นโยบายการค้า China Plus One ของจีน กับการเข้ามาตั้งฐานลงทุนในอาเซียน

700 467 admin

Dr.Lau Kong Cheen และ Dr.Vanessa Liu กล่าวว่า จีนกำลังมองหาตลาดทางการค้าใหม่ ๆ เพื่อชดเชยรายได้ที่สูญเสียไป โดยนโยบายสำคัญที่จีนกำลังดำเนินการคือ “China Plus One” หรือนโยบายการค้า +1 แม้ว่าตลาดในประเทศจีนจะเป็นตลาดหลักของภาคการผลิต แต่การมองหาตลาดใหม่เพื่อกระจาย Supply Chain นอกจากเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าแล้ว ยังเป็นการลดความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนธุรกิจ ที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นจากความเสี่ยงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน (Trade War) และการปิดประเทศ เพื่อลดการระบาดของโรค Covid-19

 

Alan Beebe, President of AmCham China ระบุว่า “หลังจากเศรษฐกิจทั่วโลกต้องหยุดชะงักไปหลายเดือนจากการระบาดของโรค Covid-19 แต่จีนเป็นประเทศแรก ๆ ที่เริ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสร้างการเติบโตใหม่อีกครั้ง”(ข่าวประชาสัมพันธ์ PwC เมื่อวันที่ 17 เม.ย.63 จากการรวบรวมผลสำรวจบริษัทสหรัฐและจีน)

 

CHINA’S + 1

 

สำหรับนโยบาย China Plus One ถ้าถามว่าตลาดไหนที่เป็นเป้าหมายการลงทุนของจีน คงจะไม่พ้นการลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน หัวใจสำคัญของการลงทุนในเอเชีย อย่างไรก็ตามเข้ามาลงทุนของบริษัทขนาดใหญ่ของจีนไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่ผ่านมามีบริษัทยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี เช่น Huawei และ Alibaba เข้ามาลงทุนในไทย

 

นอกจากนี้ AidData Research Lab พันธมิตรของ College of William & Mary ระบุในหัวข้อ China’s Public Diplomacy in East Asia and the Pacific 1.0 ว่า จีนช่วยสนับสนุนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในกัมพูชา อินโดนีเซียมาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันในช่วงปี 2544-2559 ก็ช่วยส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเมียนมาร์และเวียดนาม ทั้งนี้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จีนเข้ามาลงทุนในภูมิภาคอย่างมีนัยสำคัญ

 

อย่างในช่วง 7 เดือนแรกของปีที่แล้ว ในช่วงที่เทรดวอร์กดดันการค้าโลก ปรากฎว่าจีนได้ลงทุนประมาณ 1.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2.44 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ โดยแบ่งเป็นการลงทุนใน Easy Parcel มาเลเซียLivestreaming ในสิงคโปร์ บริษัท Bigo ในอินโดนีเซีย และ Tokopedia ในจีน นอกจากนี้แล้วข้อมูลของบริษัทฟินเทคอย่าง Refinitiv โตขึ้นถึง 8 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY)

 

ซึ่งโดยรวมแล้วการลงทุนของจีนในอาเซียน มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าจาก 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2553 เพิ่มขึ้นเป็น 10.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2561 นอกจากนี้แล้วข้อมูลจาก ASEANstats รายงานว่า บริษัทเทคโนโลยีของจีน ประกอบด้วย Bytedance, Alibaba และ Tencent ได้เสนอขายเหรียญดิจิทัลในสิงคโปร์ โดยเป็นการระดมทุน เพื่อนำเงินไปขยายธุรกิจในภูมิภาคและทั่วโลก

 

สำหรับ Bytedance เจ้าของ TikTok ได้ประกาศแผนการลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์ และเตรียมรับสมัครพนักงานหลายหลักร้อยคนในสิงคโปร์ เพื่อรองรับการลงทุนในอีก 3 ปีข้างหน้า ขณะที่ Tencent จะใช้สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการลงทุนในภูมิภาค ขณะที่ Alibaba เตรียมลงทุนใน Grab ในอาเซียน มูลค่ากว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  แล้วเพราะอะไรที่บริษัทเทคโนโลยีของจีนจึงเดินหน้าลุยลงทุนในภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลสำคัญที่นักลงทุนต้องรู้ ซึ่งมีดังนี้

 

ความพยายามที่จะเผชิญหน้ากับความท้าทายของบริษัทเทคโนโลยีของจีน

 

การเติบโตของบริษัทขนาดเล็กในจีนนอกจากความมุ่งมั่นและความทะเยอทะยานในการทำธุรกิจแล้ว วัฒนธรรมการทำธุรกิจของคนจีนคือชอบลงทุนขนาดใหญ่ หรืออยู่ในตลาดที่เอื้อต่อการเติบโตแบบก้าวกระโดดภายในเวลาไม่กี่ปีหลังจากก่อตั้งบริษัท

ดังนั้นนอกจากการขยายตลาดในประเทศแล้ว การลงทุนในต่างประเทศเพื่อเจาะตลาดใหม่ จึงเป็นเป้าหมายของผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ท่ามกลางความกดดันของสงครามการค้า ที่จีนกำลังโดนสหรัฐคว่ำบาตร

สำหรับ TikTok และ WeChat ของ Tencent เป็นบริษัทเทคโนโลยีของจีนที่กำลังประสบปัญหาการทำธุรกิจในสหรัฐ ประกอบกับความท้าทายของสถานการณ์ Covid-19 ที่ธุรกิจไม่สามารถเดินหน้าได้ตามแผน

 

 

บริษัทเทคโนโลยีจีนกับความพยายามในการสร้างธุรกิจให้เป็นบริษัทระดับโลก

 

อย่างไรก็ตามแม้ต้องเผชิญกับการเมืองระหว่างประเทศ จากความพยายามลดบทบาททางการค้าของสหรัฐ แต่นักธุรกิจก็ยังมุ่งมั่นที่จะสร้างแบรนด์ระดับโลก เช่น Alibaba ที่พยายามเข้าไปลงทุนใน Grab บริษัทสตาร์ทอัพที่แข็งแกร่งในภูมิภาค

 

ทำไมต้องเป็นอาเซียน?

 

ในเดือนพ.ย.2562 บริษัทจีนได้ขยายธุรกิจไปเกือบ 130 ประเทศทั่วโลก โดยงานวิจัยของ Pew Research Center และ The Brunswick Group ระบุว่า ตลาดเกิดใหม่กำลังน่าสนใจ ดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกโดยเฉพาะนักลงทุนชาวจีนให้เข้ามาลงทุนในภูมิภาค และนอกจากการเข้าลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ประเทศพัฒนาแล้วเองก็พยายามสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการลงทุน เพื่อดึงดูดนักธุรกิจชาวจีนให้ไปลงทุนในธุรกิจทางการเงินและการท่องเที่ยว

 

ภายในปี 2573 เศรษฐกิจอาเซียนจะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของตลาด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่พบว่าการลงทุนของจีนในภูมิภาคนี้คาดว่าจะถึง 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2578 ตามรายงาน the Asean+3 Macroeconomic Research Office โดยเฉพาะในช่วงที่มีปัญหาเทรดวอร์ นักธุรกิจจีนจำนวนไม่น้อยที่ย้ายฐานการผลิตมายังอาเซียนมากกว่าการเข้าไปลงทุนในสหรัฐ ซึ่งมีอุปสรรคทางการค้าหลายประการ จากข้อพิพาททางการค้าที่เกิดขึ้นมาต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

 

ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เป็นนโยบายการค้าที่สร้างแรงดึงดูดให้กับนักธุรกิจจีนและนักธุรกิจทั่วโลกให้เข้ามาลงทุนทางตรง (FDI) ในไทยและอาเซียน โดยเฉพาะทุนนิยมตะวันตกที่ย้ายฐานการลงทุนออกจากฮ่องกง จากความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างจีนกับฮ่องกง ดังนั้นจึงนับว่าทั้งปัญหาการเมืองของจีนและเทรดวอร์ เป็นปัจจัยสนับสนุนการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้น ตลอดจนการสร้างงานให้เพิ่มขึ้นอีกหลายล้านตำแหน่งในอนาคต

 

สุดท้ายแม้บริษัทจีนหลายแห่งจะถูกกีดกันการทำธุรกิจในสหรัฐ แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรคในการสร้างบริษัทหรือแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักระดับโลก บริษัทจีนก็พยายามพิสูจน์ตัวเองมาตลอด หนึ่งในนโยบายนั้นคือ การทำธุรกิจแบบ China Plus One ที่เน้นสร้างโอกาสจากการขยายตลาดไปทุก ๆ ภูมิภาคทั่วโลก

 

ติดตามช่องทางสำหรับรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ได้ที่ 
Youtube: Interloop Solutions & Consultancy

Leave a Reply

Your email address will not be published.