เทคโนโลยีทางการเงิน (Fintech) จะสามารถขับเคลื่อนการฟื้นตัวที่เข้มแข็งของเอเชียหลังโควิด-19 ได้หรือไม่?

1024 618 admin

การที่จะพูดว่าปี 2020 เป็นปีที่ท้าทายก็คงจะพูดได้ไม่เต็มปากมากนัก การแพร่ระบาดของโควิด-19  ได้กัดกร่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ค่อย ๆ เติบโตจากการสั่งสมระยะเวลาหลายสิบปีของประเทศในเอเชียลงอย่างรวดเร็ว แต่กระนั้นก็ตามก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤต หนึ่งในนั้นคือการรุดหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งได้เข้ามาเป็นตัวช่วยในการช่วยสร้าง­­ผลกำไร และกระตุ้นการฟื้นคืนกลับมาของเศรษฐกิจเมื่อการแพร่ระบาดนั้นหมดไป

ดังที่เราทราบกันว่า โรคระบาดช่วยเร่งให้เกิดการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เราหลายคนได้หันมาใช้การประชุมออนไลน์ และเครื่องมือดิจิทัลอื่น ๆ ในขณะทำงานอยู่ที่บ้านหรือ work from home การจำกัดการเดินทางออกนอกพื้นที่และการล๊อกดาวน์ทำให้หลายบริษัทหันมาทำธุรกิจและให้บริการออนไลน์

 

การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ อีคอมมเมิร์ซได้กลายมาเป็นมาตรฐานทางธุรกิจ

การชำระเงินด้วยระบบดิจิทัลนั้นอำนวยความสะดวกในเรื่องการเปลี่ยนถ่ายจากระบบออฟไลน์มาสู่ระบบออนไลน์ และการใช้งานของแต่ละแพลตฟอร์มนั้นก็ประสบความสำเร็จอย่างมากในหลาย ๆ ภูมิภาค ตัวอย่างเช่น ในประเทศฟิลิปปินส์ ที่มีผู้นำทางด้าน Mobile Wallet อย่าง GCash มีการเจริญเติบโตของตัวเลขการทำธุรกรรมถึง 700% เฉพาะในเดือนมิถุนายน เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และมีจำนวนผู้ลงทะเบียนเพื่อใช้งานเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2020

 

ตัวเลขการใช้งานในเอเชียถือเป็นครึ่งหนึ่งของทั้งหมด ในขณะที่สหรัฐอเมริกามีตัวเลขอยู่ที่ 22% และ ในยุโรปอยู่ที่ 11% และการใช้งานของระบบดิจิทัลทางการเงินได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นเดียวกัน ควบคู่มากับตัวเลขที่สูงขึ้นจากการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในแพลตฟอร์มอื่น ๆ หากได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสม เทคโนโลยีทางการเงิน หรือ Fintech Solution นี้จะช่วยให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่าการฟื้นตัวจากโรคระบาดจะเป็นไปอย่างยั่งยืนและมีความครอบคลุม

 

การใช้เทคโนโลยีทางการเงินผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนช่วยทำให้ประหยัด, เกิดการระดมทุนของฝูงชน และการแปลงหลักทรัพย์ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลสามารถยกระดับประสิทธิภาพการใช้งานได้จากทุก ๆ พื้นที่การใช้งานและลดค่าใช้จ่ายจากการทำธุรกรรม ซึ่งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนอเรื่องราวดี ๆ ผ่านสังคมออนไลน์ รวมไปถึงบริการต่าง ๆ

 

และเพื่อให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น เราจำเป็นต้องทำงานร่วมกันเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่จะทำให้เกิดการแบ่งแยกของกลุ่มคน ในการเข้าถึงการเชื่อมต่อ รวมไปถึงคนยากจน, ผู้หญิง, คนชรา, และคนในสังคมชนบท คนเหล่านี้จำเป็นต้องเข้ามาอยู่ในระบบเศรษฐกิจดิจิทัลเพื่อเพิ่มการผลักดันให้ Fintech เป็นเครื่องมือไปสู่การเติบโตในวงกว้าง เมื่อไม่นานมานี้ทาง ADB ได้อนุมัติงบประมาณจำนวน  500 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อให้อินโดนีเซียได้นำไปการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน (Fintech-led financial inclusion)สำหรับผู้ดำเนินธุรกิจขนาดเล็ก ถึงเล็กมาก

 

5 ข้อปฏิบัติที่องค์กรรัฐบาลและเอกชนสามารถดำเนินการร่วมกันได้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของ Fintech ให้เป็นจริง

ในการก้าวไปข้างหน้า มีห้าข้อปฏิบัติที่องค์กรรัฐบาลและเอกชนสามารถดำเนินการร่วมกันได้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของ Fintech ให้เป็นจริง และเพื่อช่วยสังคมให้ดีขึ้นจากสถานการณ์การโรคระบาด

 

  1. มีการเข้าถึงโครงข่ายข้อมูลทางการเงินดิจิทัลที่เที่ยงธรรม

เรายังคงเห็นการพัฒนาที่ไม่ต่อเนื่องของโครงข่ายดิจิทัลกันต่อไปในเอเชียรวมถึงความแตกต่างของระดับความพร้อมทางดิจิทัล ควรมีการใช้มาตรการขยายการลงทุนทางโครงข่ายดิจิทัลและการเชื่อมต่อโดยการเพิ่มพื้นที่การเข้าถึงของ Broadband Internet และปรับปรุงบริการของระบบ broadband และการให้บริการแบบ Mobile ในราคาที่สมเหตุสมผล

จัดให้มีการให้ความรู้การฝึกอบรมทางด้านดิจิทัลจะสามารถช่วยปลดล๊อกคศักยภาพในชุมชนเพื่อให้การกระจายตัวของเทคโนโลยีดิจิทัลนั้นเกิดประโยชน์

 

  1. มีระบบ Digital Ecosystem ที่มีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์ การกระจายตัว และการเพิ่มตัวเลขทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม

ประการที่สอง จำเป็นจะต้องพัฒนาระบบ Digital Ecosystem เพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์ การกระจายตัว และการเพิ่มตัวเลขทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม

องค์กรเอกชนจะเป็นผู้ขับเคลื่อนนวัตกรรมโดยส่วนมาก อย่างไรก็ตาม ในหลาย ๆ ประเทศนั้น นโยบายของทางภาครัฐบาลก็ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเชื่อมและหลอมรวมระหว่างบริษัทผู้ให้บริการทางการเงิน และ บริษัทที่ให้บริการทางเทคโนโลยีไว้ด้วยกัน ความสอดคล้องที่ช่วยเสริมความสมบูรณ์ และขอบข่ายการทำงานที่มีมิติมุมมองหลากหลาย เป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนา และก่อให้เกิด Digital Ecosystem

และควรจะมีการประเมินรวมเอาไว้ด้วย เพื่อเพิ่มความมั่นใจในเรื่องการแข่งขันที่ยุติธรรม มีอุปสรรคในการเข้าแข่งขันที่ต่ำ ปกป้องลูกค้า และยกระดับในเรื่องการรักษาข้อมูลสำคัญ ๆ

 

  1. เพื่อให้มีความมั่นใจในระบบยืนยันตัวตนดิจิทัล หรือ Digital ID ที่มีความมั่นคง ปลอดภัย และยั่งยืน

ประการที่สาม ในการพัฒนาประเทศในเอเชียนั้นมักขาดระบบดิจิทัลสำหรับการระบุตัวตน หลายครั้งที่เกิดปิดกั้นการเข้าถึงบริการทางดิจิทัลซึ่งจำเป็นจะต้องใช้การยืนยันตัวตนในการเข้าใช้ ดังนั้นจึงต้องมีการดำเนินการเพื่อให้มีความมั่นใจถึงการพัฒนาในแง่ของความมั่นคง ปลอดภัย และยั่งยืนของระบบยืนยันตัวตนดิจิทัล หรือ Digital ID

ความก้าวหน้าได้เกิดขึ้นแล้ว ในปาปัวนิวกินี ADB ได้เข้ามาช่วยพัฒนาบัตร Smart card โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารในเขตใกล้เคียงในการเข้าถึงระบบยืนยันตัวตนซึ่งสามารถใช้ได้แม้ในพื้นที่ที่ไม่มีไฟฟ้า หรือ อินเตอร์เน็ต

 

  1. เทคโนโลยีทางการเงินหรือ Fintech นำเสนอวิธีการใหม่ๆเพื่อกระตุ้นการพัฒนาการเงินที่ยั่งยืนท่ามกลางช่องว่างของการพัฒนาที่สำคัญ ๆ

แพลตฟอร์มของ Fintech สามารถนำไปใช้เพื่อเพิ่มการออมได้ และสามารถเลือกช่องข้อมูลได้ว่าจะให้อยู่ในหมวดสาธารณะ หรือ กองทุนส่วนตัว

โซลูชั่นที่ใช้ระบบบล็อกเชน และ Tokenization (คือการแปลงสินทรัพย์ที่สามารถซื้อขายได้ให้ไปอยู่ในรูปแบบโทเค็นที่มีความปลอดภัย และแสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์สินในรูปแบบดิจิทัล) คือรูปแบบที่ให้คำมั่นในเรื่องการแก้ปัญหาช่องว่างทางการเงิน และความปลอดภัยของกองทุนอย่างยั่งยืนสำหรับโครงข่าย โดยเริ่มต้นจากผู้ประกอบการ และเพื่อเป็นการพัฒนาและนำเอาโซลูชั่น Fintech นี้ไปใช้งานจริงควรได้รับการสนับสนุนจากนโยบายและข้อบังคับที่เหมาะสม เพื่อการพัฒนา Business Model ที่ใช้การได้ในการลดต้นทุนและตอบสนองความต้องการในการลงทุน

 

ประการที่ห้า เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับโซลูชั่นทางการเงินดิจิทัล มีการกระตุ้นเตือนเมื่อมีความเสี่ยงในการถูกฉ้อโกงรวมไปถึงการกระทำผิดทางกฎหมายต่าง ๆ ที่คุกคามต่อศีลธรรมจรรยาและความเป็นส่วนตัว

 

  1. โซลูชั่นทางการเงินจำเป็นต้องมีวิธีการจัดการแบบองค์รวมเพื่อเสริมความแข็งแกร่งทางด้าน การป้องกันและความปลอดภัยของไซเบอร์

สิ่งนี้สามารถทำได้โดยลดปริมาณความเสี่ยงและเพิ่มกำลังความสามารถในการ recover ระบบในระยะเวลาอันสั้นหลังถูกโจมตีผ่านทางแพลตฟอร์มเพื่อล้วงเอาข้อมูลลับไป ซึ่งบ่อยครั้งมักจะก่อเหตุแบบ real-time รัฐบาลจำเป็นต้องแน่ใจว่าระบบที่ใช้อยู่เป็นประจำนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนาดิจิทัลระดับโลกได้ด้วยเช่นกัน การทำงานร่วมกันในระดับนานาชาติจำเป็นจะต้องมีสิ่งป้องกันให้กับระบบความปลอดภัยของ Cyber  ซึ่งจะช่วยทำให้พื้นที่ไซเบอร์นั้นเป็นพื้นที่ที่ไร้พรมแดน

การแพร่ของโรคระบาดที่น่าเศร้านี้ได้เน้นให้เห็นถึงพลังของเทคโนโลยีดิจิทัล เราต้องใช้ประโยชน์ของพลังนี้ในการกระตุ้นการเติบโตที่ครอบคลุมให้ฟื้นคืนชีวิตอีกครั้ง เพื่อที่สังคม โดยเฉพาะคนยากจนในพื้นที่ห่างไกลจะสามารถผ่านวิกฤติครั้งนี้และสามารถก้าวไปข้างหน้าได้

 

 

อะไรคือ Fintech?

มันคือพื้นฐานในการกล่าวถึงธุรกิจที่ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำระบบให้เป็นอัตโนมัติ ในการปรับปรุงบริการทางการเงิน และ กระบวนการทางการเงินที่หลากหลาย Fintech ให้บริการทั้งแก่ผู้บริโภคและบริษัทต่าง ๆ  และมีแอพพลิเคชั่นที่กว้างขวางสามารถรวบรวมทุกอย่างจาก Mobile Banking และ การประกันภัยให้อยู่ในรูปแบบ Cryptocurrency และ แอพพลิเคชั่นสำหรับการลงทุนได้

Fintech ไม่ใช่อุตสาหกรรมใหม่ด้วยประการทั้งปวง แต่มันค่อย ๆ เปลี่ยนและมีวิวัฒนาการอย่างช้า ๆ ดังนั้น มันเป็นสิ่งที่สามารถฉกฉวยเอาไว้ได้เพื่อความทันสมัยที่ล้ำหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ตอนนี้มันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจทางการเงินมาหลายสิบปี มีการปรับเปลี่ยนและปรับรูปแบบมาเรื่อย ๆ

Mobile Technology และ อินเตอร์เน็ต ทำให้ทุกอย่างมาอยู่ตรงหน้าได้เพียงแค่คลิ๊กเดียว ในทางเดียวกันนี้ มันเลยไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจที่ปริมาณการทำธุรกรรมบนระบบการเงินดิจิทัลจะมีตัวเลขที่เพิ่มสูงขึ้น การที่เราใช้เทคโนโลยีกันในชีวิตประจำวันทำให้อุตสาหกรรม Fintech เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและแข็งแกร่ง ซึ่งทำให้ Fintech กลายมามีความสำคัญมากยิ่งขึ้น

 

ติดตามช่องทางสำหรับรับข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม ได้ที่
Youtube: Interloop Solutions & Consultancy

Leave a Reply

Your email address will not be published.