BOI Company คืออะไร?
ปกติแล้วการเข้ามาลงทุนหรือการแข่งขันทางธุรกิจของนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทย อาจจะเป็นเรื่องยาก เพราะมีข้อห้ามนักลงทุนต่างชาติทำธุรกิจแข่งขันกับคนไทย ที่มีสถานะเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น แต่ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ออกมาตรการพิเศษ สนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมหลักหรืออุตสาหกรรมสำคัญ เพื่อให้ไทยแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนได้ เช่น สิงคโปร์
สำหรับโครงการลงทุนที่ได้รับการอนุมัติจากบีโอไอ จะต้องเป็นบริษัทต่างชาติ 100% ที่ตั้งอยู่ในไทย โดยสิทธิประโยชน์การลงทุนจะได้รับ เช่น การรับรองการมีถิ่นที่อยู่เพื่อการรัษฎากรในประเทศไทย ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจที่ต่ำ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ นอกจากนี้มีสิทธิประโยชน์อีกหลายอย่าง หากเข้ามาลงทุนในไทยแล้วได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอ หรือมีสถานะเป็น BOI company
แล้วสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากการเป็น BOI Company มีอะไรบ้าง?
- อนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติเป็นเข้าของธุรกิจได้ 100%
- เสียภาษี 0% ในช่วงการลงทุน 8 ปีแรก (ขึ้นอยู่กับที่ตั้งและประเภทธุรกิจ)
- อนุญาตให้นำแรงงานชาวต่างชาติที่มีทักษะ เข้ามาทำงานได้
- ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เครื่องจักรนำเข้า
- ยกเว้นภาษี 3 ปี หากมีการวิจัยและพัฒนา (R&D) หรือสนับสนุนสถาบันวิจัยและพัฒนา
ตารางเปรียบเทียบบริษัททั่วไป – บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอ
บริษัททั่วไป | บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอ | |
สัดส่วนแรงงานไทยต่อแรงงานต่างชาติ | 4 : 1 | ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข* |
ภาษีนิติบุคคลที่ต้องจ่ายจริง | 20% | 0%** |
อัตราสูงสุดที่ต่างชาติเป็นเจ้าของบริษัท | ไม่เกิน 49% | 100% |
การนำเข้าเครื่องจักร | จ่าย VAT | ไม่จ่ายภาษี |
เงื่อนไขอื่นๆ เพิ่มเติม | การตรวจสถานที่ตั้งสถานประกอบการ หรือแรงงานในบริษัท จะมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกรมสรรพากร เข้าไปตรวจสอบ | การตรวจสถานที่ตั้งสถานประกอบการ หรือแรงงานในบริษัท บีโอไอจะดำเนินการให้ โดย อัพเดตข้อมูลจากกรมสรรพากรโดยตรง |
*สัดส่วนแรงงานขึ้นอยู่กับความต้องการบริษัทว่าต้องการแรงงานไทย: แรงงานต่างชาติ จำนวนเท่าไร
ซึ่งบีโอไออนุญาตให้ผู้ประกอบตัดสินใจได้เอง
**ขึ้นอยู่กับประเภทธุรกิจ
ขั้นตอนการยื่นขอ BOI
การเตรียมตัวขอรับการส่งเสริมการลงทุน
เอกสารที่จะต้องกรอกเพื่อยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน มีความยาว 8 หน้ากระดาษ ครอบคลุมข้อมูลทั่วไป แผนการเงิน และจำนวนพนักงานที่คาดว่าจะมีการจ้างงาน ซึ่งคุณจะต้องกรอกข้อมูลและแนบเอกสารที่เป็นจริง ไม่เช่นนั้นจะมีความเสี่ยง ทั้งนี้ขั้นตอนการยื่นขอบีโอไอ ใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ
การชี้แจงโครงการ ที่สำนักงานใหญ่บีโอไอ
เมื่อเอกสารผ่านการอนุมัติแล้ว ขั้นตอนต่อไปนักลงทุนจะต้องไปชี้แจงโครงการที่สำนักงานใหญ่ในกรุงเทพ โดยเจ้าของบริษัทจะต้องชี้แจงโครงการต่อเจ้าหน้าที่ ซึ่ง InterLoop เรารู้ว่า 95% บีโอไอจะถามอะไรคุณ ส่วนอีก 5% ที่บีโอไอจะถามนั้น คุณจะต้องตอบคำถามตามความเป็นจริง เนื่องจากบีโอไอจะดูทางออกหากตอบไม่ตรงคำถาม เพราะที่ผ่านมามีผู้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมเข้ามาเป็นจำนวนมาก หลายรายที่เบี่ยงประเด็น เสนอแผนธุรกิจธรรมดา แต่คาดหวังว่าจะได้รับการส่งเสริมฯ
ผู้เริ่มก่อการ / ผู้เริ่มก่อตั้งบริษัท
การจะเป็นบริษัทไทย มีเงื่อนไขการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ดังนี้
- บริษัทเอกชนจำกัด จะต้องมีผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทอย่างน้อย 3 ราย (อายุ 20 ปีขึ้นไป) บริษัทมหาชนจำกัด จะต้องมีผู้เริ่มก่อตั้ง 12 ราย
- ผู้เริ่มก่อตั้งจะต้องจดทะเบียนตั้งบริษัท และต้องสำเนาเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียนทุกฉบับ
- ผู้เริ่มก่อตั้งบริษัทจะต้องเป็นผู้ถือหุ้นทันที ภายหลังจัดตั้งบริษัท และจะต้องถือหุ้นอย่างน้อย 1 หุ้น
- ผู้เริ่มก่อตั้งสามารถโอนหุ้นให้กับบุคลคลอื่นได้ ภายหลังจากนี้
- กฎหมายธุรกิจไทยระบุว่า ผู้เริ่มก่อตั้งจะไม่สามารถจัดตั้งบริษัทในที่อื่นได้
การจองชื่อบริษัท
การตั้งชื่อบริษัทหรือชื่อนิติบุคคลนั้น ผู้ยื่นจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจะต้องเสนอชื่อที่เป็นไปได้ไว้ 3 ชื่อ ทั้งนี้นายทะเบียนมีสิทธิที่จะตัดชื่อออกได้ หากชื่อไม่ตรงเงื่อนไขกฎหมาย ชื่อบริษัทซ้ำ ชื่อไม่เหมาะสม หรืออื่น ๆ ที่ขัดกับระเบียบสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลางว่าด้วยการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัท ตามกฎหมายธุรกิจ
การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
บริษัทจะต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (FBL) จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ก่อนที่จะเริ่มทำธุรกิจ ซึ่งเราสามารถที่จะช่วยคุณให้การดำเนินการราบรื่นได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม และการยื่นแบบภาษี
บริษัทจะต้องยื่นขอหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และขอหนังสือรับรองการมีสถานภาพเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 60 วัน หลังจดทะเบียนบริษัทหรือเริ่มทำธุรกิจ ซึ่งหากบริษัทมียอดขายมากกว่า 1.2 ล้านบาท จะต้องยื่นแบบจ่ายภาษี VAT ให้กับกรมสรรพากร ภายใน 30 วัน ของปีงบบริษัท
นักลงทุนต่างชาติทำธุรกิจอะไรได้บ้าง?
ธุรกิจเราจะผ่านไหม? อยากให้คุณช่วยลองลิสต์ดูก่อน ถ้าพร้อมแล้ว เรามาดูกันเลยว่าธุรกิจอะไรบ้างที่ห้ามชาวต่างชาติเป็นเจ้าของเต็มตัว
- ธุรกิจเกษตรกรรม – การขยายพันธุ์พืชและการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง
- ธุรกิจเหมืองแร่ – การสำรวจแร่และสินแร่
- ธุรกิจเหมืองแร่ – การแยกแร่ (ยกเว้นนักลงทุนชาวออสเตรเลีย ที่มีข้อยกเว้นตามสนธิสัญญา)
- ธุรกิจเหมืองแร่ – การขุดค้นแร่หินอ่อน หรือหินแกรนิต
- ภาคการผลิต – การผลิตรถมอเตอร์ไซค์ 4 จังหวะ
- ธุรกิจบริการและสาธารณูปโภค – บริษัทเทรดดิ้งต่างชาติ
แม้ว่านักลงทุนต่างชาติจะลงทุน 100% ไม่ได้ แต่บีโอไออนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นได้ ซึ่งเงื่อนไขนี้อยู่บนพื้นฐานที่อยากให้นักลงทุนสามารถทำงานร่วมกันได้ดี
สำหรับท่านใดที่สนใจยื่นขอ BOI สามารถติดต่อได้ที่บริษัท InterLoop Solutions & Consultancy Co.,Ltd. โทร 097-106-9113 ID Line: @inlps ทางเรามีบริการให้คำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญที่จะทำให้งานคุณสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย
Leave a Reply