urban traffic with cityscape

เข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม EV ในอาเซียน

752 502 admin

เข้าร่วมการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรม EV ในอาเซียน

รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังมีแผนทะเยอทะยานที่จะเข้ายึดส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ไฟฟ้า และถูกต้องแล้ว

ในขณะที่โลกเตรียมพร้อมสำหรับความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) อุตสาหกรรมยานยนต์กำลังเริ่มดำเนินการในการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน โดยในการประชุม COP26 เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ประเทศต่าง ๆ และผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำให้คำมั่นที่จะเลิกใช้รถยนต์แบบเชื้อเพลิงฟอสซิลภายในหรือก่อนปี 2040

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป้าหมายที่ชัดเจนคือการสร้างโอกาสสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อรองรับทั้งตลาดส่งออกและตลาดภายใน

ประเทศไทยซึ่งแต่เดิมมีฐานยานยนต์ที่แข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาค ซึ่งสามารถประกอบรถยนต์ได้สูงสุดที่ 2.5 ล้านคันในปี 2013 และหลังจากเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ที่ 1.7 ล้านคันในปี 2021 คาดว่าการผลิตยานยนต์ 30% จากทั้งหมดจะเป็นแบบพลังงานไฟฟ้าภายในสิ้นทศวรรษนี้ตามแผนงานที่เผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว

อินโดนีเซียผู้ผลิตนิกเกิลรายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในแบตเตอรี่ลิเธียม ตั้งเป้าที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกรถยนต์ไฟฟ้า ในเวียดนามบริษัทผู้ผลิต EV ระดับชาติอย่าง VinFast กระตือรือร้นที่จะพิชิตสหรัฐอเมริกาและยุโรป

การเปลี่ยนแปลงไปสู่ยานยนต์ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้ามีความสำคัญอย่างมากต่อการปกป้องการผลิตในภูมิภาค อย่างไรก็ตามผู้ซื้อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และผู้ผลิตรถยนต์ที่มีอยู่ส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมที่จะปรับตัว ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วม โดยแนวทางหลักในการเข้าสู่ตลาดมีดังต่อไปนี้

เป็นผู้นำระดับภูมิภาค: โรงงานรับจ้างผลิตชิ้นส่วน (OEM) ของญี่ปุ่นเป็นผู้นำในภูมิภาคนี้ แต่บริษัทใหญ่ในพื้นที่อย่าง VinFast กำลังได้รับความสนใจ ด้วยความช่วยเหลือจากจีนหรือยุโรป ผู้ผลิตรายใหญ่ระดับโลกนี้ได้กำหนดเป้าหมายที่ทะเยอทะยานเกี่ยวกับการปล่อยมลพิษและวางแผนที่จะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ใหม่ประมาณ 400 รุ่นภายในปี 2025 ดังนั้นพวกเขาจึงมีแรงจูงใจอย่างมากที่จะสนับสนุนประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการเปลี่ยนจากเครื่องยนต์สันดาปเป็นไฟฟ้า

อย่างน้อยในช่วงห้าปีข้างหน้าบริษัทต่างชาติขนาดใหญ่เหล่านี้จะยังครองการผลิตในภูมิภาคนี้ต่อไป ก่อนที่ผู้ผลิตในท้องถิ่นจะสามารถเข้าควบคุมได้ จุดสนใจในตอนนี้จะต้องอยู่ที่ห่วงโซ่คุณค่า ทั้งการบริการหลังการขายและ Mobility-as-a-Service โดยขณะนี้ส่วนงานดังกล่าวถูกจัดการโดยวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในท้องถิ่นหลายแห่ง ซึ่งอาศัยเครือข่ายที่บริษัทระดับชาติสามารถเข้าหาได้ง่ายเพื่อให้ได้เปรียบเหนือคู่แข่งจากต่างประเทศ

ในภูมิภาคที่มีแนวโน้มในอนาคตที่ดีซึ่งอัตราส่วนการเป็นเจ้าของรถยนต์ยังต่ำกว่าระดับ 20% กลุ่มผู้ใช้งานเริ่มต้นต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนทางดิจิทัลพร้อมการออกแบบที่น่าดึงดูดในราคาที่ไม่แพง ซึ่งเป็นจุดแข็งหลักของบริษัทจากจีน เช่น SAIC, Geely และ Great Wall Motor นี่เป็นตัวเปรียบเทียบสำหรับแบรนด์อย่าง VinFast ว่าจะสามารถเข้าสู่ตลาดได้อย่างไร

บริษัทถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2017 ด้วยเงินลงทุน 5 พันล้านดอลลาร์ โดย Vingroup กลุ่มบริษัทในท้องถิ่น VinFast เริ่มผลิตรถยนต์ทั่วไปด้วยเทคโนโลยีของ BMW ในปี 2019 มีการเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าสองรุ่นแรกในเดือนพฤศจิกายน และวางแผนที่จะนำเสนอเข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกาในราคาที่แข่งขันได้ ด้วยรูปแบบการเช่าแบตเตอรี่ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่

สร้างศูนย์กลางผลิตชิ้นส่วน EV ใหม่: อินโดนีเซียวางแผนให้การผลิตแบตเตอรี่เป็นแกนหลักของกลยุทธ์ EV จากทรัพยากรแร่นิกเกิลที่มีอยู่มากมาย โดยมีการห้ามส่งออกโลหะดังกล่าวในปี 2020 เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในท้องถิ่นและส่งเสริมการเพิ่มมูลค่า

CATL บริษัทแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ของจีนมีแผนที่จะลงทุน 5 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่ LG Chem ของเกาหลีใต้จะเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ Indonesia Battery Corporation (IBC) ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิ้งที่มีทั้งบริษัทพลังงาน ไฟฟ้า และเหมืองแร่ของรัฐ ขณะเดียวกัน Foxconn ในไต้หวันก็ตั้งเป้าที่จะเริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในชวากลางปลายปีนี้

รัฐบาลให้สิทธิประโยชน์ทั้งด้านการเงินและที่ไม่ใช่การเงิน โดยมีเป้าหมายที่รถยนต์ไฟฟ้า 400,000 คันและรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 1.76 ล้านคันภายในปี 2025 แต่ยังจำเป็นต้องมีความพยายามอีกมากในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ Hyundai Motors ซึ่งกำลังตั้งโรงงานแบตเตอรี่ในชวาตะวันตกกับ LG Energy Solution ได้ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนการพัฒนาสถานีชาร์จและการรีไซเคิลแบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว

การรีไซเคิลแบตเตอรี่อาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับประเทศที่ไม่มีทรัพยากรโลหะหายาก เมื่อปีที่แล้ว สิงคโปร์ได้เปิดโรงงานเฉพาะทางแห่งแรกของอาเซียนด้วยความสามารถในการรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน 14 ตัน ซึ่งสมาชิกสภานิติบัญญัติของสหภาพยุโรปได้เสนอว่าตั้งแต่ปี 2030 แบตเตอรี่ EV จะต้องมีส่วนประกอบของโคบอลต์ ตะกั่ว ลิเธียม และนิกเกิลที่มาจากการรีไซเคิล

ต่อยอดบนแพลตฟอร์ม EV: เมื่อเดือนกันยายนกลุ่มบริษัทพลังงานของไทยอย่าง PTT ได้เปิดตัวกิจการร่วมค้ากับ Foxconn เพื่อดำเนินการโรงงานในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) โดยขณะที่บริษัทในพื้นที่จะเป็นผู้จัดหาชิ้นส่วนรถยนต์ โครงสร้างพื้นฐาน EV และเครือข่ายลูกค้า การเป็นพันธมิตรจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากแพลตฟอร์ม MIH (Mobility in Harmony) ของ Foxconn

MIH คือแพลตฟอร์มของยานยนต์ไฟฟ้า เช่นเดียวกับที่ Android เป็นสำหรับโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ผลิตและนักพัฒนาสามารถแบ่งปันความเชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีและความเป็นไปได้ในการสร้างและเพิ่มส่วนประกอบ เช่น แบตเตอรี่ ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือการเชื่อมต่อบนคลาวด์ ลงบนโครงสร้างหลัก สิ่งนี้สามารถช่วยผู้ประกอบการ EV รายใหม่ลดความซับซ้อนและค่าใช้จ่ายลง ในขณะเดียวกันก็เป็นการช่วยเร่งให้ยานยนต์ไฟฟ้ากลายเป็นสินค้าทั่วไปได้เร็วขึ้น

รัฐบาลไทยหวังว่าโครงการเช่นนี้จะช่วยให้ซัพพลายเออร์ในท้องถิ่นเปลี่ยนผ่านมาทำการผลิตชิ้นส่วน EV ได้ง่ายขึ้น PTT จะสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องด้วยบริการให้เช่ารถ EV และติดตั้งที่ชาร์จที่สถานีบริการน้ำมันของตัวเอง

โดยรวมแล้วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงมีข้อได้เปรียบในฐานะศูนย์กลางการผลิตที่มีต้นทุนต่ำ และมีตลาดภายในภูมิภาคที่มีอนาคตสดใส โอกาสทางธุรกิจดังที่กล่าวไปมีอยู่มากมาย การเข้ามาของทั้งผู้ประกอบการเดิมและบริษัทใหม่สู่ธุรกิจที่น่าดึงดูดใจนี้จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาคนี้ให้กลายเป็นศูนย์กลางการผลิต EV ของโลก

 

Leave a Reply

Your email address will not be published.