fbpx

    การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBL)

    การขอสิทธิให้ชาวต่างชาติเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท หรือถือหุ้น 100% นั้น จะต้องยื่นขออนุญาตตามพระราชบัญญัติการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542
    wqe

    พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

    คือ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย มีการตั้งขึ้นเพื่อสงวนสิทธิ์ในการประกอบธุรกิจบางประเภทให้สำหรับคนไทยเท่านั้น เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนไทย โดยรัฐบาลไทยได้ออกพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวปี พ.ศ. 2542 ซึ่งจะจำกัดประเภทกิจกรรมธุรกิจที่บริษัทต่างชาติสามารถประกอบได้

    ai

    คำจำกัดความของ
    "คนต่างด้าว"

    ตามกำหนดของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

    • คือมนุษย์ทั้งปวงจะเป็นหญิง ชาย เด็ก คนชรา หรือเป็นผู้บกพร่องในความสามารถหรือเป็นคนวิกลจริตอย่างใดก็ตามคนวิกลจริตอย่างใดก็ตามถือเป็นบุคคลธรรมดาทั้งสิ้น ตามประมวลกฎหมาย แต่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย
    • กลุ่มบุคคล หรือองค์กร เป็นต้น ที่ร่วมกันดำเนินกิจการอันใดอันหนึ่ง แล้วก่อตั้งเป็นนิติบุคคลตามวิธีการที่กฎหมายกำหนด แต่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย
    • ลงทุนครึ่งหนึ่งหรือมากกว่านั้นทำโดยหรือถือโดยผู้ถือหุ้นตามบุคคลธรรมดาที่ไม่ถือสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย
    • บุคคลธรรมดาที่ไม่ถือสัญชาติไทย ให้ความร่วมมือในฐานะหุ้นส่วนหรือเป็นผู้จัดการถือหุ้น
    • โดยมีทุนครึ่งหนึ่งหรือเป็นส่วนใหญ่ของการลงทุนโดยถือหุ้นโดยบุคคลธรรมดาที่ไม่ถือสัญชาติไทย นิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย หรือ นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยในกรณีที่ 3

    ประเภทของธุรกิจ

    ธุรกิจบางประเภทจะสงวนไว้สำหรับคนไทย ตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542

    บัญชีที่หนึ่ง ​

    ธุรกิจที่ห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจ ด้วยเหตุผลพิเศษ

    บัญชีที่สอง

    ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ หรือมีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และหัตถกรรมพื้นบ้าน หรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีโดยการอนุโลมของคณะรัฐมนตรี

    บัญชีที่สาม

    ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว คนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้ เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีโดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

    ข้อแตกต่างระหว่าง FBL และ Thai LLC

    กระบวนการทั้งหมดใช้เวลาอย่างน้อย 4 ถึง 6 เดือน

    การขอ FBL ต้องมีทุนขั้นต่ำ 3 ล้านบาท

    การขอ FBL ไม่สามารถการันตีได้ว่าจะได้รับ 100%

    FBL จะอนุญาตให้ชาวต่างชาติถือหุ้น 100%​ หรือไม่ ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจนั้นๆ

    ขั้นตอนการยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

    พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวกำหนดกระบวนการสำหรับคณะกรรมการธุรกิจต่างประเทศว่า คณะกรรมการจะต้องจัดการเอกสารให้ครบนับจากวันส่งใบสมัครภายใน 60 วัน อย่างไรก็ตามขั้นตอนการสมัครโดยทั่วไปมี 2 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

    4

    ขั้นตอนที่ 1

    จัดเตรียมใบสมัครและเอกสารประกอบที่ต้องใช้ยื่นไปยังกระทรวงพาณิชย์ ในขั้นตอนนี้หากเอกสารที่ยื่นไม่ครบหรือไม่ตรงตามที่กำหนด นายทะเบียนผู้รับผิดชอบอาจขอตรวจเอกสารเพิ่มเติม

    ขั้นตอนที่ 2

    ยื่นขอใบอนุญาตในเวลาที่เหมาะสม พร้อมทั้งตอบคำถาม ให้ข้อมูลและเอกสารเพิ่มเติมแก่เจ้าหน้าที่ กรณีมีการร้องขอเพิ่มเติม คณะกรรมการธุรกิจต่างประเทศเป็นผู้ทบทวนเอกสาร และพิจารณาการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

    ขั้นตอนที่ 3

    ผู้รับผิดชอบจะให้การอนุมัติยืนยันการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ภายในระยะเวลา 60 วัน โดยพิจารณาตามปัจจัยที่พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวบัญญัติไว้

    ขั้นตอนที่ 4

    ในกรณีที่ใบสมัครถูกปฏิเสธกระทรวงพาณิชย์จะแจ้งให้ผู้สมัครทราบภายใน 15 วันเป็นลายลักษณ์อักษร และระบุเหตุผลในการปฏิเสธอย่างชัดเจน โดยสามารถยื่นอุทธรณ์คำวินิจฉัยภายใน 30 วันนับจากวันที่ผู้สมัครได้รับหนังสือปฏิเสธ

    รูปแบบธุรกิจที่ต้อง
    ยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

    • บริษัทที่จัดตั้งใหม่ โดยมีผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติ
    • สำนักงานตัวแทน Representative Office
    • สาขาของบริษัทต่างชาติ Branch Office
    • บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน Board of Investment

    ลูกค้าของเรา

    ประเทศไทย

    ประเทศสิงคโปร์

    ติดต่อเรา

    ประเทศไทย​

    เลขที่ 360  อาคารประเสริฐสุทธิ์  ชั้น 3 ถ.สนามบินน้ำ-นนทบุรี ต.บางกระสอ
    อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 11000

    ประเทศสิงคโปร์

    #23-05. International Plaza, 10 Anson Rd, Singapore 079903

    ติดต่อเรา

    TH Phone : +66 (0) 97 106 9113
    SG Phone : +65 9102 0303
    สำนักงาน : +66 (0) 2 007 0971
    อีเมล์ : enquiry@inlps.com
    Line@ ID : @inlps

    เวลาให้บริการ

    จันทร์- ศุกร์ : 09:00 น.- 18:00 น.

    หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง