BOI อนุมัติเร่งการลงทุนและส่งเสริมการใช้ดิจิทัล

700 328 admin

คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย (BOI) ได้อนุมัติมาตรการต่าง ๆ เพื่อเร่งการลงทุนโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และเพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้

“แผนการส่งเสริมโครงการขนาดใหญ่ออกแบบมาเพื่อกระตุ้นการลงทุนในช่วงหลังโควิด-19” นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการ BOI กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการที่มี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน “สำหรับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้นั้นจะช่วยสนับสนุนมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่เราดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีขึ้น ทำให้บริษัทต่าง ๆ พร้อมที่จะคว้าโอกาสทางธุรกิจจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้น”

ภายใต้มาตรการเร่งรัดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โครงการที่มีเงินลงทุนอย่างน้อย 1 พันล้านบาท (33 ล้านเหรียญสหรัฐ) ภายใน 12 เดือนหลังจากได้รับการส่งเสริม จะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มอีก 50% เป็นระยะเวลา 5 ปี นอกเหนือจากการยกเว้นมาตรฐาน 5-8 ปี โดยโครงการที่มีสิทธิ์จะต้องขอรับการส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2564 ถึงวันทำการสุดท้ายของปี 2564

ธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ทุกขนาดที่ยื่นขอลงทุนภายใต้โครงการการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบและกิจกรรมต่าง ๆ เช่น Software Integration, Artificial Intelligence (AI), Machine Learning หรือ Big Data Analytics ภายในสิ้นปี 2565 หากได้รับอนุมัติจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป็นเวลา 3 ปี “เราคาดว่าจะมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลรวมทั้ง Cloud Computing มาใช้เร็วขึ้นผ่านโครงการสร้างแรงจูงใจนี้” นางสาวดวงใจกล่าว

เพื่อส่งเสริมการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) ทั้ง 10 แห่งซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดน BOI ได้อนุมัติให้ขยายระยะเวลาขอรับการส่งเสริมจนถึงสิ้นปี 2565 สำหรับมาตรการพิเศษต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมาหลายปี

BOI ยังได้อนุมัติให้ขยายเวลาออกไปอีก 2 ปี สำหรับโครงการในเขตเฉพาะของ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้สิทธิพิเศษทางภาษี เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ตามด้วยลดภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% อีก 5 ปี โดยการขยายกำหนดเวลาจะช่วยสนับสนุนการลงทุนอย่างต่อเนื่องในพื้นที่เหล่านี้

BOI ยังอนุมัติให้โครงการ Genomics Thailand ซึ่งตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยบูรพาในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ได้รับสิทธิพิเศษเทียบเท่ากับ EECi, EECd, EECa และ EECmd ซึ่งมีไว้สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมายเฉพาะ โดยการลงทุนในพื้นที่เหล่านี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมจาก BOI

 

 

โควิด-19 กระตุ้นการใช้ดิจิทัลในไทย

การประชุมทางไกลผ่านวิดีโอ การจัดการความเสี่ยง บริการคลาวด์ และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้รับความสนใจจากองค์กรต่าง ๆ หลังจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ไม่มีหลักฐานว่าลูกค้าโดยเฉพาะในด้านการธนาคารและการค้าปลีกให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีหรือการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลน้อยลง จากคำกล่าวของคุณนนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการบริษัทเอคเซนเชอร์ ประเทศไทย

ในช่วงวิกฤตนี้ธุรกิจต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีดิจิทัลและมีการใช้งานเพิ่มมากมากขึ้น Collaboration Tool และ Video Conference ควรเป็นเรื่องปกติสำหรับการทำงานเนื่องจากช่วยลดการเดินทางและอำนวยความสะดวกในการทำงานจากที่บ้าน การวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจและการบริหารความเสี่ยงควรเป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างเช่น คนงานจำนวนมากไม่ควรมาทำงานพร้อมกันเพื่อหยุดการแพร่กระจายของโรคในหมู่พนักงาน

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มีความสำคัญในการทำความเข้าใจกับความต้องการของลูกค้าและช่วยลดปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพระหว่างการแพร่ระบาด รวมถึงยังสามารถปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าดิจิทัลและช่วยให้บริษัทเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมได้ ธุรกิจมีแนวโน้มที่จะให้น้ำหนักกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและความปลอดภัยในโลกไซเบอร์มากขึ้น เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่จะมีกำหนดบังคับใช้อย่างสมบูรณ์ในเดือนพฤษภาคม

ธุรกิจไทยมีความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเนื่องจากพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วอ้างอิงจากรายงานของบริษัทปี 2563 “We, The Post-Digital People: Can your enterprise survive the ‘tech-clash’?” ซึ่งได้ทำการสำรวจผู้บริหารด้านธุรกิจและไอทีทั่วโลก 6,074 คน โดยผู้บริหารชาวไทยราว 90% ระบุว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างรวดเร็วจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมของพวกเขา รายงานยังสำรวจผู้บริโภค 2,000 คนทั่วโลกซึ่ง 52 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันเกือบทุกด้าน

มีข้อสังเกตว่าธุรกิจต้องเปลี่ยนความคิด ตรวจสอบรูปแบบธุรกิจและเทคโนโลยีพื้นฐานอีกครั้ง และสร้างรากฐานใหม่สำหรับการแข่งขันและการเติบโต โดยมีแนวทางสำคัญ 5 ข้อที่ต้องจัดการในช่วง 3 ปีข้างหน้า

ข้อแรกองค์กรต่าง ๆ จะต้องออกแบบประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและเพิ่มทางเลือกให้แก่ลูกค้า ธุรกิจจำเป็นต้องเพิ่มความสัมพันธ์เชิงโต้ตอบและทำงานร่วมกับผู้บริโภคเหมือนกับเป็นคู่ค้าหรือผู้สร้างร่วม ข้อที่สอง AI ควรมีส่วนช่วยในการทำงานของผู้คนแทนที่จะเป็นแค่ส่วนหนึ่งของระบบอัตโนมัติ ส่วนอีกสามข้อครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์และบริการอัจฉริยะ หุ่นยนต์ และนวัตกรรมภายในองค์กร

ตามรายงานอีกฉบับหนึ่งของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) การใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือและการซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เลขาธิการกสทช. ระบุว่าคณะกรรมการได้สำรวจการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือจาก 2,554 ตัวอย่าง พบว่าการใช้งานโซเชียลมีเดียและแอปพลิเคชั่นชอปปิงออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา

แอปยอดนิยมมีการใช้งานเพิ่มขึ้นกว่า 80 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับสถิติของปีที่แล้ว การใช้งานแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียรวมถึงช่องทางการชอปปิงออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยปัจจัยหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังการเพิ่มขึ้นของการใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือคือการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำให้ผู้คนหลีกเลี่ยงการออกไปซื้อของนอกบ้านและเปลี่ยนไปใช้การชอปปิงออนไลน์แทน นอกจากนี้สถานการณ์ไวรัสยังทำให้ผู้คนค้นหาข้อมูลและอัปเดตทางออนไลน์บ่อยขึ้น

InterLoop เราพร้อมให้ความช่วยเหลือนักลงทุนในทุก ๆ ขั้นตอน ในด้านการขอยื่น BOI  ท่านสามารถติดต่อได้ที่ Line ID: @inlps  และ เบอร์โทรศัพท์: 097-106-9113

 

Leave a Reply

Your email address will not be published.