็จ

นอกจากนี้แล้วสิ่งสำคัญที่ Interloop อยากให้นักลงทุนทราบคือ การเข้าใจสภาพแวดล้อม และการเรียนรู้วัฒนธรรมของชาวสิงคโปร์ ก็เป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่ทำให้นักลงทุนเริ่มต้นประกอบธุรกิจได้อย่างราบรื่น ไม่น้อยไปกว่าการจัดเตรียมเอกสารตามขั้นตอน

 

 

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published.