สิงคโปร์ทำอย่างไร? ถึงขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเงิน ศูนย์กลางการค้าระดับเวิลด์คลาสของภูมิภาค
จากประเทศโลกที่สามสู่โลกที่หนึ่ง : เรื่องราวการพัฒนาที่ไม่ธรรมดา
เป็นสิ่งที่น่าสนใจว่าสิงคโปร์ทำอย่างไร ถึงขึ้นเป็นศูนย์กลางทางการเงินและศูนย์กลางทางการค้าได้ในระดับโลก แถมยังโดดเด่นและเป็นดัชนีชี้วัดการพัฒนาด้านนวัตกรรม (Innovation) ให้กับผู้ประกอบการทั่วโลกได้ ซึ่งถ้าย้อนไปในอดีต สิงคโปร์ตกอยู่ในอาณานิคมอังกฤษ และอยู่ภายใต้การปกครองของมาเลเซีย ทั้งยังมีปัญหาเรื่องน้ำทะเลหนุน มีผลกับการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทำให้สิงคโปร์ยังเป็นประเทศยากจน ติดกับดักรายได้ต่ำ อย่างไรก็ตามสิงคโปร์ก็ถีบตัวขึ้นมาได้ โดยการนำของลี กวนยู นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ ที่เข้ามาบริหารประเทศ ทำให้สิงคโปร์เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ขึ้นมาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศโลกที่หนึ่ง จากเดิมที่เป็นประเทศโลกที่สาม มีอุปสรรคเรื่องน้ำทะเลหนุน ทำให้เกิดน้ำท่วมอยู่บ่อย ๆ ซึ่งการพัฒนาของสิงคโปร์ถือเป็นสิ่งของล้ำค่าที่ลี กวนยู ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และเต็มไปด้วยแพชชั่นได้สร้างไว้ สิงคโปร์จึงเป็นที่น่าสนใจของตะวันตก ในฐานะการเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรืออาจจะกล่าวได้ว่าจริง ๆ แล้ว ทำเลที่ตั้งเป็นใจ ทำให้เกิดการพัฒนาประเทศ ดังนั้นการประสบความสำเร็จของสิงคโปร์ เป็นบทเรียนสำหรับเมืองอินเดียน ที่สะท้อนถึงการไม่มีลิมิตในการพัฒนาประเทศ ใช้อุปสรรคเป็นแรงขับ ทำให้สิงคโปร์พัฒนาจนเป็นเมืองระดับโลกได้โดยใช้ระยะเวลาไม่นาน
สมาร์ทซิตี้…ที่มาก่อนเวลา
สิงคโปร์คือตัวอย่างของเมืองสมาร์ทซิตี้ ที่มีการออกแบบเมืองไว้เป็นอย่างดี ไม่มีนักท่องเที่ยวที่มาแล้วไม่ประทับใจ กับการทำงานของระบบอัตโนมัติของสิ่งต่าง ๆ เช่น ระบบการเก็บขยะของที่อยู่อาศัย ระบบน้ำประปา ระบบขนส่ง รถสาธารณะ ตลอดจนการบริหารจัดการเมือง ที่ทุกอย่างทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพและสอดคล้องกันไปหมด ซึ่งการพัฒนาของสิงคโปร์นั้น เกิดจากการที่คนในประเทศไปเรียนต่อต่างประเทศ โดยเฉพาะจากโลกตะวันตก แล้วนำความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาบ้านเมือง ทำให้สิงคโปร์เป็นฐานการลงทุนที่น่าสนใจของบริษัทระดับโลก สะท้อนถึงความพร้อมของประเทศ ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ โดยเฉพาะโครงสร้างของรัฐบาลที่ไม่มีปัญหาเรื่องการทุจริตหรือคอรัปชั่น ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักธุรกิจอย่างมาก หรืออาจกล่าวได้ว่าสิ่งที่นักธุรกิจฝันนั้นเป็นความจริง
ประเทศผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน
นอกจากนี้สิงคโปร์ยังเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวจากการเป็นศูนย์กลางทางอิเล็กทรอนิกส์ มีบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับแผงวงจรอิเล็กฯ จำนวนมาก จนทำให้สิงคโปร์เต็มไปด้วยบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านซอฟท์แวร์ หรือกล่าวได้ว่ามีเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าสุด ๆ เช่น การพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ด้วยจุดเด่นเรื่องทักษะเฉพาะทางนี้เอง ทำให้สิงคโปร์เป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนต่างชาติ เต็มไปด้วยบริษัทที่พัฒนานวัตกรรมในด้านเฮลท์แคร์ การเงินและล่าสุดคือเทคโนโลยีทางการเงิน (Fin Tech) ที่ต่างไปปักหลักลงทุนในสิงคโปร์ โดยเฉพาะนักลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ซึ่งการเป็นศูนย์กลางด้านการเงินและนวัตกรรม มีข้อดีอีกอย่างคือทำให้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทั้งนักธุรกิจสิงคโปร์เองและนักลงทุนต่างชาติ และนอกจากการดึงดูดการลงทุนในอาเซียนแล้ว สิงคโปร์ยังเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนทั่วโลก โดยเฉพาะนักลงทุนชาวอินเดีย ที่มีความใกล้ชิดกันในฐานะที่เป็นประเทศกลุ่มเอเชียใต้เหมือนกัน โดยเฉพาะชาวทมิฬจากอินเดีย ที่มีบรรพบุรุษเข้าไปตั้งรกรากในสิงคโปร์ และได้รับการดูแลจากรัฐบาลสิงคโปร์อย่างเป็นทางการ
ปัญหาที่กำลังก่อตัว : อนาคตที่มีความไม่แน่นอน
เมื่อไม่กี่ปีมานี้ สิงคโปร์มีการถกเถียงกันเรื่องนโยบายการย้ายถิ่นฐานของต่างชาติ เนื่องจากการเป็นศูนย์กลางภูมิภาคนั้น เป็นเรื่องดาบสองคม เพราะนอกจากการดึงดูดการลงทุนที่มีผลกับการพัฒนาเศรษฐกิจแล้ว อีกนัยหนึ่งเกิดความหลากหลายของชาติพันธุ์ที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในสิงคโปร์ แม้จะพูดถึงกันมายาวนาน เนื่องจากการอพยพเป็นเรื่องอ่อนไหว ซึ่งเรื่องนี้ทางรัฐบาลสิงคโปร์ก็พยายามเข้าไปดูแลอย่างความเสมอภาค แต่ยังคงคุกรุ่นและมีแรงกดดันอยู่เสมอ อย่างไรก็ตามปัจจุบันเริ่มดีขึ้น เนื่องจากมีการเปิดกว้างทางความคิดของคนรุ่นใหม่ เพราะคนยุคปัจจุบันไม่ได้เข้มงวดกับเรื่องพวกนี้มากนัก จนมีผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าปัญหาการปฏิวัติเดินขบวน หรือปรากฎการณ์อาหรับสปริง (Arab Spring) เกิดขึ้นน้อยแล้ว หรืออาจจะกล่าวได้ว่าใกล้ถึงยุคสิ้นสุดของปัญหาดังกล่าว จึงทำให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่น่าสนใจในสายตาของบริษัทขนาดใหญ่ระดับโลกอยู่ดี ทั้งนี้แม้ว่าปัญหาอาจจะคลี่คลาย แต่อนาคตยังไม่แน่นอน รัฐบาลไม่สามารถที่จะเพิกเฉยต่อการก่อความไม่สงบได้ ทำให้ปัจจุบันเหมือนอยู่กลางสี่แยกที่จะต้องตัดสินใจว่าจะเลือกทางไหนดี
การแข่งขันในกับประเทศอื่น ๆ
การเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ซึ่งสิงคโปร์จะต้องเผชิญกับการแข่งขัน ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการพัฒนา โดยมีคู่แข่งคือเมืองซิดนีย์ กัวลาลัมเปอร์และฮ่องกง เพราะฉะนั้นต้องเตรียมตัวอย่างเข้มงวด เพราะการรักษาแชมป์นั้นยากกว่าการเป็นแชมป์ นอกจากนี้ยังมีคู่แข่งใหม่อย่างเวียดนาม ฟิลิปปินส์และอินเดีย ที่ต่างก็ได้เปรียบจากการมีทรัพยากรมนุษย์ที่พูดภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี ซึ่งในมุมของนักลงทุนนั้น มักจะมีฐานการผลิตหลายที่ ซึ่งสิงคโปร์ก็จะต้องแข่งขันกับประเทศเหล่านั้น
ทั้งนี้ในธุรกิจท่าเรือ อย่างการธุรกิจการขนส่งทางน้ำ การค้าเชิงพาณิชย์ หรือธุรกิจชิปปิ้งจะพัฒนาไปมาก เช่น การพัฒนาท่าเรือน้ำลึกที่มีการร่วมมือกันในหลายประเทศ แต่ก็ไม่ได้ทำให้สิงคโปร์สูญเสียความสามารถทางการแข่งขันแต่อย่างใด นอกจากนี้การถูกขนานนามว่ามีสนามบินระดับโลกอย่างสนามบินชางงี และสายการบินที่ดีระดับโลกอย่างสิงคโปร์แอร์ไลน์ เปรียบกับอัญมณีมีค่าที่อยู่ในมือก็จริง แต่อย่าลืมว่าการแข่งขันเป็นเรื่องที่ท้าทายเสมอ นั่นคือสิ่งที่สิงคโปร์ต้องเผชิญ
Leave a Reply