การทำธุรกิจในประเทศไทยไม่เคยง่ายเท่านี้มาก่อน จากข้อมูลของ World Bank ได้พูดถึงประเทศไทยว่าเป็นประเทศหนึ่งที่เหมาะสำหรับการพัฒนาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ มากไปกว่านั้นประเทศไทยยังไต่อันดับขึ้นมาถึงหกอันดับมาสู่อันดับที่ 21 จากทั้งหมด 190 ประเทศที่ทาง World Bank ได้จัดอันดับประเทศที่น่าเข้าไปทำธุรกิจในปี 2020
ทำไมประเทศไทยถึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในการเข้าไปลงทุนตรงสำหรับชาวต่างชาติ ?
- ประเทศไทยคือประตูไปสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ แปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางลำน้ำโขงตามหลักยุทธศาสตร์และตั้งอยู่ใกล้กับประเทศจีนและอินเดีย
- มีเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเปิดกว้างให้กับสมาชิกของทั้ง FTAs และ AFTA เข้ามาดำเนินธุรกิจโดยไม่มีอัตราภาษีศุลกากร หรือ มีอัตราภาษีศุลกากรในการทำการค้าที่ต่ำ
- มีนโยบายรัฐบาลที่เอื้อในเรื่องการทำการค้าและการลงทุนที่เสรีในประเทศไทย พร้อมกฎหมายที่เข้ามาช่วยดูแลอัตราดอกเบี้ยให้กับนักลงทุนรายย่อย และยังมีนโยบายที่ช่วยกระตุ้นการลงทุนอย่างเช่น นโยบายของทาง (BOI, EEC, IPA) ในเรื่องภาษีอัตราพิเศษ และสิทธิประโยชน์ที่ไม่ใช่ภาษีอากร
- การทำธุรกิจในประเทศไทยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากการจัดอันดับของ World Bank Doing Business 2020 เนื่องมาจากความสะดวกในการก่อตั้งบริษัท และมีกฎหมายรองรับที่ชัดเจน
- คุ้มค่าแก่การลงทุน มีบุคลากรมีความสามารถและทักษะที่หลากหลาย
อะไรคือกฎหมาย ข้อกำหนด และระเบียบการในการทำธุรกิจในประเทศไทย ?
หลังจากที่คุณได้ก่อตั้งบริษัทขึ้นมาในประเทศไทย คุณยังจะต้องรับมือกับข้อบังคับทางกฎหมายที่อาจจะดูยุ่งยากเหล่านี้เพื่อให้มั่นใจว่าคุณได้ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ ซึ่งได้แก่
- เงินจดทะเบียนขั้นต่ำ
- ใบอนุญาตทำงาน หรือ Work permits
- โควตาของจำนวนบุคลากรต่างชาติ
- กฎข้อบังคับ และใบอนุญาต
- การถูกตรวจสอบทางการเงิน
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล 20%
- การจดประกันสังคม
- มีตำแหน่งเลขานุการ และ ตำแหน่งบริหาร
มีเกณฑ์อะไรบ้างในการช่วยคุ้มครองนักลงทุนรายย่อยที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย ?
เว้นแต่ธุรกิจนั้นได้รับการยกเว้น อย่างเช่น การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่างประเทศนั้นการถือหุ้นความเป็นเจ้าของสำหรับชาวต่างชาติในประเทศไทยจำกัดอยู่ที่ 49% และในการประเมินสิทธิและอำนาจในการตัดสินใจในการทำธุรกิจของนักลงทุนนั้น จะมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เข้ามาช่วยดูแลในส่วนของบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล รวมไปถึงพระราชบัญญัติบริษัทจำกัดมหาชน
พระราชบัญญัติบริษัทจำกัดมหาชน
- ผู้ถือหุ้นทุกคนมีสิทธิที่จะตรวจสอบและบันทึกการประชุมของบริษัทได้ทุกนาทีรวมปถึงมีสิทธิที่จะได้รับสำเนางบแสดงฐานะการเงินของบริษัท
- ผู้ถือหุ้นจำนวน 25 คน เป็นตัวแทน 10% ของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด สามารถจัดประชุมผู้ถือหุ้นเป็นการประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้ (มาตรา 100)
- ผู้ถือหุ้นที่มีหุ้นขั้นต่ำ 5% สามารถดำเนินการเอาผิดกับผู้อำนวยการได้ ในกรณีที่มีการละเมิดการปฏิบัติหน้าที่
- ผู้ถือหุ้นที่เป็น 5% ของหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมดสามารถตรวจสอบความเคลื่อนไหวของการดำเนินงานก่อนที่จะดำเนินการฟ้องร้อง (มาตรา 128)
- ผู้ถือหุ้นจำนวน 5 คนขึ้นไป หรือ ผู้ถือหุ้นที่มีหุ้นตั้งแต่ 20% ขึ้นไปสามารถคัดค้านประชุมครั้งนั้น ๆได้ หากมีการลงมติที่ฝ่าฝืนข้อบังคับของบริษัท
- ผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 10% ขึ้นไป สามารถสามารถร้องขอให้ศาลเพิกถอนมติในการประชุมครั้งนั้น ๆได้
บริษัทต่างชาติสามารถทำการค้าข้ามเขตชายแดนไทยได้หรือไม่ ?
ธุรกิจนำเข้า ส่งออก หรือ ธุรกิจการค้า ไม่ได้ถูกเข้มงวดจากพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจต่างชาติ เมื่อมีการก่อตั้งบริษัทในประเทศไทยก็สามารถเริ่มการนำเข้าและส่งออก ตามขั้นตอนได้
ประเภทของธุรกิจแบบใดที่ชาวต่างชาติสามารถดำเนินธุรกิจได้ในประเทศไทย ?
การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่างชาติ
กฎหมายไทยได้ควบคุมการดำเนินงานของบริษัทต่างชาติส่วนใหญ่โดยการอนุญาตให้ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจคนต่างด้าว (FBA) ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว บริษัทต่างด้าวหมายถึง
- บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย
- นิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย
- นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยและมีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
- มีบุคคลที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของข้อ 1 หรือ 2 ลงทุนเป็นจำนวน 50% ของนิติบุคคลทั้งหมด
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่มีบุคคลภายใต้เงื่อนไขข้อ 1 ในฐานะผู้จัดการร่วม หรือ ผู้จัดการ
- นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทยและมีบุคคลภายใต้เงื่อนไขข้อ 1 2 หรือ 3 ถือหุ้นเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นทั้งหมด
- ข้อดีของใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ก็คือ ชาวต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ 100% ของมูลค่าหุ้นในบริษัท
สำนักงานผู้แทน
สำนักงานผู้แทนของบริษัทต่างชาติในประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มธุรกิจการค้าต่างประเทศซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการนำเข้าส่งออกสินค้าให้กับสำนักงานใหญ่ ซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
- สำนักงานผู้แทนไม่ได้รับรายได้ใดๆจากการให้บริการ
- ไม่สามารถรับคำสั่งซื้อ หรือดำเนินการจำหน่าย หรือ ต่อรองกับบุคคลที่สามได้
- ค่าใช้จ่ายทั้งหมดรับผิดชอบดูแลโดยสำนักงานใหญ่
- เป็นธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาษีรายได้ของสำนักงานใหญ่ (ยกเว้นดอกเบี้ย)
การส่งเสริมการลงทุนที่ทางรัฐบาลเข้ามาสนับสนุนเพื่อปรับปรุงการลงทุนของชาวต่างชาติในประเทศไทยมีอะไรบ้าง ?
สำนักคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เป็นหน่วยงานราชการที่กระตุ้นการลงทุนในประเทศไทยโดยการยื่นข้อเสนอในเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร และสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษีอากรให้กับบริษัทที่มีสิทธิ์ ซึ่งสิทธิประโยชน์ที่ทาง BOI เสนอให้ดังกล่าวมุ่งไปสู่การพัฒนาการแข่งขัน และอำนวยความสะดวกให้กับการลงทุนในประเทศไทย โดยการเสนอเงื่อนไขที่น่าดึงดูดใจ
มีพื้นที่ใดอีกบ้างที่ต่อยอดการสนับสนุนการลงทุนเพื่อการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยนอกเหนือจาก BOI ?
นิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย
ดูแลกำกับโดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IEAT) และยังมีพื้นที่ที่เป็น industrial parks และzones ซึ่งเป็นพื้นที่ของหน่วยงานเอกชนและดำเนินงานโดย developer เอกชน
เขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ)
เขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เชื่อมต่อกับประเทศ เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา และมาเลเซียซึ่งมีกลุ่มอุตสาหกรรม 13 กลุ่มด้วยกันที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากทาง BOI
โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)
EEC เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับอุตสาหกรรม โครงข่าย และการพัฒนาเมือง ตั้งอยู่ในสามจังหวัด นั่นคือ จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา
ใช้เวลานานแค่ไหนในการเข้าร่วมเป็นบริษัทที่อยู่ในความดูแลของ BOI?
การขอใบอนุญาตจากทาง BOI อาจจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากอยู่บ้าง ซึ่งจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-6 เดือนขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของธุรกิจและการตอบรับการสมัครของบริษัทเอง ทาง MPG ได้แนะนำว่า บรัทที่ประสงค์จะเข้าร่วมในฐานะ Thai LLG และกำลังรอผลการสมัครเพื่อรับใบอนุญาตจากทาง BOI ไม่จำเป็นต้องรอเป็นระยะเวลาหลาย ๆ เดือนในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
ข้อดี การเข้าร่วมเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจทั้งในประเทศไทยและสิงคโปร์
- มีแรงงานที่มีความสามารถและสมราคาสำหรับในประเทศไทย โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม
- ภาษีในประเทศสิงคโปร์ถือได้ว่าต่ำที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นั่นคือ ศูนย์เปอร์เซนต์ซึ่งแยกกันกับกำไรขายต่อ
- ประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์คือคู่ค้าทางเศรษฐกิจที่ได้ทำข้อตกลงกันว่าการทำการค้าระหว่างสองประเทศนี้จะไม่มีปัญหาภาษีซ้ำซ้อน
หากนักลงทุนเข้าใจการทำธุรกิจในไทยหรือเตรียมตัวอย่างดี ขั้นตอนการจดทะเบียนทำธุรกิจในไทยก็ไม่ใช่เรื่องยาก แม้หลายขั้นตอนอาจจะมีความซับซ้อนบ้าง เช่น การขอใบอนุญาต ข้อกำหนด กฎ เกณฑ์ต่าง ๆ เป็นต้น แต่นักลงทุนก็สามารถเริ่มต้นทำธุรกิจได้อย่างประสบความสำเร็จ
นอกจากนี้แล้ว Interloop สามารถช่วยจัดการเรื่องซับซ้อนเหล่านี้ ให้กับนักลงทุนได้อย่างง่ายดาย และมีประสิทธิภาพ หากท่านใดสนใจ สามารถติดต่อได้ที่ Line ID: @inlps หรือ โทรศัพท์ 097-106-9113
Leave a Reply