การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

626 417 admin

การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

 

กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับปรุงกฎระเบียบการขอใบอนุญาตการประกอบธุรกิจของนักลงทุนต่างชาติ และเงื่อนไขต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับสนธิสัญญาและข้อตกลงทางการค้าสากลมากขึ้น ซึ่งกฎกระทรวงฉบับใหม่ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 28 สิงหาคม 2562 จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัทต่างชาติที่ดำเนินงานภายใต้ข้อตกลงทวิภาคีและพหุภาคี เช่น ข้อตกลงกรอบการทำงานของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ดังนั้นนักลงทุนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจเงื่อนไขการลงทุนให้เป็นไปตามสนธิสัญญาที่ระบุไว้ในกฎหมายฉบับใหม่

โดยเงื่อนไขของผู้ถือใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBL) และใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่างประเทศ (FBC) ตามกฎหมายใหม่ระบุว่า บริษัทต่างชาติทุกแห่งที่จัดตั้งขึ้นภายใต้สนธิสัญญาและข้อตกลงต้องนำหรือส่งเงินทุนขั้นต่ำที่จำเป็นมายังประเทศไทย ภายในวันที่ 29 สิงหาคม 2572

อย่างไรก็ตามบริษัทต่างชาติที่จัดตั้งขึ้นภายใต้สนธิสัญญาหรือข้อตกลงทางการค้า ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาต FBC และ FBL ก็ได้ เพียงแต่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและมีเงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ ดังต่อไปนี้

  • ✓ มีทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท และจะต้องชำระเต็มจำนวนก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ
  • ✓ นำหรือส่งเงินทุนขั้นต่ำที่จำเป็นมายังประเทศไทยก่อนวันที่ 29 สิงหาคม 2572

ส่วนบริษัทต่างชาติที่จัดตั้งขึ้นภายใต้สนธิสัญญาหรือข้อตกลงทางการค้า แต่จะต้องมีใบอนุญาต FBC และ FBL ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและมีเงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ ดังต่อไปนี้

  • ✓ มีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาทหรือ 25% ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโดยประมาณ ในระยะเวลา 3 ปี (หรือแล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า จะต้องจ่ายเต็มจำนวนก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ)
  • ✓ นำหรือส่งเงินทุนขั้นต่ำที่จำเป็นมายังประเทศไทยก่อนวันที่ 29 สิงหาคม 2572

บริษัทต่างชาติที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย และไม่ต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่างประเทศ (FBC หรือ FBL) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและมีเงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ ดังต่อไปนี้

  • ✓ มีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาทชำระเต็มจำนวนก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ
  • ✓ นำหรือส่งเงินทุนขั้นต่ำที่จำเป็นมายังประเทศไทยภายใน 3 ปีนับจากวันที่เริ่มดำเนินธุรกิจ

บริษัทต่างชาติที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย แต่ต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่างประเทศ (FBC หรือ FBL) ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและมีเงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ ดังต่อไปนี้

  • ✓ มีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาทหรือ 25% ของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโดยประมาณในระยะเวลา 3 ปี (แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า ให้จ่ายเต็มจำนวนก่อนเริ่มดำเนินธุรกิจ)
  • ✓ นำหรือส่งเงินทุนขั้นต่ำที่จำเป็นมายังประเทศไทยภายใน 3 ปีนับจากวันที่ FBC หรือ FBL อนุมัติ

 

 

เงื่อนไขเงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ

โดยกฎระเบียบนี้ใช้กับธุรกิจที่ต่างชาติที่เป็นเจ้าของทั้งหมด ไม่ว่าจะมีการจัดตั้งขึ้นก่อนหรือหลังวันที่ 28 สิงหาคม 2562 นอกจากนี้นิติบุคคลต่างประเทศจะต้องส่งหลักฐานการโอนเงินขั้นต่ำ ไปยังกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 15 วัน หลังจากที่นำเข้าหรือส่งเงินทุนมายังประเทศไทย

ทั้งนี้บริษัทต่างชาติจะนำเข้าหรือส่งเงินทุนขั้นต่ำได้ แต่จะต้องเป็นจำนวนครั้งที่น้อยกว่าการชำระเงินทุนจดทะเบียนทั้งหมดในครั้งแรก และในเงื่อนเวลา กฎหมายระบุเพิ่มเติมว่าผู้ประกอบการชาวต่างชาติ จะต้องนำเข้าหรือส่งเงินไม่น้อยกว่า 25% ภายใน 3 เดือน และอย่างน้อย 50% ของทุนขั้นต่ำภายใน 1 ปีและอย่างน้อย 25% ของทุนขั้นต่ำต่อปี

 

3 แนวคิดการทำธุรกิจขนาดเล็กในประเทศไทย

การเปิดบริษัทในประเทศไทย ซึ่งเป็นเมืองแห่งรอยยิ้ม ไม่ง่ายไปกว่าไปนี้อีกแล้ว ด้วยสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุน และระบบจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งเราในฐานะผู้ให้บริการด้านการลงทุน ที่จะข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายการลงทุน และข้อมูลการทำธุรกิจในต่างประเทศ ซึ่ง InterLoop Solutions & Consultancy ได้รวบรวม 3 แนวคิดมาฝากนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการลงทุนในประเทศไทย ดังนี้

 

การเปิดร้านอาหารหรืออาหารจานด่วนในประเทศไทย

วัฒนธรรมคนไทยชอบรับประทานอาหาร โดยเฉพาะการรับประทานเป็นกลุ่ม หรือการใช้เวลาร่วมกันในมื้ออาหาร ดังนั้นแนวทางการประกอบธุรกิจอาหารจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการตัดสินใจลงทุน ซึ่งจะสังเกตว่าคอนโดมิเนียมส่วนใหญ่ในประเทศไม่มีเครื่องใช้ในครัว เนื่องจากคนไทยนิยมรับประทานอาหารอาหารนอกบ้าน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่มีรายได้ปานกลาง ทำให้การรับประทานอาหารระหว่างเดินทางกลางเป็นเรื่องปกติ
ดังนั้นนักลงทุนอาจจะขายทั้งอาหารสด อาหารร้อน เช่น แซนวิช มันฝรั่งทอด เครป ฮอทดอก ซุป เป็นต้น ในรูปแบบ food truck อาหารจานพิเศษจากอาหารยุโรป ซึ่งการที่ผู้ประกอบการจะเปิดบริษัทในไทยได้อาจจะต้องใช้บริการเอเจนซี่ที่อำนวยความสะดวกในเรื่องการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ

ซึ่งหากนักลงทุนตัดสินใจที่จะเปิดร้านอาหารในประเทศไทย จะต้องจดทะเบียนธุรกิจในนามของคนไทย เนื่องจากกฎหมายไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของธุรกิจอาหารได้โดยตรง เนื่องจากธุรกิจอาหารเป็นธุรกิจหลักของประเทศ ทั้งนี้การประกอบธุรกิจร้านอาหารอาจจะจดทะเบียนบริษัทรูปแบบบริษัทรับผิดจำกัด ที่อาจจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการทำธุรกิจประเภทนี้

 

เปิดร้านขายเครื่องประดับในประเทศไทย

ธุรกิจอัญมณีในประเทศไทยเป็นธุรกิจเติบโตสูงและพัฒนาเป็นอันดับ 2 ของประเทศ จากความต้องการของผู้บริโภค ทำให้นักลงทุนต่างชาติจำนวนมากสนใจธุรกิจนี้ อย่างไรก็ตามการเปิดบริษัทเครื่องประดับมีค่าใช้จ่ายสูง ในขั้นตอนเริ่มต้นผู้ประกอบการอาจเริ่มลงทุนด้วยการนำเข้าเครื่องประดับ โดยใช้เงินลงทุนไม่มากนัก

ซึ่งในขั้นตอนการขายสินค้า ผู้ประกอบการอาจติดต่อกับผู้ผลิตในท้องถิ่น เพื่อพัฒนาธุรกิจให้เหมาะกับตลาดท้องถิ่น หากผู้ประกอบการต่างชาติที่ยังไม่มั่นใจว่าจะสามารถเข้าถึงตลาดได้หรือไม่ หรือมีข้อมูลเพียงพอ

 

เปิดธุรกิจเสื้อผ้าในประเทศไทย

ทั้งนี้จากข้อมูลสถิติพบว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นที่นิยมในประเทศไทย ดังนั้นหากนักลงทุนต่างชาติอยากทำธุรกิจประเภทนี้ ก็เป็นไอเดียที่ดี ซึ่งนักลงทุนต่างชาติที่สนใจอาจเริ่มจากการเช่าร้านบูติก เพื่อผลิตสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ หรืออาจจะส่งออกไปต่างประเทศ

 

สุดท้ายหากนักลงทุนอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทย หรือการลงทุนในต่างประเทศ เช่น เซอร์เบีย ก็สามารถติดต่อ InterLoop Solutions & Consultancy Co., Ltd. ได้ที่ Line ID: @inlps และเบอร์โทรศัพท์ได้ที่ 097-106-9113

Leave a Reply

Your email address will not be published.