ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสกุลเงินหยวนดิจิทัลของจีน

720 481 admin

จีนได้กลายเป็นตัวเต็งในการพัฒนาธนาคารกลางสำหรับสกุลเงินดิจิทัล หรือ CBDC (Central Bank Digital Currency) ท่ามกลางเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลก ยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจของเอเชียเจ้านี้ค่อย ๆ เปลี่ยนตัวเองไปสู่เส้นทางการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยสกุลเงินดิจิทัล (DC/EP) จนสำเร็จ เพราะสกุลเงินของตนนั้นเป็นที่รู้จักอยู่แล้ว และได้ถูกผลักดันให้ใช้กันอย่างแพร่หลายบนแฟลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซต่าง ๆ ภายในประเทศตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน

 

อะไรคือ DC/EP?

การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วยสกุลเงินดิจิทัล (DC/EP) คือเงินหยวน ซึ่งเป็นสกุลเงินประจำชาติของจีนในรูปแบบดิจิทัล

DC/EP ได้รับการหนุนหลังด้วยเงินฝากสกุลหยวนที่ถือครองโดยธนาคารกลางของจีน และใช้เวลามากกว่า 5 ปีในการค่อย ๆ พัฒนา ภายใต้การจัดการ ณ ปัจจุบัน หลาย ๆ ธนาคารจำเป็นที่จะต้องแปลงสกุลเงินหยวนที่ตนถือครองไว้ ให้อยู่ในรูปแบบสกุลเงินดิจิทัลเพื่อให้บริการแก่ภาคธุรกิจ และประชาชนทั่วไปผ่านทาง Mobile Technology

 

DC/EP มีความแตกต่างจากสกุลเงินดิจิทัล หรือ Cryptocurrencies ที่ใช้กันอยู่อย่างไร?

– ความแตกต่างระหว่าง DC/EP และ Cryptocurrencies ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ สถานะทางกฎหมาย

DC/EP นั้นสามารถใช้เป็นระบบการชำระเงินและเป็นที่ยอมรับในฐานะเงินตราที่ชำระหนี้ได้ทางกฎหมาย แต่การใช้ cryptocurrencies ในการชำระค่าสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ในประเทศจีนนั้นยังคงมีความคลุมเครือในทางกฎหมาย

นอกจากนี้ ยังมีความแตกต่างหลัก ๆ อีกสองประการระหว่าง DC/EP และ cryptocurrencies ที่พบเห็นกันอยู่ในท้องตลาด ประการแรกคือปัจจัยที่เกี่ยวกับการกระจายอำนาจ  cryptocurrencies นั้นเป็นสกุลเงินที่ถูกกระจายอำนาจไปทั่ว นั่นหมายความว่าสภาพทางเศรษฐกิจ และอุปทานที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้ถูกควบคุมจากองค์กรที่จับต้องได้ ในทางตรงกันข้าม เงินหยวนดิจิทัลของจีนนั้นมีการควบคุมดูแลอย่างมั่นคงโดยทางรัฐบาลจีน

– ความแตกต่างประการที่สองของ Cryptocurrency  ทั่วไป และเงินหยวนดิจิทัลคือเรื่อง ‘การมีตัวตน’

ผู้ที่ก่อตั้งสกุลเงินดิจิทัลนั้นเป็นบุคคลนิรนาม ค่าเงินมีความผันผวนขึ้นอยู่กับประเภทของ coin ในขณะที่เงินหยวนดิจิทัลไม่ใช่ จากสิ่งที่ผู้เขียนได้กล่าวไปแล้วก่อนหน้านี้ ทางรัฐบาลจีนเลยสามารถติดตามตรวจสอบการเคลื่อนไหวของเงินในระบบได้จากข้อมูลของผู้ใช้งาน

 

แล้วมันทำงานอย่างไร?

การทำงานจากมุมมองของผู้ใช้ ดูเหมือนว่าจะเป็นในแง่ของรูปแบบการใช้จ่ายเชิงพาณิชย์ทางอิเล็กทรอนิกส์ อย่างเช่น Alipay และ We Chat Pay ที่ใช้กันอยู่แล้วมากกว่า : ผู้ใช้จะต้องดาวน์โหลด digital wallet ซึ่งสามารถเก็บเงิน และชำระค่าสินค้าผ่านทางการสแกน คิวอาร์โค้ดได้ที่จุดชำระเงินในร้านค้า

ส่วนเรื่องระบบจะเป็นอะไรที่ยุ่งยากกว่านั้น อย่างไรก็ดี หยวนดิจิทัลนั้นถูกออกแบบมาเพื่อทดแทนการหมุนเวียนเงินสดในระบบ อาทิ เงินเหรียญ และ ธนบัตร ไม่ใช่เงินฝากระยะยาวในบัญชีธนาคาร ธนาคารพาณิชย์จึงจำเป็นที่จะต้องกระจายเงินดิจิทัลไปยังผู้ใช้ และในขั้นตอนดังกล่าวทางธนาคารพาณิชย์จะต้องฝากเงินเข้าธนาคารกลางแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือ PBOC ในจำนวนเดียวกันกับจำนวนเงินหยวนดิจิทัลที่ลูกค้าประสงค์จะทำธุรกรรม ธนาคารทั้งสองแห่ง คือ ธนาคารพาณิชย์และธนาคารกลางต่างเก็บฐานข้อมูลไว้เพื่อใช้ในการติดตามการไหลเวียนของเงินจากผู้ใช้งานหนึ่ง ไปยังอีกผู้ใช้งานหนึ่ง  ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาทำไม่ได้เมื่อมีการใช้เงินเหรียญและธนบัตร

สิ่งที่ไม่เหมือน Cryptocurrencies อย่างเช่น บิทคอยน์ ก็คือ หยวนดิจิทัลจะไม่ได้ใช้  blockchain ที่เป็นเทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ ซึ่งเอื้อให้การทำธุรกรรมมีความถูกต้องได้โดยไม่ต้องผ่านธนาคาร

 

จะมีผลกระทบอะไรเกิดขึ้นบ้าง?

การใช้งานอย่างแพร่หลายของเงินหยวนดิจิทัลนี้จะช่วยทำให้ผู้ที่ร่างนโยบายเห็นความชัดเจนของเงินตราที่หมุนเวียนภายในระบบเศรษฐกิจของจีน ซึ่งจะช่วยพวกเขาในการติดตามที่มาที่ไปของเงิน หรือ กองทุนที่ผิดกฎหมาย อย่างเช่น การฟอกเงิน หรือ งบประมาณสนับสนุนผู้ก่อการร้าย และยังช่วยให้พวกเขาสามารถทดลองใช้นโยบายเพื่อเข้าแทรกแซงในระดับเศรษฐกิจ ภูมิภาค หรือ กลุ่มต่าง ๆ ได้อย่างเจาะจงอีกด้วย

ในสถานการณ์เศรษฐกิจที่รุนแรงนั้นส่งผลด้านลบให้อัตราดอกเบี้ยเงินสดด้วยเช่นเดียวกัน จีนมีเป้าหมายระยะยาวในการทำสกุลเงินของตนให้เป็นสากลภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งเงินในสกุลหยวนดิจิทัลนี้อาจจะช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้ในประเทศอื่น ๆ หันมาใช้เงินหยวนกันได้ง่ายขึ้นในช่วงแรก

 

 

อะไรคือข้อได้เปรียบของเงินหยวนดิจิทัลสำหรับรัฐบาลจีน?

– ประการแรก สกุลเงินดิจิทัลจะช่วยทำให้รัฐบาลจีนสามารถติดตามการไหลเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจและทำให้เกิดการตัดสินใจได้ดีขึ้น เงินสดนั้นยังคงมีบทบาทสำคัญในการชำระหนี้ในประเทศจีน แต่แพลตฟอร์มรูปแบบใหม่ซึ่งข้ามระบบการชำระหนี้ด้วยบัตรนี้ กำลังได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน ระบบการชำระหนี้แบบใหม่เหล่านี้อาศัยการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้เทคโนโลยีการจำแนกประเภทเป็นสื่อกลาง รวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่,  QR Code และระบบสะสมแต้ม

บริษัทที่ให้บริการในการรับชำระเงินอย่าง อาลีบาบากรุ๊ปโฮลดิง จำกัด (BABA) อาลิเพย์ และ เทนเซนต์โฮลดิ้ง จำกัด (TCEHY) วีแชท ล้วนแต่เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงนี้ หยวนดิจิทัลมีความลงตัวมากกับการเปลี่ยนถ่ายดังกล่าว และยังช่วยสนองทำงานของรัฐบาลอีกด้วยเพราะการสะสมแต้มแบบดิจิทัลนั้นสามารถติดตามได้ง่ายกว่าเงินสด

– ประการที่สอง หยวนดิจิทัลจะสามารถดึงประชากรที่ไม่มีบัญชีธนาคารในประเทศจีนให้เข้ามาอยู่ในเศรษฐกิจกระแสหลักได้ ประเทศจีนเป็นประเทศที่ประชากรไม่มีบัญชีเงินฝากมากที่สุด และหยวนดิจิทัลจะช่วยให้พวกเขาเข้ามามีส่วนในเศรษฐกิจกระแสหลักได้มากขึ้น โดยที่ไม่มีค่าธรรมเนียมของผลิตภัณฑ์ทางการเงิน หรือ ค่าโครงข่ายราคาแพง

– ประการที่สามของหยวนดิจิทัล คือ มันอาจช่วยผลักดันสกุลเงินเหรินหมินปี้ (Renminbi) ของจีนไปสู่ความเป็นสากล หลังจากวิกฤตทางการเงินเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมา นักเศรษฐศาสตร์ และ นายธนาคารจากนานาประเทศก็ได้หารือกันมากขึ้น ในเรื่องความเป็นไปได้ที่จะนำเงินสกุลอื่นมาแทนที่เงินดอลลาร์สหรัฐสำหรับการค้าระหว่างประเทศ

ในฐานะรูปแบบหลักของการทำธุรกรรมในระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก สกุลเงินของจีนน่าจะเป็นคู่แข่งหลักที่ถูกจับตามองไปโดยปริยาย อย่างไรก็ตาม เงินดอลลาร์สหรัฐนั้นยังคงอยู่ในบัญชีการชำระหนี้ระหว่างประเทศถึง 88.3% ในขณะที่เงินเหรินหมินปี้มีเพียงแค่ 4% การนำเงินมาแปลงเป็นดิจิทัลนั้นจะช่วยย่นระยะเวลาในการชำระหนี้ระหว่างประเทศ และยังทำให้มันเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่ผู้ทำการค้าระหว่างประเทศ

 

หยวนดิจิทัลของจีนทำให้เห็นการใช้จ่ายสำหรับร้านค้าปลีก, การใช้บริการพาหนะรับส่งแบบหารค่าโดยสาร (Ridesharing) และอื่น ๆ

เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล ได้รายงานว่า จากการตามรอยเงินหยวนดิจิทัลครั้งที่สองโดยธนาคารประชาชนจีนได้ผลสรุปว่า มีการใช้เงินหลายแสนรายการไปกับการซื้อสินค้าออนไลน์, การใช้บริการรับส่งอาหาร และการใช้บริการพาหนะรับส่งแบบหารค่าโดยสาร

การตามรอยนั้นเริ่มตอนต้นช่วงต้นเดือนจากการที่ผู้มีอำนาจได้แจกจ่ายเงินมูลค่า 200 ล้านหยวนดิจิทัลหรือ 3.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้กับผู้อยู่อาศัยท้องถิ่นของซูโจวในรูปแบบของลอตเตอรี่ มีผู้ถูกรางวัลจำนวน 100,000 คนที่มีโอกาสได้ใช้บริการที่หลากหลายทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์มูลค่า 200 หยวนดิจิทัล

เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลได้เขียนเกี่ยวกับโครงการโซจูไพล็อตนี้ไว้ว่ามันมีสโคปที่ใหญ่กว่าโครงการที่เคยทำที่เสินเจิ้นเมื่อเดือนตุลาคมซะอีก ใหญ่กว่าสองเท่าเนื่องด้วยจำนวนผู้อยู่อาศัยที่มีมากและใหญ่กว่าสามเท่าในแง่ของจำนวนธุรกิจที่มาเกี่ยวข้อง โครงการนี้ได้จับมือร่วมกับพันธมิตรทางธุรกิจอย่าง JD.com,  Meituan และ Didi รวมถึงร้านค้าอิสระอื่นๆอีกนับไม่ถ้วน

มากไปกว่านั้น การตามรอยในซูโจวนั้นยังทำให้เห็นถึงการนำระบบจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ โดยให้ประชาชนซื้อของต่างๆได้โดยที่ไม่ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความแตกต่างกับระบบจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปที่ใช้ในประเทศที่เป็นวิธีการเพื่อลดการใช้เงินสด

 

ติดตามช่องทางสำหรับรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ได้ที่
Youtube: Interloop Solutions & Consultancy

Leave a Reply

Your email address will not be published.