ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

691 460 admin
ทำไมต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในประเทศไทย?

บนเส้นทางของการลงทุน นอกจากนักธุรกิจจะต้องหาจุดแข็งของบริษัทตัวเองให้เจอแล้ว เพื่อให้คุณสามารถแข่งขันในตลาดได้ นักลงทุนต่างชาติที่สนใจจดทะเบียนตั้งบริษัทในประเทศไทย มีสิ่งสำคัญที่จะต้องทราบนั่นก็คือ ผู้ประกอบการจะต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวก่อนประกอบธุรกิจ

ซึ่งในบทความนี้เราจะพูดถึงประเภทธุรกิจตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 แบ่งออกเป็น 3 ประเภท มีรายละเอียดและขั้นตอน ดังนี้

 

ธุรกิจตามบัญชี 1 : ธุรกิจที่ไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติดำเนินการ

ตามกฎหมายประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หรือ FBL จำกัดให้นักลงทุนต่างชาติประกอบธุรกิจได้ในบางหมวด โดยในบัญชี 1 นี้จะเน้นไปที่ภาคอุตสาหกรรมและสื่อมวลชนเป็นหลัก อย่างไรก็ตามแม้จะมีข้อจำกัดในการเข้าลงทุน แต่ธุรกิจที่เข้าเงื่อนไขข้อตกลงการค้า เช่น ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement) ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย (Thai-Australia Trade Agreement) และสนธิสัญญาการค้าไทย-สหรัฐ (US-Thai Amity Treaty) สามารถเข้าลงทุนได้

นอกจากนี้ในบัญชี 1 ระบุว่า นักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นได้สูงสุดในสัดส่วน 49% และทุนจดทะเบียนจะต้องมีสัดส่วนประมาณ 25% ของค่าใช้จ่ายบริษัทโดยประมาณ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามหากบริษัทต่างชาติไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยอาจต้องส่งเงินเข้าประเทศไทย เป็นจำนวนเงิน 25 ล้านบาท ซึ่งเมื่อผู้ประกอบการยื่นขอใบอนุญาตฯ จะใช้เวลาดำเนินการ 30 วัน (นับจากวันยื่นสมัคร) ก่อนจะได้รับใบรับรองการประกอบธุรกิจ

 

ธุรกิจตามบัญชี 2 : ธุรกิจที่ได้รับอนุญาตให้ชาวต่างชาติดำเนินการภายใต้เงื่อนไข

เพื่อรักษาและดูแลผลประโยชน์ของประเทศชาติ โดยเฉพาะการดูแลทรัพยากรทางธรรมชาติ กฎหมายจึงจำกัดการเข้าลงทุนในบางประเภทธุรกิจที่เกี่ยวกับทรัยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยกเว้นว่าได้รับอนุญาตจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นกรณีพิเศษ ซึ่งบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจได้ จะต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 3 ล้านบาท มีสมาชิกหรือกรรมการผู้มีอำนาจ อย่างน้อย 1 คนในบริษัทที่เป็นคนไทย ถือหุ้นสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 40% ทั้งนี้สัดส่วนคณะกรรมการบริษัท จะต้องเป็นคนไทยอย่างน้อย 2 ใน 5 ของกรรมการทั้งหมด

สำหรับขั้นตอนการยื่นขอใบรับรองฯ ในบัญชี 2 นี้ จะใช้ระยะเวลาดำเนินการเร็วสุด 15 วัน หรืออาจจะมากสุดถึง 120 วัน ตามการพิจารณาของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 

ธุรกิจตามบัญชี 3 : ธุรกิจที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้ชาวต่างชาติประกอบธุรกิจ

สำหรับบัญชี 3 นี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบธุรกิจขาวไทย จึงไม่อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติประกอบธุรกิจแข่งขันในธุรกิจบริการ เช่น ค้าปลีก ค้าส่ง อาหารและการก่อสร้าง ส่วนเงื่อนไขการขอใบอนุญาตธุรกิจตามบัญชี 3 บริษัทจะต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำประมาณ 3 ล้านบาท และจะต้องมีกรรมการที่มีอำนาจลงนามที่เป็นคนไทยอย่างน้อย 1 คน

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการเร็วสุด 15 วัน และไม่เกิน 60 วัน ซึ่งถือว่าเร็วกว่าบัญชี 2 เนื่องจากทางกรมฯ ไม่ต้องพิจารณาเงื่อนไขเพิ่มเติมประกอบ

 

เงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำสำหรับการจดทะเบียนตั้งบริษัทในไทย

สำหรับบริษัทที่ต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจฯ หรือ FBL จะต้องมีเงื่อนไข 1.เงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 3 ล้านบาท หรือ 2.มีทุนจดทะเบียนสัดส่วน 25% ของค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อปี ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้หากไม่ต้องขอ FBL เงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ อาจลดลงเหลือเพียง 2 ล้านบาท ทั้งนี้ไม่ว่าจะขอ FBL หรือไม่ก็ตาม ผู้ประกอบการต้องจ่ายทุนฯ ครบทั้งหมดก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ

แต่หากจดทะเบียนตั้งบริษัทด้วยการตั้งสำนักงานสาขาหรือตัวแทน หรือเป็นบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ไม่ต้องชำระเต็มจำนวน แต่จะต้องชำระทุนฯ ตามเงื่อนไขคือ จะต้องชำระเงินทุนคิดเป็นสัดส่วน 25% ภายใน 3 เดือนแรกของการตั้งบริษัท ชำระ 25% ภายในปีแรก และ 25% ภายในปีที่ 3 ของการประกอบธุรกิจในไทย

 

 

ข้อยกเว้นและเงื่อนไขการลงทุนของบีโอไอ

ในบางธุรกิจทางบีโอไออาจจะเพิ่มจำนวนเงินทุนขั้นต่ำ ขณะเดียวกันในบางธุรกิจหรือบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน คณะกรรมการบีโอไออาจพิจารณาปรับลดเงินทุนจดทะเบียนเหลือเพียง 1 ล้านบาท จากเงื่อนไขทั่วไปที่กำหนดเงินทุนจดทะเบียนบริษัทไว้ 2 ล้านบาท หรือในบางธุรกิจที่เข้าร่วมข้อตกลงทางการค้าหรือสนธิสัญญาการค้า Thai-US Treaty of Amity หรือ the Australia-Thai Free Trade Agreement จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องส่งเงินทุนขั้นต่ำ จนถึงวันที่ 29 สิงหาคม 2572

 

สิทธิประโยชน์บีโอไอ

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ก่อตั้งขึ้นตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520 (แก้ไขเพิ่มเติม) เพื่อส่งเสริมการลงทุนในประเทศและการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งนอกจากคณะกรรมการบีโอไอมีหน้าที่อนุมัติการลงทุนแล้ว ยังเป็นผู้พิจารณาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เช่น การจ้างงาน

นโยบายการพิจารณาการส่งเสริมการลงทุน BOI แบ่งออกเป็น 2 ประเภท  ประกอบด้วย

 

สิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษี

  • อนุญาตให้ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของบริษัทได้
  • การอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน
  • วีซ่าเร่งด่วนและใบอนุญาตการทำงาน สำหรับผู้บริหารชาวต่างชาติ และช่างเทคนิคหรือแรงงานที่มีทักษะสูง (และครอบครัว)

 

สิทธิประโยชน์ทางภาษี

  • ยกเว้นหรือลดภาษีการนำเข้าเครื่องจักร
  • ยกเว้นหรือลดภาษีการนำเข้าอุปกรณ์ และชิ้นส่วนเครื่องจักร
  • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3-8 ปี โดยได้รับอนุญาตให้นำผลขาดทุนไปเป็นค่าใช้จ่ายที่หักลดหย่อนได้นานถึง 5 ปี
  • การงดเก็บภาษีชั่วคราว หรือการงดเก็บภาษีจากเงินปันผล

ทั้งนี้การให้สิทธิประโยชน์การลงทุน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบีโอไอ ที่อาจจะพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป

 

เงื่อนไขของการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ
  • เงินทุนจดทะเบียน
  • อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) ต้องไม่เกิน 1 หรือ 3 เท่า
  • จำนวนพนักงานชาวไทยที่คาดการณ์ไว้
  • การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ การฝึกอบรมหรือความช่วยเหลือด้านเทคนิค
  • การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
  • สถานประกอบการ

ทั้งนี้การพิจารณาเงื่อนไขการยื่นขอรับคำส่งเสริมการลงทุน อาจจะแตกต่างกันตามประเภทบัญชีหรือประเภทธุรกิจ ซึ่งเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์จะต่างกัน

 

อย่างไรก็ตามหากผู้ประกอบการได้รับใบอนุญาตทำงาน จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของบีโอไอ หากไม่ปฏิบัติจะถูกเพิกถอน ใบรับรอง BOI เมื่อได้รับแล้วจะมาพร้อมกับรายการเงื่อนไขเฉพาะ หากผู้สมัครไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตทำงาน

หากคุณต้องการตรวจสอบว่าธุรกิจของคุณมีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขของบีโอไอหรือไม่ หรือต้องการข้อมูลด้านการลงทุนเพิ่มเติม สามารถปรึกษา InterLoop ซึ่งเรามีความเชี่ยวชาญด้านการเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนในต่างประเทศ ตลอดจนนักลงทุนต่างชาติที่สนใจเข้ามาประกอบธุรกิจในไทย

Leave a Reply

Your email address will not be published.