วิธีทำธุรกิจส่งออกไปจีน
1. การส่งออกไปจีน
ขนาดเศรษฐกิจจีนได้รับการยอมรับว่าเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากกำลังซื้อและอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ที่สูงเป็นอันดับ 2 ของโลก จึงทำให้นักลงทุนต่างชาติที่ส่งออกไปจีน มีโอกาสทางการค้าเพิ่มขึ้นด้วย โดยพัฒนาการส่งออกของจีนเริ่มตั้งแต่ปี 2543 จนจีนกลายเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2553 และเป็นผู้ค้าที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปี 2556 ซึ่งภายในไม่กี่ปีจะเห็นว่าเศรษฐกิจจีนขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งถึงปัจจจุบัน
การส่งออกที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วมาจากการที่จีนเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ในปี 2544 ประกอบกับความต้องการด้านชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นในขณะนั้น และนอกจากการเข้าร่วม WTO แล้ว รัฐบาลจีนเปิดงานมหกรรมแสดงสินค้านำเข้านานาชาติประเทศจีน (China International Import Expo : CIIE) และยังคงเดินหน้าเปิดตลาดต่อเนื่อง ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในจีนอย่างต่อเนื่อง
- a) U.S.-China Trade War สงครามการค้าสหรัฐ-จีน
CIIE เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับสงครามการค้าสหรัฐฯ -จีน ซึ่งปัจจุบันสงครามการค้า สร้างความตึงเครียดให้กับ 2 ประเทศมหาอำนาจเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม CIIE ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างจีนกับนานาประเทศ เพื่อสร้างชื่อเสียงให้กับจีนและยกระดับให้เป็นตลาดสากล
2.การส่งออกไปจีน: ข้อพิจารณาก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจในจีน
- a) มาตรฐานการนำเข้าของจีน
นักลงทุนต่างชาติที่สนใจลงทุนเปิดบริษัทในจีน ก่อนอื่นต้องศึกษาและทำความเข้าใจตัวกฎหมาย ตลอดจนพิจารณารูปแบบการจัดตั้งบริษัทที่เหมาะสมที่สุดสำหรับธุรกิจ
มาตรฐานการนำเข้าสินค้าจีนค่อนข้างเข้มงวด มีระเบียบบังคับที่ใช้เป็นมาตรฐาน ทั้งนี้เพื่อรักษาความปลอดภัยของชาติ และการปกป้องสุขภาพของประชาชน ทรัพย์สินส่วนบุคคล ตลอดจนการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยมี The Standardization Administration of China หรือ SAC เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแล และพัฒนายกระดับมาตรฐานของจีน โดยมาตรฐานสินค้าจีน ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข 1 ใน 4 ดังนี้
- มาตรฐานแห่งชาติ
- มาตรฐานอุตสาหกรรม
- มาตรฐานท้องถิ่น
- มาตรฐานองค์กร (ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กร)
ดังนั้นบริษัทต่างชาติที่ทำธุรกิจแล้วอยากประสบความสำเร็จ จะต้องนำมาตรฐานเหล่านี้มาใช้ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตจากการลงทุนในจีน
- b) ใบรับรองอะไรบ้างที่มีความจำเป็น?
The China National Certification and Accreditation Administration (CNCA) เป็นหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการออกใบรับรองสินค้า โดย CNCA มีหน้าที่เป็นทั้งผู้ออกใบรับรองสินค้า การทดสอบผลิตภัณฑ์ และให้เครื่องหมาย China Compulsory Certification (CCC)
สินค้าที่ไม่ผ่านมาตรฐาน จะถูกดำเนินการตามกฎหมายนำเข้าของจีน โดยเครื่องหมาย CCC เป็นการตรวจสอบความปลอดภัยและตรวจคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐาน ซึ่งจะแบ่งผลิตภัณฑ์ออกเป็น 23 ประเภท ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคลที่ไม่ผ่านการตรวจจากกรมศุลกากร จะไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าสินค้า จนกว่าสินค้านั้น ๆ จะได้รับเครื่องหมาย CCC อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ประมาณ 20% ที่มาจากสหรัฐฯ จะต้องได้รับเครื่องหมาย CCC
- c) ข้อจำกัดคืออะไร?
อย่างไรก็ตามมีผลิตภัณฑ์บางอย่างที่ไม่สามารถนำเข้าได้ เนื่องจากผิดกฎหมาย หรือมีข้อห้ามในการนำเข้า สินค้าเหล่านั้น ประกอบด้วย สื่อสิ่งพิมพ์ ภาพถ่ายที่เป็นวัตถุสงคราม เช่น ปืน ยาพิษ วัตถุระเบิด สินค้าลอกเลียนแบบ และสินค้าอื่น ๆ ที่ขัดกับวัฒนธรรมอันดีของจีน
- d) มีข้อจำกัดในด้านอุตสาหกรรมหรือไม่?
ทาง The National Health and Family Planning Commission (NHFPC) ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการดูแลสุขภาพและวางแผนสุขภาพแห่งชาติ จะจำกัดสินค้าต้องห้ามที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน โดยผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารต่างประเทศจะต้องลงทะเบียนกับ State Certification and Accreditation Administration (CAA) ว่าการนำเข้าอาหารมีอัตรายอะไรหรือไม่ โดยการนำเข้าเนื้อสัตว์ จัดเป็นสินค้าในรายการที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ เนื่องจากมีกำหนดด้านสุขภาพ จึงต้องตรวจสอบก่อนนำเข้า
นอกจากนี้ในข้อกำหนด The China Restriction of Hazardous Substances (China RoHS 2) หรือการตรวจสอบวัตถุอันตราย จะตรวจสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดอันตราย ดังนั้นผู้นำเข้าสินค้าประเภทนี้ จึงต้องปฎิบัติตามมาตรฐานของจีน
3.วิธีการเข้าสู่ตลาดจีน
อันดับแรกก่อนที่บริษัทต่างชาติจะเข้ามาลงทุนในจีน จะต้องศึกษานโยบายการค้า กฎหมายธุรกิจ ตลอดจนรูปแบบและเงื่อนไขการตั้งบริษัท เช่น การหาพาร์ทเนอร์ชาวจีน การถือหุ้นส่วนในบริษัท รวมถึงการศึกษาข้อปฎิบัติของกฎหมายท้องถิ่น ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละมณฑล ควบคู่กับการเตรียมแผนการลงทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว
โดยการเปิดบริษัทในจีนนั้น นักลงทุนต่างชาติสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การอนุญาตให้ต่างชาติเป็นเจ้าของวิสาหกิจทั้งหมด การร่วมทุน การตั้งสำนักงานตัวแทน เป็นต้น ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีความแตกต่างกัน ทำให้การจ้างแรงงานและสถานะของบริษัทจะต่างกันด้วย
- Representative office หรือการตั้งสำนักงานตัวแทน
สำนักงานตัวแทน (Rep Office) เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ง่ายที่สุด ถูกที่สุด และเร็วที่สุดในการตั้งบริษัท โดยมีข้อกำหนดพื้นฐาน 3 ประการคือ บริษัทต่างชาติหรือนิติบุคคลที่ทำธุรกิจในจีนอย่างน้อย 2 ปี สามารถตั้งสำนักงานตัวแทนได้เป็นเวลา 1 ปี ก็ต่อเมื่อได้รับการอนุมัติจากเจ้าหน้าที่รัฐ
การดำเนินการตั้งสำนักงานตัวแทน จะใช้เวลาดำเนินการ 2-3 เดือน ทั้งนี้การตั้งสำนักงานตัวแทนจะไม่ได้รับการรับรองในฐานะนิติบุคคล และมีข้อจำกัดในการประกอบธุรกิจคือ บริษัทสามารถทำการวิจัยการตลาดได้เท่านั้น ห้ามทำกำไรจากการว่าจ้างพนักงาน ทั้งนี้ Representative Offices จะต้องเสียภาษีขั้นต่ำ 10% จากค่าใช้จ่ายรวม
อย่างไรก็ตามสำนักงานตัวแทนสามารถจัดการการจ่ายเงินเดือนของพนักงานต่างประเทศและออกใบอนุญาตให้แรงงานต่างชาติได้มากถึง 4 คน (รวมถึงตัวแทนทางกฎหมายได้) อย่างไรก็ตามเอเจนซี่ด้านการประกอบธุรกิจในจีน กลับเป็นหน่วยงานสำคัญที่ช่วยผู้ประกอบการในการจัดหาแรงงาน และจ่ายเงินเดือนของพนักงานท้องถิ่น
- WFOE กิจการประเภทชาวต่างชาติเป็นเข้าของทั้งหมด
กิจการประเภทชาวต่างชาติเป็นเจ้าของทั้งหมด (WFOE / WOFE) เป็นโครงสร้างธุรกิจที่พบมากที่สุด แม้ว่ารูปแบบการตั้งบริษัทจะมีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการตั้งบริษัทในรูปแบบอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ
โดยเงื่อนไขของ WFOE อนุญาตให้ผู้ประกอบการว่าจ้างพนักงานท้องถิ่นโดยตรง และสามารถส่งเงินกลับประเทศต้นทางได้ เนื่องจาก WFOE ถือเป็นนิติบุคคลเต็มรูปแบบ ภายใต้กฎหมายจีน เหมาะสำหรับบริษัทต่างชาติที่ต้องการจ้างพนักงานท้องถิ่น และอยากจ่ายเงินเดือนเป็นสกุลเงินหยวน
- Joint venture กิจการร่วมค้า
กิจการร่วมค้า (JV) เป็นรูปแบบการก่อตั้งบริษัทระหว่างผู้ประกอบการต่างชาติ กับผู้ประกอบการชาวจีน โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามสัดส่วนการถือหุ้น ทั้งนี้ในรายละเอียดของ JV พบว่ารูปแบบการถือหุ้นตามสัดส่วน หรือ Equity Joint Venture (EJV) และการร่วมทุนตามโครงสร้าง หรือ Contractual Joint Venture (CJV) ถือเป็นรูปแบบที่พบมากที่สุด
- โซลูชั่นอื่น ๆ ในการจ้างงาน
Employer of Record Solutions อนุญาตให้บริษัทต่างชาติจ้างพนักงานในประเทศและต่างประเทศ โดยไม่มีนิติบุคคลในจีนช่วยดูแลเรื่องการจ่ายเงินเดือน การจ่ายภาษี ข้อปฏิบัติอื่น ๆ การทำประกันสุขภาพ ตลอดจนการทำวีซ่า ซึ่งที่พบส่วนใหญ่คือบริษัทมักจะว่าจ้างพนักงานต่างประเทศ ช่วยดำเนินธุรกิจและการแก้ปัญหาการจ้างงาน ซึ่งครอบคลุมการว่าจ้างพนักงานอย่างถูกกฎหมาย การดูแลระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้บริษัทสามารถโฟกัสไปที่การประกอบธุรกิจ โดยไม่ต้องห่วงเรื่องการบริหารจัดการภายในองค์กร
- คู่ค้าผู้นำเข้า และผู้จัดจำหน่าย
บริษัทต่างชาติที่ต้องการจัดตั้งธุรกิจในประเทศจีน สามารถเริ่มต้นด้วยการสร้างเครือข่าย Distributor กับตัวแทนจำหน่ายในพื้นที่ที่สนใจ โดยตัวแทนหรือผู้จัดจำหน่ายจะช่วยตรวจสอบนโยบายและกฎระเบียบท้องถิ่น ตลอดจนข้อมูลด้านการตลาดที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจ
4.บทสรุป
การเตรียมความพร้อมศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ และการวางแผนธุรกิจ จึงเป็นเรื่องสำคัญของการขยายตลาด โดยเฉพาะการเข้าลงทุนโดยตรงในจีน ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ และตลาดที่เต็มไปด้วยโอกาสทางการค้า สำหรับบริษัทต่างชาติ
Leave a Reply