ลองจินตนาการถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ใดก็ได้ในโลก ไม่ว่าจะในป่าลึก บนภูเขาสูง หรือแม้แต่ในมหาสมุทร โดยไม่ต้องอาศัยเสาสัญญาณโทรคมนาคม การใช้ชีวิตคงจะสะดวกสบายขึ้นมากสำหรับหลาย ๆ คนโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล นี่ไม่ใช่นิยายและอาจเกิดขึ้นได้จริงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจากดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit (LEO) Satellites)
เทคโนโลยีนี้ได้รับความสนใจจากองค์กรหลายแห่งในไทยเนื่องจากเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม บางกลุ่มมีการร่วมลงทุนเพื่อทำการศึกษาและเริ่มเขียนโปรแกรม ในขณะที่กลุ่มอื่น ๆ มีการทำข้อตกลงเพื่อหาวิธีการให้บริการเกตเวย์ดาวเทียมที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียม LEO รวมไปถึงเริ่มดำเนินงานด้านการตลาดและการขายบริการดาวเทียม LEO ในภูมิภาคด้วย
กลุ่มทุนต่าง ๆ ในประเทศได้มีการขอข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากผู้ให้บริการดาวเทียมเพื่อรับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าว โดยดาวเทียม LEO ดูเหมือนจะได้รับความสนใจมากที่สุดจากรัฐบาล บริษัทเหมืองแร่ กลุ่มบริษัทขนส่ง และผู้คนในพื้นที่ห่างไกล โดยเทคโนโลยีดังกล่าวยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาและยังไม่ได้มีการให้บริการเชิงพาณิชย์แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามมีการตั้งข้อสังเกตว่า ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าบริการเครือข่ายความเร็วสูง (บรอดแบนด์) ของดาวเทียม LEO อาจกลายเป็นภัยคุกคามต่อผู้ให้บริการบรอดแบนด์แบบมีสายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันได้
ความเคลื่อนไหวทั่วโลก
แนวหน้าของการพัฒนาเทคโนโลยีนี้คือ SpaceX บริษัทจรวดจากสหรัฐที่ก่อตั้งโดย Elon Musk ภายใต้โครงการ Starlink ซึ่งเป็นกลุ่มดาวเทียมที่ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ขณะนี้มีการปล่อยดาวเทียม Starlink ขึ้นสู่อวกาศแล้วรวม 597 ดวง จากแผนเริ่มต้นทั้งหมด 12,000 ดวง อย่างไรก็ดีในเดือนตุลาคม 2562 บริษัทได้ขออนุญาตต่อคณะกรรมการการสื่อสารแห่งชาติของสหรัฐฯเพื่อส่งดาวเที่ยมเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนถึง 30,000 ดวง
บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของอเมริกาอย่าง Amazon ได้คิดค้น Project Kuiper ซึ่งเป็นโครงการสนับสนุนการปล่อยตัวกลุ่มดาวเทียม LEO ที่จะให้บริการ “การเชื่อมต่อบรอดแบนด์ความเร็วสูงแก่ชุมชนที่ไม่ได้รับบริการและด้อยโอกาสทั่วโลก” โดยมีแผนที่จะส่งดาวเทียม LEO จำนวน 3,236 ดวงขึ้นสู่อวกาศ คู่แข่งอีกรายคือ OneWeb จากสหราชอาณาจักรมีดาวเทียมอยู่ในวงโคจรแล้ว 74 ดวง และยังมีอีกหลายร้อยดวงที่อยู่ในแผนการ บริษัทที่ได้ยื่นฟ้องล้มละลายนี้ได้รับแรงสนับสนุนในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม เมื่อรัฐบาลอังกฤษและกลุ่มบริษัทโทรคมนาคมจากอินเดีย Bharti Enterprises กล่าวว่าพวกเขาจะร่วมกันระดมทุน 1 พันล้านดอลลาร์เพื่อซื้อ OneWeb
ทางด้านของจีนก็ไม่พลาดเทรนด์นี้โดย China Aerospace Science & Industry Corp ซึ่งเป็นบริษัทของรัฐมีเป้าหมายที่จะเริ่มดำเนินการกับเครือข่ายดาวเทียมจำนวน 156 ดวงภายในปี 2565 ทั้งนี้ SpaceX และ OneWeb กล่าวว่าเครือข่ายบางส่วนจะสามารถเริ่มให้บริการได้ในปี 2564
ระบบการทำงาน
ดาวเทียม LEO ทำงานในวงโคจรระยะ 500 ถึง 2,000 กิโลเมตรจากพื้นผิวโลก เมื่อเทียบกับดาวเทียมสื่อสารแบบเดิมที่เรียกว่าดาวเทียมค้างฟ้า (geostationary satellites) ซึ่งมีความสูงอยู่ที่ประมาณ 36,000 กม. วงโคจรที่ต่ำกว่านั้นส่งผลให้เกิดการดีเลย์ (latency) ที่ต่ำกว่าในการส่งสัญญาณ เนื่องจากสัญญาณสามารถเดินทางผ่านอวกาศได้เร็วกว่าสายไฟเบอร์ออปติก ดาวเทียม LEO จึงมีศักยภาพในการแข่งขันกับเครือข่ายภาคพื้นดิน OneWeb กล่าวเมื่อเดือนกรกฎาคม 2562 ว่าการทดสอบดาวเทียม LEO สามารถให้ความเร็วบรอดแบนด์มากกว่า 400 เมกะบิตต่อวินาทีโดยมี latency เฉลี่ย 0.032 วินาทีเมื่อเทียบกับดาวเทียม geostationary ที่มี latency เกือบ 0.6 วินาที ที่ระดับความสูงต่ำกว่าดาวเทียม LEO จะเคลื่อนที่ไปรอบโลกได้เร็วขึ้นที่ประมาณ 8 กิโลเมตรต่อวินาที เมื่อเทียบกับดาวเทียม geostationary ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่ากับการหมุนของโลก ซึ่งการรับสัญญาณจากดาวเทียมนั้นจะทำได้ก็ต่อเมื่อ สามารถมองเห็นวงโคจรของดาวเทียมจากเครื่องรับสัญญาณบนพื้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ดาวเทียมจำนวนมาก เพื่อให้แน่ใจว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง Elon Musk กล่าวว่าเมื่อเปิดใช้งานแล้วเครือข่ายดาวเทียม Starlink จะสามารถสร้างรายได้ถึง 3-5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อปีเลยทีเดียว
อุตสาหกรรมการบินและอวกาศ กับ การส่งเสริมการลงทุนของประเทศไทย (BOI)
สำหรับประเทศไทย ได้มีการพยายามผลักดันอุตสาหกรรมอวกาศให้กลายเป็น ศูนย์กลางการบินและอวกาศ หรือ Aerospace Hub ของอาเซียน รวมถึงเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายหลักในการขอยื่น BOI ที่รัฐบาลกำลังให้ความสำคัญ เนื่องจากอุตสาหกรรมนี้ได้มีการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตและดำเนินการ ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้สอดคล้องกับเกณฑ์ที่อุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ อีซีซี (ECC) กำหนด เพื่อที่จะต้องการส่งเสริมให้เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออก
สำหรับกรณีตัวอย่าง ในการยื่นขอรับ BOI สำเร็จเป็นเจ้าแรก ๆ ในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศของประเทศไทย คือ บริษัท อัสโตรเบอร์รี่ จำกัด โดย 1 ในสิทธิประโยชน์ที่บริษัทได้รับนั้น คือ สิทธิประโยชน์สูงสุดจาก BOI ประเภท A การยกเว้นภาษีนิติบุคคลเป็นเวลาทั้งหมด 8 ปี ซึ่งนับว่าเป็นสิทธิประโยชน์ที่หลายธุรกิจ หลายองค์กรต้องการอย่างมาก
ทั้งนี้ ขอขอบคุณ บริษัท อัสโตรเบอร์รี่ จำกัด ที่ไว้วางใจในคุณภาพ และบริการของทางทีมงาน InterLoop ในด้านของการให้บริการยื่นขอรับ BOI
InterLoop เราพร้อมให้ความช่วยเหลือนักลงทุนในทุก ๆ ขั้นตอน ในด้านการขอยื่น BOI ท่านสามารถติดต่อได้ที่ Line ID: @inlps และ เบอร์โทรศัพท์: 097-106-9113
Leave a Reply