ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง (Digital Marketing) สำหรับผู้เริ่มต้น 2020

903 603 admin

เกร็ดน่ารู้เรื่อง Digital Marketing  ปี 2020 [ฉบับมือใหม่]    

บทความนี้จะกล่าวถึงภาพรวมของดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง โดยเน้นไปที่การให้คำจำกัดความและขอบเขตของงาน รวมถึงให้ข้อมูลที่เป็นประโยฃน์แก่ผู้ที่สนใจจะมีส่วนร่วมในงานด้านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง โดยเริ่มจากการนิยามความหมายของการมาร์เก็ตติ้ง (การตลาด) ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะทำให้เข้าใจเรื่องอื่นได้ง่ายขึ้น

ธุรกิจแทบทุกประเภทมีความเชื่อมโยงกับมาร์เก็ตติ้งเนื่องจากต้องเกี่ยวข้องกับการซื้อขาย แต่มาร์เก็ตติ้งนั้นมีความพิเศษตรงที่นอกเหนือจากเรื่องการซื้อขายแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับการโฆษณาด้วย ตามคำนิยามของ HubSpot มาร์เก็ตติ้ง ให้ความหมายถึง การกระทำใด ๆ ที่เป็นการโปรโมทและขายสินค้าหรือบริการ รวมถึงการวิจัยตลาดและการโฆษณา

 

ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง

หากพูดถึงในแง่ของประวัติศาสตร์ ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งไม่ใช่สิ่งที่พึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 21 เหมือนอย่าง Facebook หรือ Instagram แต่มีมาก่อนหน้านั้นอาจจะเป็นร้อยปีหรือมากกว่า โดยนักประดิษฐ์และวิศวกรไฟฟ้าชาวอิตาเลียนชื่อว่า Guglielmo Marconi ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการส่งสัญญาณไร้สายเพื่อการสื่อสาร ซึ่งสามารถส่งสัญญาณด้วยคลื่นวิทยุเป็นระยะทางหลายกิโลเมตรได้สำเร็จ และพัฒนาจนส่งสัญญาณได้ไกลขึ้นเรื่อย ๆ กลายมาเป็นเทคโนโลยีวิทยุและโทรเลขในเวลาต่อมา หลังจากนั้นไม่นานก็มีการขายสินค้าผ่านทางวิทยุเกิดขึ้นครั้งแรก โดยเป็นการออกอากาศสดเพื่อขายตั๋วละครโอเปร่า และนับเป็นจุดเริ่มต้นของดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง

 

ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งทำอะไรบ้าง

ต่อจากนี้จะเป็นการพูดถึงจุดประสงค์หลักของบทความนี้ โดยเริ่มจากการให้คำจำกัดความที่ถูกต้องและเข้าใจได้ง่ายของดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง

ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งหมายความถึงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการเสนอขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งไม่จำเป็นต้องมีอะไรเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตหรือกูเกิ้ลก็ได้ ทั้งสองอย่างเป็นเพียงแค่เครื่องมือรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในการดำเนินงานเท่านั้น

ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งใช้ช่องทางต่าง ๆ เช่น Content Marketing, Search Engine Optimization, Influencer Marketing สื่อโฆษณาออนไลน์ และ โซเชียลมีเดีย ในการโฆษณาและติดต่อสื่อสารกับผู้บริโภค

ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเราถึงได้ยินคำว่าดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งบ่อยขึ้นในช่วงหลัง เพราะการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตเรามากขึ้น ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้มีความเกี่ยงโยงซึ่งกันละกัน

ประเภทของดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง

ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ออนไลน์ และออฟไลน์ โดยในปัจจุบันออนไลน์มาร์เก็ตติ้งเป็นที่นิยมมากกว่า เพราะแทบทุกคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดียได้ แต่สำหรับในอดีตนั้นจะนิยมใช้ออฟไลน์มาร์เก็ตติ้ง ที่พบเห็นได้น้อยลงในปัจจุบันแล้ว เช่น ป้ายโฆษณา หนังสือพิมพ์ และใบปลิว เป็นต้น

เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันมีการพัฒนาไปมาก ทำให้บริษัทผู้ผลิตเองต้องมีการแข่งขันที่มากขึ้น เพื่อเป็นการขยายตลาด นักการตลาดจึงต้องมีการศึกษาวิจัยว่าอะไรเป็นที่นิยมของคนหมู่มาก ออฟไลน์มาร์เก็ตติ้งแบบเก่า ๆ จึงค่อย ๆ ถูกลดความสำคัญลงไป

ออฟไลน์มาร์เก็ตติ้งอ่อนแอลงเมื่อเทียบกับออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง เนื่องจากไม่ตอบสนองต่อความต้องการของนักการตลาดในแง่ของความถูกต้องและผลลัพธ์แบบเรียลไทม์ ยกตัวอย่างเช่น การติดตามยอดขายของสินค้าหรือบริการนั้นทำได้ยาก เป็นต้น

นี่คือเหตุผลว่าทำไมนักการตลาดจึงนิยมรูปแบบออนไลน์มากขึ้นในปัจจุบัน นอกจากนั้นแล้วดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งยังมีส่วนเสริมให้ระบบออนไลน์ดีขึ้นอีกจากความสามารถในการวัดหรือประเมินค่าผลตอบแทนจากการลงทุน (Return on Investment) ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการวางแผนการตลาดโดยอาศัยเครื่องมือต่าง ๆ เช่น website traffic, content performance และ lead generation รวมถึง attribution modeling

 

Website Traffic

เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยในการระบุจำนวนผู้คนที่เข้าชมหน้าเว็บไซต์ของคุณแบบเรียลไทม์ได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งยังสามารถใช้ระบุจำนวนหน้าที่ถูกเปิดและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าชม ซึ่งจะช่วยนักการตลาดในการจัดลำดับความสำคัญของช่องทางการดำเนินงานอีกด้วย

 

Content Performance และ Lead Generation

การแจกแผ่นพับโฆษณาในรูปแบบออฟไลน์มาร์เก็ตติ้งนั้นไม่สามารถยืนยันจำนวนหรือระบุตัวบุคคลที่ได้อ่านข้อความนั้นได้ ฟีเจอร์นี้จะช่วยให้คุณวัดผลเหล่านั้นได้ด้วยการเก็บข้อมูลผ่านทางแบบฟอร์มต่าง ๆ รวมถึงคอยติดตามผู้ที่มีโอกาสเป็นลูกค้าในอนาคต

 

Attribution Modeling

ฟีเจอร์นี้เป็นเครื่องมือเสริมที่จะช่วยให้คุณเป็นนักการตลาดที่ดีขึ้น ด้วยการวางแผนที่มีประสิทธิภาพและการใช้เทคโนโลยีที่ถูกต้อง คุณจะสามารถระบุแนวโน้มการซื้อสินค้าหรือความสนใจของผู้บริโภคได้จากการตรวจสอบประวัติการซื้อขายในอดีต นอกจากนั้น Attribution Modeling ยังช่วยในการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ทำให้แผนการตลาดของคุณดีขึ้นได้อีกด้วย

 

ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งมีความสำคัญหรือไม่

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น แทบทุกธุรกิจนั้นเกี่ยวข้องกับการซื้อขาย คุณสามารถเป็นได้ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ไม่มากก็น้อยคุณจะต้องการข้อมูลว่าสิ่งไหนดีที่สุดสำหรับคุณในฐานะลูกค้า หรือสิ่งไหนจะทำให้บริษัทของคุณประสบความสำเร็จ ไม่ว่าคุณจะเป็นใครดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งก็มีความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกปัจจุบันที่เทคโนโลยีต่าง ๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ติดตามช่องทางสำหรับรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ได้ที่ 

Youtube: Interloop Solutions & Consultancy

Leave a Reply

Your email address will not be published.