การทำธุรกิจในประเทศไทย สำหรับต่างชาติ
ขนาดเศรษฐกิจของประเทศไทยใหญ่เป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) รองจากอินโดนีเซีย ประกอบกับภูมิรัฐศาสตร์ที่มีความได้เปรียบ เพราะตั้งอยู่ในศูนย์กลางของอาเซียน ดังนั้นประเทศไทยจึงโดดเด่นในสายตานักลงทุน โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันไทยเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นผู้นำในการผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูป อุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเฉพาะการลงทุนโดยตรงจากญี่ปุ่น ที่ตั้งฐานการผลิตในไทยทำให้เราเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ของภูมิภาค นอกจากนี้ประเทศไทยก็ยังเป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่ในธุรกิจ เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนประกอบต่าง ๆ ซึ่งมีการส่งออกไปทั่วโลก
การเริ่มต้นทำธุรกิจในประเทศไทย
ชาวต่างชาติหรือผู้ที่ตกหลุมรักประเทศไทยมักมีคำถามว่า นักลงทุนต่างชาติจะเริ่มต้นทำธุรกิจในประเทศไทยได้อย่างไร?
ดังนั้นหากคุณเป็นชาวต่างชาติที่ต้องการเริ่มธุรกิจในประเทศไทย มีสิ่งที่ต้องทราบ ดังต่อไปนี้
- คุณไม่สามารถเป็นเจ้าของบริษัทได้ 100% นอกจากว่าจะมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBL) จากกระทรวงพาณิชย์ หรือได้รับสิทธิประโยชน์การลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)
- คุณต้องมีคนไทยเป็นหุ้นส่วน ในสัดส่วนการถือครองหุ้น 51% และคุณในฐานะนักลงทุนต่างชาติ จะถือหุ้นได้สูงสุด 49% เท่านั้น
สิ่งที่คุณควรพิจารณาในการจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย
หากคุณกำลังพิจารณาที่จะจัดตั้งธุรกิจในประเทศไทย จะต้องคำนึงถึงเรื่องสำคัญที่เราจะอธิบายต่อไปนี้ เพื่อให้การเริ่มต้นทำธุรกิจไปได้ดี
หาพาร์ทเนอร์คนไทย หรือคนที่สามารถพูดภาษาไทยได้
เพราะสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจคือ นักลงทุนจะต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าบริษัทของคุณกำลังทำอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกำลังเซ็นสัญญากับเจ้าของที่ดิน หรือหุ้นส่วนธุรกิจ ตลอดจนอุปสรรคในการเปิดบริษัทในประเทศไทย ดังนั้นคุณจะต้องหาพาร์ทเนอร์หรือคนที่สามารถใช้ภาษาได้ดีที่สามารถช่วยเหลือคุณในด้านภาษา เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการได้อย่างราบรื่น และนอกจากขั้นตอนการเริ่มต้นทำธุรกิจแล้ว สิ่งสำคัญคือเมื่อทำธุรกิจจริง ๆ คุณจะต้องสื่อสารและทำความเข้าใจกับพนักงานคนไทย ดังนั้นการเข้าใจภาษาจึงเป็นพื้นฐานสำคัญ แม้ว่าจะมีคนไทยจำนวนมากที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ แต่การเรียนรู้ภาษาไทยก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการชาวต่างชาติ
ทุนจดทะเบียนสำหรับจัดตั้งบริษัทในประเทศไทย
จำนวนทุนจดทะเบียนในประเทศไทยมีความหลากหลาย อย่างไรก็ตามเงินทุนขั้นต่ำ สำหรับบริษัทต่างชาติที่มีคนไทยถือหุ้น จะต้องมีทุนจดทะเบียนอย่างน้อย 2 ล้านบาท และจะต้องจ่ายภาษีการจัดตังบริษัทให้กับรัฐบาลประมาณ 7,000 บาท ในทางตรงกันข้าม หากธุรกิจมีใบอนุญาตประกอบธุรกิจชาวต่างชาติภายใต้ FBA ต้องมีเงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 3 ล้านบาท ในการก่อตั้งบริษัท
พนักงานคนไทยและพนักงานต่างประเทศ
ตามกฎหมายแรงงาน บริษัทต่างชาติจะต้องจ้างพนักงานคนไทยก่อน ถึงจะจ้างพนักงานต่างประเทศได้ โดยสัดส่วนพนักงานคนไทยกับพนักงานต่างชาติ (ในกรณีทั่ว ๆ ไป) จะมีสัดส่วน 4:1 ทั้งนี้เงื่อนไขใบอนุญาตการทำงานในประเทศไทย (Visa Work Permit) จะมีอายุ 1 ปี
การจ้างงานพนักงานคนไทย จะต้องมีเอกสารที่แสดงรายละเอียดสำคัญ ดังนี้
- หลักฐานการจ่ายเงินประกันสังคม
- เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการหักภาษีรายได้ส่วนบุคคล
- รูปถ่ายของพนักงานไทย สถานที่ทำงาน และรูปที่แสดงหลักฐานว่าทำงานร่วมกับพนักงานชาวต่างชาติ
- งบการเงินของนายจ้างหรือของบริษัทของปีก่อนหน้า
- การคืนภาษีนิติบุคคลของผู้ว่าจ้างของปีก่อนหน้า
- พนักงานคนไทยจะต้องได้รับการว่าจ้างตั้งแต่อย่างน้อย 3 เดือนตามปฏิทิน ก่อนวันสมัคร
ต้องรู้จักตลาดและวิธีการเข้าถึง…ก่อนทำธุรกิจ
ธุรกิจในไทยมีการแข่งขันสูง ดังนั้นเมื่อนักลงทุนมีความตั้งใจที่จะทำธุรกิจ จะต้องศึกษาตลาดและศึกษาวิธีการเข้าถึง ซึ่งนักลงทุนจะต้องแอคทีฟตั้งแต่เริ่มต้น ในการทำความเข้าใจกับเป้าหมายการตลาด โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ต หรือการทำกลยุทธ์ผ่านช่องทางออนไลน์ จะเป็นประโยชน์มากในการทำธุรกิจ นอกจากนี้คุณจะต้องศึกษาวัฒนธรรมและการใช้ชีวิตคนไทย เช่น เมื่อเดินทางพยายามอย่าใช้บริการแท็กซี่ เป็นต้น
ประกอบธุรกิจในไทยจะต้องมีใบอนุญาต
การเริ่มต้นทำธุรกิจในประเทศไทย การมีใบอนุญาตเป็นเรื่องสำคัญมาก ดังนั้นนักลงทุนจะต้องยื่นขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจสำหรับการค้า ในกลุ่มธุรกิจที่คุณสนใจลงทุน ซึ่งใบอนุญาตจะมีความแตกต่างตามประเภทการประกอบธุรกิจ
เนื่องจากใบอนุญาตประกอบธุรกิจ เป็นการยืนยันว่าบริษัทได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ และดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างถูกกฎหมาย ตัวอย่างของธุรกิจที่ต้องมีใบอนุญาต มีดังนี้
- ร้านอาหารและบาร์ – การเปิดร้านอาหารและบาร์อาจต้องมีใบอนุญาตบางอย่าง เช่นใบอนุญาตอาหารจากสำนักงานเขต หรือในกรณีที่มีจำหน่ายแอลกอฮอล์ จะต้องมีใบอนุญาตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ตัวแทนการท่องเที่ยว – ตัวแทนการท่องเที่ยวหรือ Travel Agency จะต้องมีใบอนุญาตที่ออกโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ก่อนที่ผู้ประกอบการจะสามารถเริ่มเสนอแพคเกจทัวร์ต่าง ๆ ได้
- ใบอนุญาตนำเข้าและส่งออก – ผู้ที่ประกอบธุรกิจนำเข้า-ส่งออก จะต้องมีใบอนุญาตที่ออกโดยกรมศุลกากร
อย่างไรก็ตามธุรกิจข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างธุรกิจที่ต้องมีใบอนุญาตเฉพาะจากหน่วยงานรัฐบาล นอกจากนี้มีใบอนุญาตประเภทอื่น ๆ ที่จัดเป็นใบอนุญาตเฉพาะ เช่น
- ใบอนุญาตจัดหางาน
- ใบอนุญาตก่อสร้าง
- ใบอนุญาตอีคอมเมิร์ซ
- ใบอนุญาตโรงงาน
- ใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
- ใบอนุญาตโรงแรม
- ใบอนุญาตสื่อหรือการตีพิมพ์
- ใบอนุญาตโรงเรียน
ใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่างประเทศในประเทศไทย
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 บริษัทต่างชาติ จะต้องมีใบอนุญาตการประกอบธุรกิจ ซึ่งออกโดยกระทรวงพาณิชย์ โดยในรายละเอียดการขอใบอนุญาตแต่ละประเภทธุรกิจ หรือเอกสารทางกฎหมาย Interloop Solutions & Consultancy เรามีบริการให้คำแนะนำและให้บริการนักลงทุนที่สนใจลงทุนในประเทศไทย
Leave a Reply