FBL Inlps

ทางเลือกที่ดีของการทำธุรกิจในประเทศไทย สำหรับชาวต่างชาติ

720 405 admin

อะไรคือทางเลือกที่ดีของการทำธุรกิจ?

การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (Foreign Business License) หรือ FBL นักลงทุนต่างชาติจะต้องทราบข้อมูลสำคัญในด้านการลงทุน ทั้งสิทธิประโยชน์ ข้อบังคับหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่ากฎหมายมีเงื่อนไขหรือข้อจำกัดอะไรบ้าง เพื่อให้การทำธุรกิจในประเทศไทยเป็นไปตามแผนที่วางไว้

อันดับแรก นักลงทุนต่างชาติต้องรู้อะไรบ้าง?

ต้องทราบก่อนว่าพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 กำหนดว่าบุคคลต่อไปนี้ถือว่าเป็นคนต่างด้าว

  1. บุคคลธรรมดา ที่ไม่มีสัญชาติไทย
  2. นิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย
  3. นิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทย โดยมีทุนเรือนหุ้นกึ่งหนึ่งของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ในข้อ 1 และ 2
  4. นิติบุคคลที่มีทุนเรือนหุ้นเกินกึ่งหนึ่งของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ในข้อ 1, 2 และ 3

 

ข้อจำกัดในพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 มีอะไรบ้าง?

เดิมกฎหมายการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติมีจำกัดบางอย่าง แต่เมื่อไม่นานมานี้มีการปรับปรุงกฎหมายใหม่ โดยในพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ห้ามคนต่างด้าวประกอบธุรกิจบางประเภท และอนุญาตให้ธุรกิจบางประเภทจะประกอบธุรกิจได้ ก็ต่อเมื่อมีใบอนุญาต หรือได้รับหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (แล้วแต่กรณี) ซึ่งประกอบด้วยบัญชีรายชื่อธุรกิจ 3 บัญชี ดังนี้

 

บัญชีหนึ่ง ธุรกิจที่ห้ามมิให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจด้วยเหตุผลพิเศษ ได้แก่

  1. การทำกิจการหนังสือพิมพ์ การทำกิจการสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือสถานีวิทยุโทรทัศน์
  2. การทำนา ทำไร่ หรือทำสวน
  3. การเลี้ยงสัตว์
  4. การทำป่าไม้และการแปรรูปไม้จากป่าธรรมชาติ
  5. การทำการประมงเฉพาะการจับสัตว์น้ำในน่านน้ำไทย และในเขตเศรษฐกิจจำเพาะของประเทศไทย
  6. การสกัดสมุนไพรไทย
  7. การค้าและการขายทอดตลาดโบราณวัตถุของไทย หรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ
  8. การทำหรือหล่อพระพุทธรูป และการทำบาตร
  9. การค้าที่ดิน

บัญชีสอง ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัย ความมั่นคงของประเทศ หรือมีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี หัตถกรรมพื้นบ้าน หรือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี (ไม่เช่นนั้นก็ต้องรับอนุญาตจากบีโอไอหรือตามสนธิสัญญาฯ) ประกอบด้วย

  1. ธุรกิจที่เกี่ยวกับความปลอดภัยหรือความมั่นคงของประเทศ
  2. ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และหัตถกรรมพื้นบ้าน
  3. ธุรกิจที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม

บัญชีสาม ธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว คนต่างด้าวจะประกอบธุรกิจได้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดี โดยความเห็นชอบจากคณะกรรมการการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ไม่ก็ต้องได้รับอนุญาตจากบีโอไอหรือตามข้อตกลงในสนธิสัญญาฯ)

แล้วธุรกิจใดบ้างที่อนุญาตให้คนต่างด้าวทำได้?

โดยเมื่อปีที่ผ่านมานี้เองที่รัฐบาลปลดล็อค ที่ต่างชาติสามารถทำธุรกิจได้ ประกอบด้วย

  • ธุรกิจบริการด้านการบัญชี
  • ธุรกิจบริการด้านกฎหมาย
  • ธุรกิจบริการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายให้กับบริษัทในเครือ
  • ธุรกิจบริการให้เช่าพื้นที่และสาธารณูปโภค

นอกจากนี้รัฐบาลยังผ่อนเกณฑ์บางอย่าง เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติสามารถทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้โดยไม่ต้องมี License อย่างไรก็ตามมีข้อยกเว้นว่าบริษัทจะต้องยื่นขอจดหมายรองรับการประกอบธุรกิจ เพื่อนำไปขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม การทำประกันสังคม การเปิดบัญชีหรือทำธุรกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง ก่อนเริ่มต้นธุรกิจ

  • การบริหารสินทรัพย์จะอยู่ภายใต้กฎหมายบริหารสินทรัพย์
  • ธุรกิจบริการที่เป็นตัวแทนนิติบุคคลที่ทำการค้าในต่างประเทศ
  • ธุรกิจบริการที่เป็นสำนักงานภูมิภาคของตัวแทนนิติบุคคล ที่ทำการค้าในต่างประเทศ
  • ธุรกิจบริการที่มีหน่วยงานกำกับดูแลเป็นหน่วยงานกลาง ว่าด้วยกฎหมายงบประมาณ
  • ธุรกิจบริการที่มีหน่วยงานรัฐวิสาหกิจเป็นหน่วยงานกลาง ว่าด้วยกฎหมายงบประมาณ

 

สิทธิประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้รับจากการมี FBL มีอะไรบ้าง?

 

กฎหมายใหม่ประกาศว่านักลงทุนต่างชาติที่มีใบอนุญาตการประกอบธุรกิจฯ ไม่จำเป็นต้องขอใบอนุญาตการทำงาน เพราะฉะนั้นไม่ต้องทำตามเงื่อนไขเดิมที่ระบุว่าจะต้องส่งประกันสังคมให้กับพนักงานไทยจำนวน 4 คน ทั้งนี้มีนักลงทุนต่างชาติจำนวนมากที่อยากถือหุ้นในธุรกิจของตน ซึ่งหากมี FBL ก็สามารถถือหุ้นได้ เพราะฉะนั้นการมี FBL จะทำให้ต่างด้าวทำธุรกิจได้สะดวกขึ้น ไม่จำเป็นต้องมีพันธมิตรทางธุรกิจเป็นผู้นำทางให้

แล้วมีอะไรบ้าง? ที่จะทำให้เสียสิทธิประโยชน์ หากถือ FBL

อันดับแรกการขอ FBL อาจจะต้องรอนาน นอกจากนี้ FBLไม่สามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ ทั้งนี้กฎหมายอนุญาตให้บริษัทไทยสามารถจะมีต่างชาติเข้ามาถือหุ้นได้เล็กน้อยเพื่อลงทุนในบริษัท ส่วนกรณีการขอวีซ่าแบบอยู่ชั่วคราว (NON-B visa) อาจจะเป็นทางเลือกที่ตัดสินใจยากสำหรับผู้บริหารชาวต่างชาติที่ขอวีซ่าประเภทนี้หลายครั้งในเวลา 1 ปี ในข้อนี้กฎหมายใหม่ระบุว่าให้สามารถทำได้ แต่จะแสดงหลักฐานทางสถานทูต ว่าเข้ามาทำงานในไทยจริง
ส่วนข้อห้ามท้ายบัญชีในพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กำหนดว่าจะบริษัทต้องมีทุน 3 ล้านบาท หรือต้องส่งเงินเข้าประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 25 ล้านบาท อย่างไรก็ตามข้อบังคับนี้ใช้กับบัญชี 2 และ 3 โดยจะต้องได้รับอนุญาตจากทางบีโอไอ หรือสนธิสัญญาฯ เพื่อนำไปขอใบประกอบธุรกิจในไทย

 

ขั้นตอนการขอ FBL

อับดับแรกบริษัทจะต้องยื่นขอประกอบธุรกิจจากทางกระทรวงพาณิชย์ โดยทางกระทรวงฯ จะพิจารณาใบสมัคร ประมาณ 60 วัน ถึงจะทราบผลว่าผ่านหรือไม่ผ่าน อย่างไรก็ตามบริษัทต่างชาติที่อยู่ในบัญชี 2 และบัญชี 3 จะต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท และจะต้องยื่นข้อมูลที่แสดงจำนวนกรรมการบริษัทที่และต้องรายงานสัดส่วนหนี้และทุนของบริษัท

 

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม นักลงทุนสามารถติดต่อเราได้ที่ บริษัท InterLoop Solutions & Consultancy Co.,Ltd. โทร 097-106-9113 หรือทางไลน์ ID Line: @inlps

Leave a Reply

Your email address will not be published.