ความท้าทายในการลงทุนที่ประเทศเวียดนาม

1024 683 admin

ความท้าทายของการลงทุนในเวียดนาม

เวียดนามเปรียบเป็นอัญมณีมงกุฎของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ เนื่องจากมีการเติบโตสูง เหมาะสำหรับเป็นการลงทุนของจีน มากกว่าการลงทุนในจีนเองเสียอีก โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนาม เติบโตมากกว่า 6% โดยมีปัจจัยจากการเติบโตของภาคการบริโภคในประเทศ รวมถึงการขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชากรวัยหนุ่มสาว และการเติบโตของชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้นเร็วที่สุดในเอเชียใต้ ซึ่งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ มีตัวเลขยืนยันจากการเติบโตของรายได้ประชากรต่อหัว (GDP per Capita) เติบโต 350% ตั้งแต่ปี 2534 รองจากจีนเท่านั้นนอกจากนี้เวียดนามยังเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) และฟอรั่มระดับภูมิภาค ประกอบด้วยประชาคมอาเซียน ข้อตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (EU-Vietnam) และ Trans-Pacific Partnership ทำให้เวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนที่สำคัญ

ในปี 2561 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 6.3% โดยเพิ่มขึ้นเป็น 15.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาคการผลิตและอสังหาริมทรัพย์ได้รับเงินจากต่างประเทศมากที่สุด ตามด้วยการค้าส่งและค้าปลีก แม้ว่าจะจุดเด่นในการลงทุนหลายประการ แต่นักลงทุนอาจต้องเผชิญกับความท้าทาย ดังนั้นหากสนใจเข้าลงทุนในเวียดนาม จะต้องใช้เวลาในการวิจัยหรือสำรวจตลาด ก่อนตัดสินใจเข้าลงทุน

 

การเริ่มต้นตั้งบริษัท

ธนาคารโลกรายงานการจัดอันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ว่าเวียดนามอยู่ลำดับที่ 104 (จากประเทศที่ทำธุรกิจ 69 ประเทศทั่วโลก) โดยพัฒนาการทางเศรษฐกิจของเวียดนามนั้นมี 8 ประเด็นที่สำคัญ ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการต้องมีที่อยู่บริษัท และหรือสัญญาเช่าก่อนที่จะจดทะเบียนนิติบุคคล นอกจากนี้ยังควรสังเกตว่ามีเงื่อนไขและข้อจำกัดในการลงทุนหรือไม่ เช่น การดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับยา สารเคมีแร่ธาตุ ธุรกิจชีวภาพ ประทัดไฟ ที่ไม่อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติประกอบธุรกิจ

 

การเขียนรายงานและไฟลิ่งในเวียดนาม

การเขียนรายงานประกอบธุรกิจจะต้องเขียนเป็นภาษาเวียดนาม ส่วนเอกสารต่างประเทศจะต้องแปลเป็นภาษาเวียดนามที่มีผ่านการรับรองจากหน่วยงานราชการ ทั้งนี้สถานทูตเวียดนามจะออกใบอนุญาตเป็นภาษาเวียดนามให้

อัตราแลกเปลี่ยน

อัตราแลกเปลี่ยนเงินดองกับเงินดอลลาร์ ถือเป็นอัตราแลกเปลี่ยนที่จับคู่อย่างมีเสถียรภาพ นอกจากนี้ถ้าเทียบกับอัตราแลกเปลี่ยนในภูมิภาค เงินดองก็ถือว่ามีเสถียรภาพมากที่สุดในอาเซียน จึงดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ได้ อย่างไรก็ตามธนาคารกลางของแต่ละประเทศจะเป็นผู้บริหารความเสี่ยงค่าเงิน ซึ่งส่วนมากจะผ่อนปรนกับกระแสเงินที่ไหลเข้ามากกว่าไหลออก

 

ภาษี

รัฐบาลเวียดนามได้ดำเนินการปฏิรูประบบภาษีที่ซับซ้อนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผลที่เกิดขึ้นจากการปรับโครงสร้างภาษี เราจะเห็นได้จากอันดับ Ease of Doing Business ที่ดีขึ้น ในด้านการชำระภาษีนิติบุคคล ที่ขยับขึ้นมาอยู่ลำดับที่ 10 นอกจากนี้ยังมีภาษีอื่น ๆ ที่เก็บจากผู้ประกอบการ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และภาษีสังคม

และนอกจากอันดับการชำระภาษีนิติบุคคลแล้ว กรมสรรพากรและกระทรวงการคลังของเวียดนาม ได้ปรับปรุงกฎหมายภาษีอื่น ๆ เช่น การแสดงรายการใบแจ้งหนี้ การปรับปรุงขั้นตอนการจ่ายภาษี เป็นต้น เพื่อลดความซับซ้อนการติดต่อกับทางราชการ และอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน ขณะเดียวกันก็ปรับปรุงด้านไอที โดยเปิดให้รายงานภาษีผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตั้งแต่ปี 2560

นอกจากนี้ในปัจจุบันรัฐบาลเวียดนามได้แก้ไขกฎหมาย CIT และ VAT เพิ่มเติม ตลอดจนการพิจารณาการเก็บภาษีการขายพิเศษและภาษีด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา เพื่อปรับปรุงกฎหมายภาษีที่ยังคลุมเครือ และลดขั้นตอนความยุ่งยากในการยื่นภาษี

 

การชำระเงินและระบบธนาคาร

เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่พึ่งพาเงินสดมากที่สุดในโลก หรือมากกว่า 90% เนื่องจากไม่มีตู้เอทีเอ็มและระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ ทำให้การทำธุรกรรมภายในประเทศเกือบทั้งหมด ต้องใช้เงินสด เป็นผลจากการที่คนเวียดนามไม่ไว้วางใจธนาคารท้องถิ่นที่มีการทุจริตเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามในแง่ธุรกิจ นักลงทุนกลับทำตรงกันข้าม เนื่องจากนักธุรกิจหลายแห่งทำธุรกรรมทางการเงิน โดยไม่ใช้เงินสด
ทั้งนี้รัฐบาลเวียดนามตั้งนโยบายว่าจะเป็นสังคมไร้เงินสดในปี 2563 โดยวางโครงสร้างพื้นฐานระบบการเงิน เช่น เพิ่มค่าธรรมเนียมการเบิกถอนเงินสด และลดค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมให้คนทำธุรกรรมในรูปแบบไร้เงินสดมากขึ้น

 

ระบบราชการและความโปร่งใส

เราจะเห็นว่าประเทศเวียดนามเป็นประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องประเทศหนึ่ง ดังนั้นในยุคโลกาภิวัตน์หรือโลกยุคใหม่ ทำให้เวียดนามต้องให้ความสำคัญกับความโปร่งใสของระบบราชการมากขึ้น โดยสิ่งที่ต้องปรับปรุงคือระบบกฎหมายและกฎหมายการค้าของเวียดนามในบางมาตรายังทับซ้อนกัน ทำให้นโยบายยังขาดความเด็ดขาด นอกจากนี้มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลองค์กรยังขาดความโปร่งใส จึงเป็นความท้าทายของรัฐบาลในการทำ due diligence และการยืนยันตัวตน (KYC)

 

กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

นอกจากนี้สิ่งที่ต้องปรับปรุงคือ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา โดยการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญายังคงเป็นปัญหาในเวียดนาม รวมถึงการแสดงเลข IP เพื่อระบุตัวตนยังมีปัญหา โดยในปี 2560 ที่ผ่านมา มีซอฟท์แวร์ที่ผิดกฎหมายหรือละเมิดลิขสิทธิ์ 74% อย่างไรก็ตามรัฐบาลพยายามดำเนินการด้านทรัพย์สินปัญญาให้ถูกต้อง

เพราะฉะนั้นนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการแสดงทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องยื่นจดทะเบียนความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ต่อทางสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติเวียดนาม (NoIP) อย่างไรก็ตามแม้ว่ายื่นเรื่องปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาได้ แต่เราแนะนำให้นักลงทุนต่างชาติตรวจสอบความคุ้มครอง IP ก่อนที่ส่งออกสินค้า หรือเริ่มต้นทำธุรกิจในเวียดนาม

 

การทุจริต

แม้ว่าจะมีการปฎิรูปประเทศ แต่การคอร์รัปชั่นในเวียดนามยังมีให้เห็นอยู่ หรือนักลงทุนอาจจะได้ยินมาบ้างก่อนที่จะเริ่มลงทุนในเวียดนามว่ามีปัญหานี้อยู่ เช่น การติดสินบน

ทางรัฐบาลเวียดนามพยายามแก้ปัญหาเรื่องนี้ โดยการปรับปรุงกฎหมายการทุจริต เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับสถาบันต่าง ๆ รวมถึงให้สัตยาบันต่อสหประชาชาติ (UN) ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต (UNCAC) อย่างไรก็ตามกรอบการต่อต้านการทุจริตถือว่าค่อนข้างครอบคลุม เมื่อเทียบกับกฎหมายประเทศเพื่อนบ้าน แต่ในทางปฏิบัติไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ

 

เคารพวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อการทำธุรกิจให้ราบรื่น

วัฒนธรรมการทำธุรกิจในเวียดนามนั้น ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื้อ ซึ่งนอกจากการเตรียมเอกสารการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทแล้ว อีกเรื่องสำคัญคือการพัฒนาความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ท้องถิ่น ซึ่งการติดต่อหากันนั้นแน่นอนว่าต้องมีเรื่องวัฒนธรรมเกี่ยวข้อง โดยอาจจะแลกเปลี่ยนผ่านเรื่องครอบครัวและงานอดิเรก

นอกจากนี้นักลงทุนต้องทราบว่าความอาวุโสยังเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องติดต่อกับรัฐบาล ทั้งนี้วัฒนธรรมการตัดสินใจของคนเวียดนามนามคือ จะเป็นการตัดสินใจโดยคณะกรรมการ ไม่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่มีอำนาจเด็ดขาด ดังนั้นการติดต่อธุรกิจจึงเป็นการติดต่อเป็นกลุ่มคณะ มากกว่ารายบุคคล

Leave a Reply

Your email address will not be published.