BOI Thailand Plus Inlps

BOI กับ มาตรการส่งเสริมการลงทุน Thailand Plus

550 367 admin

ประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนให้กับนักลงทุนต่างชาติ โดยรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้ประกาศนโยบาย “ไทยแลนด์ พลัส” มาตรการส่งเสริมการลงทุนที่กำหนดสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม เพื่อเร่งรัดการลงทุน รองรับการย้ายฐานการผลิตของบริษัทต่างชาติที่กำลังหาฐานการผลิตใหม่ เนื่องจากได้ผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐ-จีน

โดยแพ็คเกจส่งเสริมการลงทุน Thailand Plus มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับประเทศไทย ให้เป็นฐานการผลิตที่น่าสนใจในสายตานักลงทุนต่างชาติ ครอบคลุมประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย

  • การเร่งรัดการลงทุน ด้วยการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับนักลงทุนต่างชาติ หากลงทุนก่อนปี 2564
  • การพัฒนาทักษะแรงงานในกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ (STEM)
  • การแก้ข้อบังคับหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน เอื้อการทำธุรกิจในประเทศไทย
  • การปรับปรุงการให้บริการแก่นักลงทุนต่างชาติ ทั้งก่อนและหลังการลงทุน

มาตรการไทยแลนด์ พลัส ที่บีโอไอประกาศออกมา มีรายละเอียดแบ่งเป็นข้อๆ ดังนี้

 

1.ด้านสิทธิประโยชน์การลงทุนเพิ่มเติม

หากนักลงทุนต่างชาติยื่นขอรับการส่งเสริมภายในปีนี้ และมีการลงทุนจริงไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท (หรือประมาณ 32.26 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ภายในปี 2564 บีโอไอจะให้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป็นเวลา 5 ปี แก่นักลงทุนที่ทำตามเงื่อนไขดังกล่าว

 

2.มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ

ปรับปรุงการให้บริการในรูปแบบ one stop service เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และอำนวยความสะดวกในทุกๆ ด้านที่เกี่ยวข้องให้กับนักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในไทยอยู่แล้ว และนักลงทุนใหม่ที่กำลังตัดสินใจย้ายฐานการผลิต

 

3.มาตรการส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

บีโอไอกำหนดว่า ผู้ประกอบการจะได้รับสิทธิหักลดหย่อนเพิ่มเติม หากมีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมที่เข้าข่ายเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced Technology) รวมถึงอุตสาหกรรมที่เป็น STEM โดยบีโอไอให้นำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปคำนวณรวมเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT) ได้ 200%

นอกจากนี้สนับสนุนให้ผู้ประกอบการจ้างงานบุคลากรทักษะสูงในสาขาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมขั้นสูง โดยสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้เช่นเดียวกัน

 

4.มาตรการสนับสนุนการลงทุนระบบอัตโนมัติ

กำหนดมาตรการเพิ่มเติม โดยให้หักเงินลงทุนด้านระบบอัตโนมัติได้ เช่น ธุรกิจที่มีระบบออโตเมชั่น ธุรกิจที่ใช้หุ่นยนต์ เป็นต้น เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ทันท่วงที สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่กำลังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

 

BOI Thailand Plus Inlps

 

BOI สร้างแรงจูงใจใหม่ให้นักลงทุนต่างชาติมาลงทุน

เมื่อ 2 ประเทศมหาอำนาจทำสงคราม (การค้า) กัน ใช่ว่าจะมีแต่ข่าวร้ายเท่านั้น แต่กลับส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยด้วยซ้ำ อย่างบริษัทใหญ่ๆ ที่เดิมตั้งอยู่ในจีนและฮ่องกง ต่างก็ย้ายฐานการผลิตมายังไทยแทน จากผลกระทบสงครามการค้าหรือเทรดวอร์ ยิ่งรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุน ก็น่าจะดึงดูดการลงทุนได้เพิ่มขึ้น

จากสถานการณ์เทรดวอร์ที่เกิดขึ้น บีโอไอรายงานว่าบริษัทจากจีนและฮ่องกง ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนถึง 164 โครงการ มูลค่าประมาณ 60 ล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นอัตราที่สูงสุดในรอบ 10 ปี  โดยส่วนใหญ่เป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิตและวิศวกรรม หรือเซ็คเตอร์ผลิตภัณฑ์พลาสติก ชิ้นส่วนเครื่องจักร และชิ้นส่วนรถยนต์

 

จับจังหวะการลงทุน

ใน 10 ประเทศกลุ่มอาเซียน หากต้องเลือกฐานการผลิตประเทศใดประเทศหนึ่ง ผู้ประกอบการในจีน ไต้หวันและเกาหลีใต้ มักจะเลือกลงทุนในประเทศไทย โดยปัจจัยสนับสนุนคือ นโยบายไทยแลนด์ พลัสนี่เอง

นโยบายส่งเสริมการลงทุนดังกล่าว ไม่เพียงแต่สร้างแรงจูงใจให้กับนักลงทุนต่างชาติเท่านั้น แต่เป็นนโยบายสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจไทยโตอย่างแข็งแกร่งและรวดเร็ว ทั้งยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วย

 

สรุปนโยบายส่งเสริมการลงทุน BOI

  • ให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน โดยการหักลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% (หากลงทุนภายในปี 2564)
  • การแก้กฎหมายที่อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการลงทุน โดยตัดข้อบังคับด้านการลงทุนที่เข้มงวดเกินไป
  • ให้สิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษี CIT เพิ่มเติม สำหรับค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ในธุรกิจที่เป็น STEM

นอกจากนี้แล้วการอำนวยความสะดวกในด้านการบริการในทุกๆ ขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ก็เป็นอีกเรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้ เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่นักลงทุนต่างชาติใช้ตัดสินใจ ก่อนจะเข้าไปลงทุนในประเทศนั้นๆ

 

การขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0

และถ้ายังจำกันได้ เมื่อประมาณ 3 ปีครึ่งที่ผ่านมา นโยบายไทยแลนด์ 4.0 เป็นนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ปลดล็อคประเทศไทย โดยการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ จากการทำเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม ก้าวสู่การเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยการส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย การเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และผลิตภาพการผลิตให้กับสินค้าไทย

ทั้งนี้มาตรการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นการหักเงินลงทุนในระบบอัตโนมัติ  การลดหย่อนภาษีให้นักลงทุนต่างชาติ (หากเป็นไปตามเงื่อนไขของบีโอไอ) ตลอดจนการพัฒนาการให้บริการ one stop service ล้วนเป็นมาตรการตามแผนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ทั้งนั้น

  

ประเทศไทยกำลังมองหานักลงทุนต่างชาติเพิ่ม?

ภาพรวมการลงทุน ไตรมาส 1/2562 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (YoY) บีโอไอรายงานการเติบโตเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า คิดเป็นมูลค่า 147.2 พันล้านบาท นำโดยนักลงทุนญี่ปุ่น ยื่นขอรับการส่งเสริมมากที่สุดรวม 114 โครงการ มูลค่า 42.52 พันล้านบาท รองลงมาเป็นนักลงทุนจีน ยื่นขอรับการส่งเสริม รวม 81 โครงการ มูลค่า 24.28 พันล้านบาท และสวิตเซอร์แลนด์ ยื่นขอรับการส่งเสริมรวม 10 โครงการ มูลค่า 11.44 พันล้านบาท

การรายงานสถิติดังกล่าวเป็นข่าวดีของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคการผลิต วิศวกรรมและเทคฯ สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล ที่พยายามดึงดูดการลงทุนมาต่อเนื่อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนจากต่างประเทศ

ทั้งนี้หากผู้สนใจอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่บริษัท InterLoop Solutions & Consultancy Co.,Ltd. โทร 097-106-9113 หรือทางไลน์ ID Line: @interloop

Leave a Reply

Your email address will not be published.