แม้สหรัฐฯ จะเดินเกมออกมาตรการคว่ำบาตรจีนอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดอำนาจทางการค้า แต่ในเดือนนี้จีนอาจจะได้เฉลิมฉลองจากความสำเร็จ 2 ประการคือ 1.จีนเป็นประเทศแรกในโลกที่เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว หลังโดนผลกระทบหนักจาก Covid-19 และ 2.จีนประสบความสำเร็จจากเปิดตัวยานสำรวจ Tianwen-1 ที่เป็นยานสำรวจดาวอังคารลำแรกของจีน และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ที่ยานสามารถสำรวจและลงจอดได้ในลำเดียวกัน
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนภายในเวลาอันรวดเร็ว สร้างความประหลาดใจให้กับหลาย ๆ ประเทศ ที่กำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจถดถอยในขณะนี้ โดยในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา (เม.ย.-มิ.ย.63) เศรษฐกิจจีนโตขึ้น 3.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และฟื้นจากการหดตัว 6.8% ในไตรมาส 1/63
โครงสร้างเศรษฐกิจจีน
เศรษฐกิจฟื้นอย่างรวดเร็วก็จริง แต่มีคำถามว่าในระยะยาวจะเติบโตได้อย่างยั่งยืนแค่ไหน เนื่องจากแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนมาจากกการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก แม้จะช่วยหนุนการเติบโตภายในประเทศ แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างหนี้จำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีกังวลเรื่องความต่อเนื่องของนโยบาย และประสิทธิภาพการทำงานของรัฐวิสาหกิจที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการก่อสร้าง
อย่างไรก็ตามแม้จะมีความกังวลในระบบโครงสร้างพื้นฐาน แต่จีนมีข้อได้เปรียบจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเฮลท์แคร์ ในกลุ่มยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตลอดจนการพัฒนา 5G และการพัฒนา Data Center สอดคล้องกับที่ Xu Nanping The Vice-Minister of Science and Technology ระบุว่ารายได้จาก High-Tech Zone ในช่วง 5 เดือนแรกของปี เพิ่มขึ้น 10.3% โดยอุตสาหกรรมสำคัญที่อยู่ใน High-Tech Zone เช่น Biomedicine บริษัทไฮเทค เป็นต้น
ทั้งนี้เมื่อมาดูรายละเอียดการเติบโตเป็นรายเซ็คเตอร์จะพบว่า กำลังซื้อของประชาชนยังไม่กลับมา ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ส่งผลให้ยอดค้าปลีกจีนลดลงในอัตราเลข 2 หลัก ซึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงอย่าง Hotel and Catering ก็หดตัวถึง 30% ในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ดังนั้นเมื่อภาคการบริโภคยังไม่กลับมา สิ่งที่ผู้บริโภคสนใจคือ รัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ต้องติดตามผลการประชุมผู้นำระดับสูงว่าจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างไรในช่วงที่เหลือของปี
และนอกจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายในช่วงที่เศรษฐกิจทั่วโลกต้องเผชิญแรงกดดันจาก Covid-19 หากนักลงทุนสนใจจะเข้าลงทุนในจีน อันดับแรกจะต้องศึกษาตลาด กฎระเบียบการจัดตั้งบริษัท นโยบายส่งเสริมการลงทุน ซึ่งก่อนอื่นต้องทราบว่ารูปแบบการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในจีนมีหลายรูปแบบ นักลงทุนต่างชาติที่สนใจเข้าไปทำธุรกิจในจีน จึงต้องเลือกรูปแบบการลงทุนให้เหมาะสมและได้ประโยชน์จากการลงทุน
Wholly Foreign Owned Enterprise Formation in China
รูปแบบการก่อตั้งธุรกิจประเภทนี้ อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นได้ทั้งหมด โดยทั่วไปออกเสียงว่า “Woof-y” หรือสามารถย่อได้ว่า WFOE
WFOE คืออะไร?
WFOE เป็นรูปแบบการจัดตั้งบริษัทที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติ หรือเป็นประตูสู่การลงทุนในจีน ซึ่งหลังจากจีนเข้าร่วมเป็นสมาชิก The World Trade Organization ในปี 2544 นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้าลงทุนได้ง่ายขึ้น โดย WFOE เป็นหนึ่งในรูปแบบการจดทะเบียนบริษัทเท่านั้น ยังมีรูปแบบอื่นๆ เช่น การร่วมทุน การตั้งสำนักงานตัวแทน
สำหรับรูปแบบการลงทุนที่เราจะเน้นในบทความนี้คือ WFOE เป็นการเปิดโอกาสให้ต่างชาติเป็นเจ้าของบริษัทได้ 100% แต่นักลงทุนจะต้องปฎิบัติตามกฎระเบียบ เช่น การเสียภาษีนิติบุคคล การยื่นขออนุญาตประกอบธุรกิจ เป็นต้น ข้อดี คือ มีอิสระในการดำเนินงาน ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานทางการจีนตามข้อจำกัดการลงทุนรูปแบบอื่น
WFOE จึงต่างจากรูปแบบการลงทุนอื่น ๆ เช่น การสำนักงานตัวแทน (ซึ่งคล้ายกับตั้งสำนักงานสาขาในประเทศจีน) นอกจากในประเด็นกฎหมายแล้ว WFOE จะมีความคล่องตัวสูง นักลงทุนต่างชาติสามารถดำเนินการได้เหมือนบริษัททั่วไป ประกอบธุรกิจเพื่อทำกำไร และออกใบแจ้งหนี้ให้กับลูกค้าได้ โดยใช้สกุลเงินหยวน (RMB) ทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำใบแจ้งหนี้และค่าใช้จ่ายภายในบริษัทไปหักลดหย่อนภาษีได้
จุดเด่นของ WFOE อีกข้อ คือ เปิดโอกาสให้เจ้าของบริษัทสามารถจ้างพนักงานชาวต่างชาติได้ตามต้องการ (แต่ต้องอยู่ในเงื่อนไขกฎหมายธุรกิจจีน) ซึ่งในกรณีทั่วไป การลงทุนในจีนครั้งแรก หากทางบริษัทว่าจ้างแรงงานท้องถิ่นมากเท่าไร ยิ่งทำให้สัดส่วนการว่าจ้างแรงงานต่างชาติเพิ่มขึ้นด้วย
สรุปข้อดีของรูปแบบการจัดตั้งบริษัท WFOE มีดังนี้
- ไม่ต้องพึ่งพาพันธมิตรชาวจีน
- นักลงทุนต่างชาติมีอำนาจในการตัดสินใจในบริษัททั้งหมด
- สามารถออกใบแจ้งหนี้ด้วยสกุลเงินหยวนได้
- สามารถทำกำไรได้จากสกุลเงินหยวน ซึ่งเป็นสกุลเงินท้องถิ่น
- ปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาได้ง่ายขึ้น
- สามารถจ้างแรงงานท้องถิ่นหรือแรงงานต่างชาติก็ได้
- สามารถส่งผลกำไรออกนอกประเทศ ในสกุลเงิน USD ได้
- ผู้ผลิตไม่จำเป็นต้องยื่นขอใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออกพิเศษ
ข้อเสียของรูปแบบ WFOE
- หากไม่มีที่ปรึกษาหรือผู้ให้ความช่วยเหลือ จดทะเบียนธุรกิจค่อนข้างยาก
- ต้องจัดทำบัญชีรายเดือน ส่งให้หน่วยงานภาษีท้องถิ่น
- ต้องมีที่อยู่บริษัทที่ชัดเจน สำหรับตั้งสำนักงาน
- อาจจะต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก (ขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรม)
สรุป
การจัดตั้งบริษัทในรูปแบบ WFOE มีอิสระในการประกอบธุรกิจ และหากดำเนินการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย นักลงทุนต่างชาติสามารถทำเงินและส่งผลกำไรออกนอกประเทศ หรือกลับไปประเทศตนเองได้อย่างสะดวก เนื่องจากรูปแบบการทำธุรกิจแบบเก่าอย่างการร่วมทุน (Joint Venture) จะเป็นวิธีที่เคยนิยมในอดีต แต่ก็มีข้อจำกัดเรื่องการไม่สามารถบริหารจัดการธุรกิจได้อย่างเต็มที่ และมีความเสี่ยงหากต้องยกเลิกสัญญาการร่วมทุน คุณจะจัดการอย่างไรหากเกิดปัญหานี้?
การจัดตั้งบริษัทแบบ WFOE จะช่วยให้นักลงทุนต่างชาติประกอบธุรกิจในจีนได้ง่ายขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปเราเห็นว่าลูกค้ากว่า 90% ที่สนใจเปิดบริษัทในจีน จะติดปัญหาเรื่องการเตรียมเอกสาร ดังนั้น เพื่อให้การลงทุนในต่างประเทศของคุณประสบความสำเร็จ และเติบโตได้ตามแผนธุรกิจ สามารถใช้บริการของ InterLoop Solutions & Consultancy ได้ ให้เราช่วยวางแผน จัดเตรียมเอกสาร และเป็นที่ปรึกษาในการประกอบธุรกิจที่จีนในทุกขั้นตอน!
Leave a Reply