บีโอไอออก 3 มาตรการกระตุ้นการลงทุน

780 439 admin

บีโอไอออก 3 มาตรการกระตุ้นการลงทุน

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) อนุมัติมาตรการส่งเสริมการลงทุนทั้งโครงการขนาดใหญ่ เอสเอ็มอี และการสนับสนุนเศรษฐกิจฐานราก เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งในมาตรการดังกล่าวนี้ครอบคลุมนโยบายการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ การพัฒนานวัตกรรมและดิจิทัล รวมถึงการกระตุ้นการลงทุนบริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ด้วย

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ระบุว่า การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบอร์ดบีโอไอ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานนั้น ที่ประชุมอยากส่งเสริมให้เกิดการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในประเทศโดยเร็ว คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนจึงเห็นชอบมาตรการพิเศษ 3 มาตรการ เพื่อเร่งรัดการลงทุนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ส่งเสริมการลงทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กให้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ของบีโอไอได้ง่ายขึ้น ขณะเดียวกันได้ปรับปรุงมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจฐานรากเพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสูงกว่าเข้าไปสนับสนุนกิจการขององค์กรในท้องถิ่นให้มากขึ้น

โดยมาตรการกระตุ้นการลงทุนเพิ่มเติมนี้ ได้เพิ่มสิทธิประโยชน์จากเดิมที่มีการส่งเสริมการลงทุนอยู่แล้ว เช่น ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เพิ่มเติมเป็นระยะเวลา 3 ปี (หากมีการลงทุนจริง) โดยไม่จำกัดประเภทกิจการที่ลงทุน ยกเว้นกิจการที่ไม่มีสถานที่ตั้งประกอบการกิจการ เช่น ธุรกิจบริการทางอากาศและบริการขนส่งทางทะเล และมีเงื่อนไขการลงทุนว่าจะต้องมีการลงทุนไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท (ไม่รวมต้นทุนที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) ทั้งนี้ในบางโครงการอาจจะมีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้มากที่สุด 5 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี ในทุกพื้นที่การลงทุน ยกเว้นในกรุงเทพฯ ตามเงื่อนไขของบีโอไอ

 

การเพิ่มมาตรการส่งเสริมการลงทุนเศรษฐกิจฐานราก

เพื่อสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดับขีดความสามารถในการ บอร์ดบีโอไอจึงเห็นชอบให้มีการปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจฐานราก ด้วยการขยายเวลาการยื่นขอรับการส่งเสริมจากวันที่ 2 มกราคม 2562 เปลี่ยนเป็นการส่งเสริมการลงทุนฯ ถึง 30 ธันวาคม 2563 โดยมีเงื่อนไขว่าแต่ละโครงการจะต้องมีมูลค่าการลงทุนไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท สำหรับวิสาหกิจเพื่อสังคมที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากหลายองค์กรในโครงการเดียวกันนั้น จะได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ อย่างน้อย 200,000 บาท ยกตัวอย่างเช่น กิจการท้องถิ่นที่มีการใช้เครื่องจักร การบริจาค หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ หรือแสดงเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนาในด้าน Internet of Things หรือ IoT รวมถึงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาซอฟท์แวร์ต่างๆ

โดยนโยบายการส่งเสริมการลงทุน จะครอบคลุมทั้งผู้สนับสนุนและผู้ประกอบการท้องถิ่น โดยผู้ประกอบการท้องถิ่นจะได้รับการสนับสนุนในรูปแบบอุตสาหกรรมเบา และการจัดการการท่องเที่ยวชุมชนสำหรับเกษตรกรรม ซึ่งเป็นมาตรการขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้การส่งเสริมการลงทุนจะต้องเป็นไปตามลิสต์ที่ได้รับการส่งเสริม โดยเฉพาะในกิจการประเภทเกษตรกรรม นอกจากนี้บีโอไออนุมัติให้ยกเว้นภาษี 3 ปี ทั้งในส่วนการวางแผนกิจการ การใช้เครื่องจักรและค่าใช้จ่ายในการอบรมพนักงาน รวมถึงมีการขยายเพดานการยกเว้นภาษีได้ไม่เกิน 120% ของเงินทุนจดทะเบียนให้กับผู้ประกอบการด้วย

 

นโยบายส่งเสริมสมาร์ทซิตี้

บีโอไอมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนในสมาร์ทซิตี้ โดยเฉพาะในเขตเศรษฐกิจพิเศษพิเศษ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรและเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยแลนด์ 4.0 โดยเงื่อนไขการส่งเสริมการลงทุน มีดังนี้

1.การพัฒนาสมาร์ทซิตี้ มีเงื่อนไขหลักว่าจะต้องพัฒนาระบบนิเวศหรือสิ่งแวดล้อมใน 6 ด้านด้วยกัน ประกอบด้วย Smart Mobility, Smart People, Smart Living, Smart Economy, Smart Governance และ Smart Energy โดยเงื่อนไขของการขอรับคำส่งเสริมการลงทุนจะต้องมีคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นในโครงการดังกล่าวด้วย

สิทธิประโยชน์ด้านภาษี : บีโอไอกำหนดให้มีการยกเว้นภาษีสูงสุด 8 ปี อย่างไรก็ตามโครงการลงทุนนี้จะไม่ครอบคลุมเงื่อนไขบางอย่างในระบบ แต่บีโอไอจะขยายเพดานภาษีให้มากสุด 5 ปี สำหรับการลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และยกเว้นการเก็บภาษี 50% เป็นระยะเวลา 5 ปี หลังจากที่ขยายเพดานภาษีให้แล้ว

2.การพัฒนาระบบสมาร์ทซิตี้ มีเงื่อนไขหลักว่าจะต้องผ่านการอนุมัติจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ซึ่งจะต้องครอบคลุมการพัฒนาดังกล่าวข้างต้น ถึงจะได้รับการยกเว้นภาษีนิติบุคคล 8 ปี และมีเงื่อนไขสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเช่นเดียวกับในข้อ 1

3.การพัฒนาเขตเศรษฐกิจหรือโซนอุตสาหกรรม มีเงื่อนไขว่าจะต้องครอบคลุมด้านสำคัญทั้ง 7 ด้าน ประกอบด้วย Smart Mobility, Smart People, Smart Living, Smart Economy, Smart Governance, Smart Energy และ Smart Environment ถึงจะได้รับการยกเว้นภาษีนิติบุคคลได้สูงสุด 8 ปี ตามเงินลงทุน ทั้งนี้จะต้องมีคนไทยเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นของโครงการด้วย

อย่างไรก็ตามจะสังเกตว่าเงื่อนไขนโยบายการส่งเสริมการลงทุนในสมาร์ทซิตี้ จะขึ้นกับเงื่อนไขของคณะกรรมการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ของทางรัฐบาล ส่วนทางบีโอไอจะเป็นผู้อนุมัติตามหลักเกณฑ์การพิจารณาดังกล่าวเท่านั้น

 

มาตรการพัฒนานวัตกรรมและระบบนิเวศด้านดิจิทัล

สำหรับนโยบายการพัฒนานวัตกรรมและระบบนิเวศด้านดิจิทัล มีเงื่อนไขว่าจะต้องมีศูนย์การพัฒนานวัตกรรมในหลายพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่น มีพื้นที่ศูนย์ 300 ตารางเมตร (ตร.ม.) ถึง 1,000 ตร.ม. ทั้งนี้ในมาตรการการส่งเสริมการลงทุนใหม่ระบุว่า ห้องปฏิบัติการทางอากาศหรือในแล็บทดลอง จะต้องมีเครื่องจักรหรือเครื่องมือสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์แบบเดิมด้วย เพื่อลดต้นทุนผู้ประกอบการกรณีพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นของตัวเอง ควบคู่กับการมีห้องทดลองด้านนวัตกรรม เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาระบบไฟเบอร์ออปติคขั้นสูง รวมถึงการทำระบบรองรับการพัฒนา

 

สิทธิประโยชน์ด้านภาษี :

การขยายเพดานภาษี 5 ปี และลดภาษีการนำเข้าเครื่องจักร
ทั้งนี้บอร์ดบีโอไออนุมัติส่งเสริมการลงทุนสำหรับ Co-Working Space ด้วย เพื่อดึงดูดบริษัทขนาดใหญ่ระดับโลก และกระตุ้นการลงทุนของสตาร์ทอัพและการระดมทุนแบบเวนเจอร์แคปปิตอลที่มาจากทั่วโลก โดยมีเงื่อนไขว่าการใช้ co-working space จะต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 2,000 ตร.ม. และจะต้องมีเงินทุน (รวมต้นทุนที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) อย่างน้อย 10 ล้านบาท ถึงจะได้สิทธิพิเศษการยกเว้นภาษีการนำเข้าเครื่องจักรตามเงื่อนไข

 

กระตุ้นบริษัทที่เทรดอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ

และอีกมาตรการกระตุ้นการลงทุนที่สำคัญคือ บอร์ดบีโอไอต้องการกระตุ้นบริษัทที่จดทะเบียนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เนื่องจากตลาดทุนเป็นเสาหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เพราะฉะนั้นจึงมีนโยบายว่าบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 100% (รวมต้นทุนที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) โดยมาตรการดังกล่าวจะมีผลตั้งแต่วันที่ 19 พฤจิกายน 2561 ถึง 30 ธันวาคม 2563

Leave a Reply

Your email address will not be published.