กรมสรรพากรและการเก็บภาษีสกุลเงินดิจิตอลในประเทศไทย
ในการลงทุนหรือการใช้เงินผู้คนมักจะลืมในเรื่องการเก็บภาษีของรัฐบาล การเก็บภาษีกำไรที่เข้ามาในประเทศ ทำให้ในเมื่อนักลงทุนที่ได้กำไรแล้ว ก็ต้องแปลกใจกับกำไรที่ถูกหักหายไป ดังนั้นการเรียนรู้ข้อกำหนดกฎหมายของประเทศที่ต้องการจะลงทุนถึงเรื่องการกำหนดภาษี ข้อจำกัดจากรัฐบาลจึงเป็นที่สำคัญ
นับตั้งแต่ปี 2560 ประเทศไทยได้เปิดรับให้ Cryptocurrency ได้มีบทบาทเข้ามาในแวดวงธุรกิจการลงทุนของไทยมากขึ้น นักธุรกิจหรือนักลงทุนต่างสนใจที่จะเข้ามาสู่ตลาดที่หนาแน่นนี้ ทั้งมือใหม่หรือผู้ที่ไม่ได้จะสนใจศึกษาหาข้อมูลกับสกุลเงินดิจิตอลนี้ให้ดีพอ ทำให้เกิดความเชื่อที่ผิดพลาดขึ้นเกี่ยวกับ Cryptocurrency นี้ คือ
- ผลกำไรที่ถูกเก็งไว้ และได้ราคาสูงนั้น ไม่จำเป็นต้องจ่ายภาษี
- ผลกำไรที่ไม่ระบุชื่อนั้นจะไม่ถูกตรวจพบ
- ผลกำไรที่ถูกทำให้ดูซับซ้อน จะไม่ถูกสรรพากรตรวจพบและอยู่เหนือกฎหมายภาษีได้
วิธีการที่กล่าวไปข้างต้น นั้นดูดีแต่ก็ดูเหมือนจะดีเกินกว่าที่จะเป็นจริง การที่จะทำแบบนั้นได้นั้นไม่ต่างกับภาพลวงตาที่ไม่สามารถจับต้องได้เลย
ข้อกำหนด 7 ข้อของกรมสรรพากรในการตรวจสอบภาษี
-
การเสียภาษีทั้งหมด
สรรพากรประเทศไทยนั้นมองว่าการเก็บภาษี Bitcoin ในประเทศไทยนั้นง่าย Cryptocurrency และ เหรียญสกุลเงินอื่น ๆ เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวตนดังนั้น จึงเป็นการค้าที่เป็นไปตามหลักการภาษีอากรทั่วไป กำไรจากการลงทุนของบริษัทจะถูกเก็บภาษีในอัตราภาษีนิติบุคคลปกติที่ 20% และเก็บภาษีบุคคลในอัตราสูงถึง 35% สำหรับ PIT คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้สรรพากรมองว่า เป็นสินทรัพย์ที่ไม่มีตัวเงิน IAS 38 (Intangible Assets)
-
Tax Events
การเพิ่มมูลค่านั้นไม่ต้องเสียภาษี อย่างไรก็ตาม Tax events นั้นส่งผลให้ไม่มีภาระภาษีที่ต้องชำระ และหนี้ที่ต้องชำระ หากสินทรัพย์ดิจิตอลถูกขายเป็นเงินระบบกระดาษ (Fiat currency : Baht, USD) ถึงกระนั้น หากคุณใช้ Cryptocurrency ในการซื้อสินค้าและบริการหรือมีการแลกเปลี่ยนจากสินทรัพย์ดิจิตอล สกุลเงินดิจิตอล หรือสกุลเงินอื่น ๆ ก็จะต้องเสียภาษีตามเดิม แม้ว่าจะยังคงอยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน
-
การทำธุรกรรมต่างประเทศ
ตามคำกล่าวของสรรพากร อ้างอิงจากข่าวบางกอกโพสต์เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2018 ถึงผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยแต่แลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิตอลไปยังต่างประเทศนั้น การชำระภาษีจากรายได้ที่ได้จะเป็นหน้าที่ของเจ้าของ หากไม่ปฏิบัติตามดังนั้น จะเป็นการละเมิดกฎหมายทางแพ่งและทางอาญาหากถูกตรวจพบโดยกรมสรรพากร
นอกจากนั้นกฎหมายเพิ่มเติมของการเสียภาษีใต้พระราชกฤษฎีกาจะไม่เกิดผลหากธุรกรรมดิจิตอลในระบบบล็อกเชนและผลกำไรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนั้นถือเป็นรายได้ที่มาจากต่างประเทศ และไม่สามารถนำมาใช้ได้ สรรพากรมีข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบภาษีว่า ขอบเขตภาษีของประเทศไทยจะไม่แยกกำไรของ Cryptocurrency จากการเก็บภาษีในประเทศ และหากการแลกเปลี่ยนกำไรนั้นล่าช้าไปยังปีงบประมาณปีหน้า อีกทั้งระบบบล็อกเชนนั้นไม่ถือว่ามาจากต่างประเทศ ด้วยระบบบล็อกเชนนั้นมีอยู่ทั่วที่ประเทศไทย
-
กฎหมายการเก็บภาษีในปี 2560
หมายถึงสถานการณ์ทางกฎหมายในปี 2561 ที่เกิดขึ้นมาจากผลจากปี 2561 ซึ่งเป็นผลทางกฎหมายที่ไม่ได้มีพื้นฐานมาจากพระราชกฤษฎีการปี 2561 แต่เป็นผลกระทบจากกฎหมายเก่า ซึ่งภายใต้กฎดังกล่าวนี้กำไรที่ได้มาจาก Bitcoin ที่มาจากปี 2560 ต้องเสียภาษีทั้งหมด ทั้งยังต้องประกาศลงในการประกาศภาษีสำหรับปี 2560
จากนั้นประมวลประมวลรัษฎากรได้แก้ไขโดยพระราชกฤษฎีกาให้รวมกฎเพิ่ม ดังนี้ “ส่วนแบ่งผลกำไร หรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้จากการถือครองหรือครอบครองทรัพย์สินดิจิตอล และ กำไรจากการโอนเงินดิจิตอลหรือทรัพย์สินดิจิตอล ให้เป็นรายได้ทางภาษีที่สามารถประเมินได้” เพื่อเป็นการเพิ่มรายการการจัดเก็บภาษีเพื่อลดการหลีกเลี่ยงจากเจ้าของที่หาทางหลีกหนีการจ่ายภาษีอย่างถูกกฎหมาย อีกทั้งกฎการเก็บภาษีของ Cryptocurrency ปัจจุบันที่อาจจะแตกต่างกัน
-
ภาษี ณ ที่จ่าย 15%
ภายใต้ประมวลรัษฎากรพฤษภาคม 2561 ที่แก้ไขเพิ่มเติมให้บุคคลที่ได้รับและประโยชน์จากการวางเงินในสินทรัพย์ดิจิตอลจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% สำหรับกำไรจากการลงทุนและผลประโยชน์จากการทำธุรกรรมสินทรัพย์ดิจิตอลของนิติบุคคล ซึ่งกฎนี้ถูกกำหนดโดยกฎของกระทรวงการคลัง
การแก้ไขกฎหมายนี้ไม่ได้มีการลดภาษีมาเกี่ยวข้อง กล่าวคือไม่อนุญาตให้ถือว่าอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นภาษีขั้นสุดท้าย ดังนั้นนิติบุคคลและบุคคลจะต้องรวมกำไรจากการลงทุนและผลประโยชน์จากการทำธุรกรรมสินทรัพย์ดิจิตอลในการคำนวณภาษีเงินได้ จึงทำให้ข้อจำกัดสูงสุดสำหรับการเก็บภาษี Bitcoin ยังคงอยู่ที่ 35% แทนที่จะเป็น 15%
-
VAT 7%
กฎหมายที่จัดการด้านภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ในการทำธุรกรรมสินทรัพย์ดิจิตอลได้ถูกยกเลิกสำหรับนักลงทุนรายย่อยที่ซื้อขาย Cryptocurrency และสกุลเงินดิจิตอลผ่านการทำธุรกรรมดิจิตอลโดยกรมสรรพากร
กระทรวงการคลังออกกฎกำหนดภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% สำหรับผลกำไรจากการลงทุนและผลประโยชน์จากธุรกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลของนิติบุคคล ซึ่งจะไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้นบริษัทที่ทำการซื้อขายที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิตอลจะต้องชำระ VAT 7% จากมูลค่าการทำธุรกรรมซึ่งอจะอยู่นอกเหนือภาษีหัก ณ ที่จ่าย 15% และนอกเหนือจากภาษี ณ ที่จ่าย 20% CIT
การขายเหรียญดิจิตอลส่วนตัว หรือการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิตอลส่วนตัวจะไม่รวมภาษมูลค่าเพิ่ม 7%
-
การจัดเก็บภาษี ICO
Cryptocurrency สามารถใช้ประโยชน์จากกลยุทธ์การเพิ่มทุนแบบดั้งเดิมโดย
- ชดเชยกำไรที่ขาดทุน
- ระยะเวลาของการจัดการเพื่อให้มีคุณสมบัติในการจัดเก็บระยะยาว
- การเก็บเกี่ยวผลขาดทุนและกำไรทางภาษี
อย่างไรก็ตามด้วยกระแสของตลาด Cryptocurrency สกุลเงินดิจิตอลที่เชี่ยวกรากนี้ ทำให้ตลาดนี้ยังมีความเข้มข้นและมีความเป็นไปได้ในทุกช่องทางเสมอ หากแต่ต้องคอยศึกษาและตามกฎหมายและกระบวนการให้เท่าทัน เพื่อที่จะได้ใช้ประโยชน์สูงสุดจากการลงทุนนี้
สำหรับท่านใดที่สนใจบริการให้คำปรึกษา Cryptocurrency และระบบ Blockchains สามารถติดต่อปรึกษาได้ที่บริษัท InterLoop Solutions & Consultancy Co.,Ltd. โทร 097-106-9113 ID Line: @inlps
Leave a Reply