Coronavirus ตัวเร่งภาวะฟองสบู่หุ้นเทคโนโลยี Uber /WeWork /Airbnb

1024 694 admin

Coronavirus ตัวเร่งภาวะฟองสบู่หุ้นเทคโนโลยี Uber /WeWork /Airbnb

 

ในช่วงนี้บริษัทเทคโนโลยีจำนวนมากได้รับประโยชน์จากการระบาดของ Covid-19 เช่น ผลประกอบการของ Amazon มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งและการประชุมทางวิดีโอทางไกลอย่าง Netflix และ Zoom แต่ในอีกด้านหนึ่งการระบาดของโรค Covid-19 ทำให้บริษัทเทคโนโลยีและบริษัทที่ดำเนินการด้านแพลตฟอร์มอำนวยความสะดวกต่าง ๆ มีมูลค่าหุ้นที่สูงเกินจริง หรือคล้ายกับภาวะ Dot-com Bubble ในอดีต หรือภาวะราคาหุ้นเทคโนโลยีสูงเกินมูลค่าจริง

แม้ว่าบริษัทจำนวนมากจะเติบโตได้ในช่วงวิกฤติเช่นนี้ แต่ก็มีบริษัทเทคโนโลยี เช่น Uber , WeWork , Airbnb ที่ได้รับผลกระทบหนัก เนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการได้เลยในช่วง Covid-19 โดยเฉพาะบริการการเดินทาง หรือการเรียกรถทั้ง Uber และ Grab ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แพลตฟอร์ม Ola ในอินเดีย และ Didi Chuxing ในจีน ขณะเดียวกันในธุรกิจบริการพื้นที่ทำงานร่วมกันอย่าง WeWork ก็มีปัญหาเรื่องไม่มีผู้เช่า และสุดท้ายกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักคือกลุ่มโรงแรมที่พักอาศัย เช่น Airbnb และ Oyo

ดังนั้นด้วยสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ธุรกิจจำนวนมากแทบจะล้มละลาย เนื่องจากไม่สามารถเปิดดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา สถานการณ์ Covid-19 จึงเป็นบทเรียนสำคัญพิสูจน์ธุรกิจที่แข็งแกร่งจริง ๆ สามารถฝ่าทุกวิกฤติไปได้

 

 

Swimming naked

ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาจากการล่มสลายของบริษัท dot-com จากภาวะฟองสบู่ ซึ่งเกิดจากภาวะเก็งกำไรของนักลงทุนจำนวนมาก ที่แห่เข้าไปลงทุนในบริษัท dot-com (บริษัทที่ลงท้ายด้วย .com) หรือหุ้นกลุ่มเดียวกับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Google และ Amazon ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันมีโอกาสที่จะเกิดภาวะฟองสบู่ในธุรกิจเทคโนโลยีอีกครั้ง  ตามที่วอร์เรน บัฟเฟตต์เคยกล่าวไว้ว่า “เมื่อกระแสน้ำไหลมาเท่านั้น เราจะเห็นผู้ที่ว่ายน้ำด้วยร่างกายที่เปลือยเปล่า” หรือหมายถึงว่าวิกฤติที่เกิดขึ้นจะเป็นการปฏวัติธุรกิจ จะมีเฉพาะผู้แข็งแกร่งเท่านั้นที่จะผ่านวิกฤติไปได้

 

ความท้าทายของธุรกิจ WeWork

อย่างไรก็ตามความท้าทายของธุรกิจ WeWork คือทำอย่างไรที่จะรันธุรกิจไปได้ โดยไม่ได้ลงทุนหรือเพิ่มทุนบริษัท ขณะที่ธุรกิจบริการรถยนต์ส่วนตัว มอเตอร์ไซค์และแท็กซี่ ปี 2563 นี้เป็นปีที่ค่อนข้างลำบาก ยิ่งความกังวลการกลับมาระบาดของ Covid-19 รอบสอง อาจจะทำกำไรได้ไม่มากนัก หรืออาจะขาดทุนไปเลย จากความเสี่ยงที่ไม่สามารถเปิดให้บริการได้ ส่วนธุรกิจ Airbnb ช่วงก่อนหน้านี้มีปัญหาเรื่องต้นทุนสูง ยิ่งมาประสบปัญหาโรคระบาด การดำเนินธุรกิจก็ยิ่งยากขึ้น เพราะในช่วงวิกฤติแบบนี้ “กระแสเงินสด” สำคัญต่อธุรกิจมาก  ปัญหาของสตาร์ทอัพคือ การทำธุรกิจเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการดิสรัปชั่นธุรกิจเดิม อย่าง Uber เป็นธุรกิจที่เข้ามาแก้ปัญหา taxi industry WeWork ดิสรัปชั่นธุรกิจออฟฟิศให้เช่า และ Airbnb แก้ปัญกาธุรกิจจองที่พักอาศัย ดังนั้นเมื่อมีวิกฤติจึงค่อนข้างกระทบธุรกิจสตาร์ทอัพที่ต้องใช้เม็ดเงินสูงในช่วงเริ่มต้น และยังไม่มีกระแสเงินสดหมุนเวียนเพียงพอ

 

Winner takes all

Facebook, Amazon และ Google ต่างกันสตาร์ทอัพตรงที่พวกเขาเริ่มอุตสาหกรรมใหม่ด้วยการสร้างเครือข่ายก่อน สร้างการมีส่วนร่วมให้คนทั่วไปใช้งานแพลตฟอร์มให้มากที่สุด

การสร้างเครือข่าย หรือ Network effects มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของธุรกิจ เพราะยิ่งผู้บริโภคใช้งานมากเท่าไหร่ ยิ่งสร้างการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพให้กับธุรกิจ เช่น หากเพื่อนและเพื่อนร่วมงานใช้แพลตฟอร์มใด ๆ ก็ตาม โอกาสที่คนจะใช้งานก็จะยิ่งมากขึ้นตาม ขณะเดียวกันในกรณีของ Amazon ยิ่งมีตัวเลือกให้ผู้บริโภคและมีสินค้าในราคาที่แข่งขันได้มากเท่าไหร่ ยิ่งสร้างแรงดึงดูดให้คนอยากใช้บริการแพลตฟอร์มมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อทั้งดีมานด์และซัพพลาย

อย่างไรก็ตาม Network effects อาจจะไม่ได้เหมาะกับทุก ๆ ธุรกิจ เช่น WeWork เพราะอาจจะยากที่จะทำให้ลูกค้าใช้บริการนี้บริการเดียว ขณะเดียวกันการแข่งขันของผู้ให้บริการก็ค่อนข้างต่ำ ลักษณะเฉพาะของตลาดออฟฟิศให้เช่าจึงต่างกับตลาด Amazon ส่วนธุรกิจ Uber แม้จะเป็นเจ้าตลาดที่ทำธุรกิจบริการรถส่วนตัว แต่ด้วยข้อจำกัดของจำนวนรถ เช่น รถแท็กซี่ทั่วไป หรือรถส่วนบุคคลสามารถให้บริการ Uber ได้ เมื่อถึงจุดหนึ่งจะเติบโตยาก ประกอบกับเป็นธุรกิจที่คนสามารถเปลี่ยนไปใช้แอปฯ คู่แข่งได้ง่าย ทั้งคนขับและผู้บริโภคทั่วไป

ส่วน Airbnb ยิ่งแล้วใหญ่ เนื่องจากผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบราคาที่เหมาะสมกับบริการอื่นได้ แม้ว่า Airbnb จะเป็นสตาร์ทอัพเจ้าแรกที่ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ เพราะองค์ประกอบสำคัญที่ผู้บริโภคพิจารณาในการเลือกจองที่พักอาศัยคือ ราคาห้องพักที่เหมาะสม ไม่โก่งราคา และต้องมีความปลอดภัย ดังนั้นตลาดเหล่านี้จะยังคงมีการแข่งขันสูงในระยะยาว ขณะที่อัตราการทำกำไรและผลตอบแทนอยู่ในระดับต่ำ จึงไม่แปลกใจที่ราคาหุ้นของบริษัทข้างต้นปรับลดลง ประกอบกับช่องว่างการแข่งขันทางเทคโนโลยีจะค่อย ๆ ลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักจะใช้เทคโนโลยีเป็นโครงสร้างพื้นฐาน จึงจะเห็นบริการแพลตฟอร์มอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันที่มีลักษณะคล้าย ๆ กันมากขึ้น

 

กระแสเงินสดและการรวมกิจการ

ตลาดหุ้นผันผวนรุนแรง จน Airbnb ได้ยกเลิกการเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อประชาชนทั่วไป (ไอพีโอ) เนื่องจากภาวะตลาดหุ้นไม่เอื้ออำนวยในการเข้าลงทุน ยากที่ลงทุนแล้วจะได้กำไรหรือได้ผลตอบแทนที่ดีในภาวะเช่นนี้

 

แล้วเจ้าของธุรกิจที่อยากระดมทุนจะต้องทำอย่างไร?

เมื่อเป็นเช่นนี้แนวโน้มในการลงทุนในเทคสตาร์ทอัพก็จะน้อยลง เจ้าของธุรกิจรอบคอบและระมัดระวังมากขึ้น เพราะกระแสเงินที่สั้น ทำให้ต้องวางแผนการลงทุนและการใช้จ่ายบริหารงานต่าง ๆ รัดกุมมากขึ้น
ทั้งนี้จะเห็นว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีจริง ๆ เช่น Amazon ขยายธุรกิจด้วยการซื้อกิจการอื่นมากขึ้น อย่างบริการอาหารซื้อกลับบ้านในอังกฤษ Deliveroo ก็ซื้อกิจการ นอกจากนี้บริการ Food Delivery รายใหญ่ในยุโรปอย่าง Just Eat Takeaway.com ก็เตรียมซื้อกิจการ Grubhub ในสหรัฐอเมริกา

Leave a Reply

Your email address will not be published.