จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทในฟิลิปปินส์

150 150 admin

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์นอกจากจะโตอย่างแข็งแกร่งแล้ว ยังเป็นหนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจโตเร็วที่สุดในเอเชีย จากการที่ประชากรมีระดับการศึกษาที่สูงและเป็นประเทศที่มีทรัพยากรจำนวนมาก เห็นได้จากการเป็นหนึ่งในผู้ผลิตทองคำ โครเมียมและทองคำ Top 10 ของโลก

นอกจากนี้ในด้านการลงทุน องค์ประกอบต่าง ๆ เป็นปัจจัยดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมสมบูรณ์ ตลอดจนนโยบายส่งเสริมการลงทุน ทำให้ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในศูนย์กลางธุรกิจที่โดดเด่นในเอเชีย

 

ข้อดี ของการทำธุรกิจในฟิลิปปินส์

  • แรงงานฟิลิปปินส์มีทักษะและค่าแรงไม่สูง
  • ทำเลของฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ใจกลางเอเชีย เชื่อมต่อกับเมืองหลวงหลัก 4 แห่งในภูมิภาค มีประชากรชาวอาเซียนกว่าล้านคน
  • รัฐบาลส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษ และคิดอัตราภาษีแค่ 5% เท่านั้น
  • เป็นประเทศที่เปิดกว้างทางการลงทุน อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเป็นเจ้าของบริษัทได้ 100%
  • โครงสร้างพื้นฐานที่ครอบคลุม ทั้งโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมสื่อสาร ระบบคมนาคมและขนส่ง รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ
  • เข้าถึงตลาดอาเซียนได้ง่าย และมีโอกาสทางการค้ามากมาย

 

จะเริ่มต้นทำธุรกิจในฟิลิปปินส์ได้อย่างไร?

ฟิลิปปินส์ไม่ได้เป็นเพียงสถานที่สำหรับ Leisure เท่านั้น แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาการประกอบธุรกิจของนักลงทุนต่างชาติสะดวกมากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลออกนโยบายส่งเสริมการลงทุน ผ่านโครงการลงทุน Build-Operate-Transfer (BOT) ซึ่งเป็นโครงการที่ลดความซับซ้อนในการทำธุรกิจ เพื่อให้นักลงทุนทำธุรกิจในฟิลิปปินส์ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ตามนโยบายที่รัฐบาลใช้จูงใจการลงทุนจากต่างชาติ  มีรายละเอียด ดังนี้

 

1. เลือกโครงสร้างธุรกิจ

สำหรับธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องการทำธุรกิจในสิงคโปร์ ขั้นตอนแรกผู้ประกอบการจะต้องเลือกโครงสร้างองค์กร โดยการพิจารณาขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจและต้นทุนที่มี นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือผู้ประกอบการจะต้องเลือกรูปแบบการจัดตั้งบริษัทว่าจะมีเจ้าของคนเดียว หุ้นส่วนธุรกิจ หรือหรือนิติบุคคล

 

2. ลงทะเบียนชื่อธุรกิจ 

ขั้นตอนต่อไปคือ การจดทะเบียนชื่อธุรกิจ โดยผู้ประกอบการจะต้องยื่นจดทะเบียนกับหน่วยงาน ตามประเภทของธุรกิจ แบ่งเป็น

  • กิจการที่มีเจ้าของคนเดียว – กรมการค้าและอุตสาหกรรม (DTI)
  • นิติบุคคลหรือห้างหุ้นส่วน -สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
  • เป็นเจ้าของร่วมกัน หรือในรูปแบบสหกรณ์ – หน่วยงานพัฒนาสหกรณ์

ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนชื่อ จะมีค่าใช้จ่าย 40-120 เปโซฟิลิปปินส์ (PHP)

 

3. จ่ายเงินฝากขั้นต่ำ

ขั้นตอนต่อมา ผู้ประกอบการจะต้องฝากเงินขั้นต่ำในบัญชีธนาคาร โดยเงินขั้นต่ำอยู่ที่  5,000 PHP ซึ่งก่อนจะเปิดบัญชี ผู้ประกอบการจะต้องยื่นเอกสารเกี่ยวกับจดทะเบียนบริษัทและเอกสารระบุตัวตนกับทางธนาคาร

 

4. ลงทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

สำหรับขั้นตอนนี้ถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เนื่องจาก ก.ล.ต.ฟิลิปปินส์ เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล มีหน้าที่ดูแลบริษัทจดทะเบียน ธุรกิจที่ต้องการจดทะเบียนในฟิลิปปินส์ จะต้องเตรียมเอกสาร เพื่อยื่นต่อก.ล.ต. ดังนี้

  • ชื่อบริษัทที่ได้รับการอนุมัติแล้ว
  • หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
  • หนังสือรับรองผู้ดูแลบัญชีของบริษัท
  • งบแสดงทรัพย์สินและหนี้สิน
  • ข้อมูลสำคัญของบริษัท ซึ่งประกอบด้วย รายชื่อกรรมการ ผู้ถือหุ้นและพนักงานบริษัท

     

 

5. การรับรองเอกสาร

ก่อนที่นักลงทุนจะยื่นจดทะเบียนกับสำนักงานก.ล.ต. ขอย้ำว่าเอกสารทั้งหมดจะต้องมีผู้ดูแลบัญชีของบริษัทหรือ Audit รับรองความถูกต้องก่อนยื่นจดทะเบียนตามขั้นตอนในข้อที่ 4 ซึ่งการรับรองเอกสารนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายธุรกิจ มาตราที่ 14 และ 15 โดยการรับรองเอกสารจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 1 วัน และมีค่าใช้จ่ายประมาณ 500 PHP

 

6. รับหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี (TIN)

เมื่อนักลงทุนจดทะเบียนบริษัทกับสำนักงานก.ล.ต. เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนหลังจากนี้จะทางสำนักงานก.ล.ต.จะออกหมายเลข TIN ให้อัตโนมัติ ซึ่งนักลงทุนจะต้องใช้เวลารอประมาณ 2 วันทำการ

 

7. ลงทะเบียนกับสำนักงานสรรพากรพื้นที่ (BIR) 

ในขั้นตอนนี้นักลงทุนจะต้องยื่นลงทะเบียนกับสำนักงานสรรพากรพื้นที่ (BIR) เพื่อขออำนาจในการพิมพ์ใบแจ้งหนี้และรายการเดินบัญชีของบริษัท ซึ่งขั้นตอนในข้อนี้ก็สำคัญเช่นเดียวกัน เนื่องจากการยื่นลงทะเบียนจะทำให้นักลงทุนทราบว่าจะต้องจ่ายภาษี และค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนรายปีประมาณเท่าไร ซึ่งเมื่อขั้นตอนแล้วเสร็จ ทาง BIR จะประทับตราในใบแจ้งหนี้ ใบเสร็จรับเงินและในสมุดบัญชีของบริษัท

 

8. การออกหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจ

สำหรับการออกใบรับรองการประกอบธุรกิจนั้น นักลงทุนจะต้องติดต่อสำนักงานรัฐบาลท้องถิ่น ที่ Barangay hall โดยจะต้องยื่นแบบการจดทะเบียนธุรกิจ หนังสือรองรับการจดทะเบียนของสำนักงานก.ล.ต. ข้อบังคับของบริษัท สัญญาเช่าและแผนธุรกิจ โดยค่าธรรมเนียมสำหรับการยื่นเอกสาร หรือทำ Barangay Clearance จะอยู่ที่ 300-1,000 PHP

 

9. การชำระภาษีชุมชนประจำปี

นักลงทุนสามารถสามารถชำระภาษีชุมชนประจำปีและภาษีเพิ่มเติมได้ที่ City Treasurer’s Office (CTO) โดยภาษีขั้นพื้นฐานที่จ่ายแต่ละปี จะขึ้นอยู่กับกิจกรรมของบริษัท โดยจ่ายสูงสุดไม่เกิน 500 PHP อย่างไรก็ตามอัตราภาษีที่นักลงทุนต่างชาติจะต้องจ่ายเพิ่มขึ้นนั้น ขึ้นอยู่กับการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ เงินปันผลและรายได้ของบริษัท

 

10. ขอใบอนุญาตการประกอบธุรกิจ

นักลงทุนสามารถขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจธุรกิจในฟิลิปปินส์จาก Business Permits and Licensing Office (BPLO) ทั้งนี้จะต้องขอใบรับรองอื่น ๆ ที่มีความสำคัญต่อการประกอบธุกิจ เช่น ใบรับรองการตรวจสถานประกอบการ ใบรับรองการใช้เครื่องจักร ใบรับรองการตรวจระบบไฟฟ้า ใบรับรองการตรวจด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย เป็นต้น

 

11.การลงทะเบียนกับระบบประกันสังคม (SSS)

การลงทะเบียนกับระบบประกันสังคม ไม่ได้มีข้อกำหนดว่าธุรกิจจะต้องมีจำนวนพนักงานขั้นต่ำกี่คน ทุกธุรกิจสามารถยื่นลงทะเบียนได้หมด ซึ่งเอกสารที่ใช้ประกอบ มีดังนี้

  • แบบฟอร์มการลงทะเบียนนายจ้าง (แบบ R-1)
  • รายงานการจ้างงาน (แบบ R-1A)
  • รายชื่อพนักงาน (ที่ต้องระบุวันเกิด ตำแหน่ง เงินเดือนและวันที่จ้างงาน)
  • ข้อบังคับการจัดตั้งบริษัทตามกฎหมาย และการจดทะเบียนกับทางสำนักงาน ก.ล.ต.

ดังนั้นสำหรับนักลงทุนที่กำลังวางแผนที่จะทำธุรกิจในฟิลิปปินส์ นโยบายการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล ถือเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมการลงทุนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็ก ที่สามารถเข้าถึงโอกาสและเข้าถึงตลาดที่มีศักยภาพ

 

หากนักลงทุนต้องการคำแนะนำ หรือคำปรึกษาเพิ่มเติม สามารถติดต่อ Interloop ซึ่งเรามีประสบการณ์ช่วยนักลงทุนจดทะเบียนในต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญของเราจะเป็นที่ปรึกษาให้กับคุณตั้งแต่ขั้นตอนการเริ่มต้นการทำธุรกิจในฟิลิปปินส์ การศึกษากฎหมายธุรกิจ การจัดการบัญชี การเสียภาษี และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่นักลงทุนจะต้องทราบ ก่อนเริ่มต้นเปิดบริษัทในฟิลิปปินส์

 

Leave a Reply

Your email address will not be published.