BOI ออกยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่ของประเทศไทย

1024 576 admin

ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่ของประเทศไทย

ย้อนกลับไปเมื่อ 60 กว่าปีที่แล้ว หรือตั้งแต่มีกฎหมายการส่งเสริมการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมในปี 2497 ประเทศไทยเติบโตอย่างมีนัยสำคัญจากกลยุทธ์การส่งเสริมการลงทุน โดยนโยบายดังกล่าวเพื่อให้ไทยพ้นจากการเป็นประเทศกับดักรายได้ปานกลาง จากการจัดอันดับของธนาคารโลก อย่างไรก็ตามปัจจุบันรายได้เฉลี่ยต่อหัวก็ยังไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจประเทศไทยดีขึ้น ตั้งแต่มีวิกฤตการเงินในปี 2540 เพราะฉะนั้นเพื่อยกระดับเศรษฐกิจไทย จึงต้องปรับโครงสร้างการส่งเสริมการลงทุน จึงมีการตั้งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ขึ้นมา

การร่างนโยบายการส่งเสริมการลงทุนใหม่อาจจะมีความล่าช้าจากความตึงเครียดทางการเมือง และทำให้บีโอไอมีข้อจำกัดในการส่งเสริมการลงทุนไปบ้าง แต่โดยรวมมีความพยายามที่จะผลักดันนโยบายส่งเสริมการลงทุน โดยลดความซับซ้อนลง และเพิ่มแรงจูงใจให้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเพิ่มคุณค่าสินค้าด้วยการนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพิ่มเข้าไป เช่น นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมสีเขียว หรือส่งเสริมการเติบโตแบบยั่งยืน

มาตรการเดิมส่งเสริมการลงทุนในกิจการ 7 ประเภท ประกอบด้วย 1.เกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร 2.แร่ เซรามิกส์และโลหะขั้นพื้นฐาน 3.อุตสาหกรรมเบา 4.ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง 5.อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 6.เคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ และ 7.กิจการบริการและสาธารณูปโภค แต่ในร่างยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนฉบับใหม่นี้ จะยกเลิกการส่งเสริมการลงทุน 80 กิจการ

โดยหลักเกณฑ์การปรับกิจการใหม่นี้ พิจารณาจาก 1.การเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระดับต่ำ มีการใช้เทคโนโลยีระดับต่ำ หรือมีความซับซ้อนในด้านการผลิตน้อย เช่นในอุตสาหกรรมพลาสติกและกระดาษ 2.นโยบายการส่งเสริมแรงงานหรือมีการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เช่นในธุรกิจทำสวนยางพารา การปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน (Hydroponic Cultivation) 3.อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น ธุรกิจด้านพลังงานที่ใช้ทรัพยากรสูง หรือ 4.กิจการอื่นๆ ที่อาจจะเป็นประเด็นทางสังคม อย่างกิจการสัมปทาน เช่น ธุรกิจโรงพยาบาล

ทั้งนี้ในร่างหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่ ประกอบด้วย กิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนรวม 8 กิจการ ได้แก่ ระดับ A1 หมายถึง อุตสาหกรรมฐานความรู้เน้นการออกแบบ ทำวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคลล (CIT) 8 ปี ไม่จำกัดวงเงิน และยกเว้นอากรเครื่องจักร และวัตถุดิบ Non-tax ทั้งนี้มีเฉพาะต่ำกว่าระดับ B4 ที่ได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีวัตถุดิบ Non-tax เพราะฉะนั้นโดยสรุปมี 10 รายการ ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนระดับ A1 จากประเภทกิจการทั้งหมด 8 กิจการ โดยมี 2 รายการที่จัดเป็นกิจการอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ดังนั้นเชื่อว่านโยบายการส่งเสริมการลงทุน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะการยกเว้น CIT ที่จะช่วยกระตุ้นการลงทุนในแต่ละเซ็คเตอร์ให้เกิดขึ้นได้

ส่วนกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนสูงที่สุด ประกอบด้วย 1.กิจการเทคโนโลยีชีวภาพ 2.กิจการบริการจัดการพลังงาน 3.กิจการวิจัยและพัฒนา 4.กิจการบริการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ 5.กิจการบริการสอบเทียบมาตรฐาน 6.กิจการบริการออกแบบทางวิศวกรรม 7.กิจการนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี  8.กิจการสถานฝึกฝนวิชาชีพ 9.กิจการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ และ 10.กิจการซอฟต์แวร์แบบฝังตัว ซึ่งจะเห็นว่าในรายชื่อกิจการดังกล่าวเป็นกิจการที่พยายามลดต้นทุนการดำเนินการ โดยการเพิ่มมูลค่าหรือเพิ่มความคิดสร้างสรรค์หรือเพิ่มนวัตกรรมเข้าไป

นอกจากนี้สังเกตว่านโยบายส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมขั้นสูงในต่างประเทศ เช่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ มีข้อมูลจากธนาคารโลกรายงานว่าเกาหลีมีรายได้ประชากรต่อหัว (GNI per capita) ช่วงปี 2503 ต่ำกว่าประเทศไทย แต่ในปี 2511 ทั้ง 2 ประเทศมี GNI per capita ที่เท่ากัน หรืออยู่ที่ 180 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นของรายได้ประชากรต่อหัวของเกาหลีใต้ มีความน่าสนใจตรงที่อัตรารายได้สูงขึ้นต่อเนื่องและปรับขึ้นมากกว่า 4 ครั้ง จนสูงกว่าไทย โดยในปี 2555 GNI per capita เกาหลี อยู่ที่ 22,670 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี ขณะที่ GNI per capita ของไทย อยู่ที่ 5,210 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปีเท่านั้น

โดยรายได้ประชากรต่อหัวของเกาหลีที่เพิ่มขึ้นนั้น เป็นผลมาจากการวางนโยบายเศรษฐกิจ 5 ปี (ซึ่งรัฐบาลเกาหลีเริ่มทำแผนตั้งแต่ปี 2505) สำหรับประเทศไทยเอง ก็มีความพยายามที่จะใช้ยุทธศาสตร์การลงทุนระยะ 5 ปีเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอที่ปรับปรุงใหม่เป็นระยะๆ ควบคู่กับการปฏิรูปการศึกษา ตลอดจนการรักษาเสถียรภาพทางการเมือง เพื่อให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้สูง หรือมี GNI per capita มากกว่า 12,615 ดอลลาร์สหรัฐต่อคนต่อปี มีความสามารถในการแข่งขันทัดเทียมนานาประเทศ

 

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ เพื่อบูทส์เศรษฐกิจไทย

นโยบายส่งเสริมการลงทุนของบีโอไอในปัจจุบันครอบคลุมเซ็คเตอร์หลักๆ ของเศรษฐกิจ ตั้งแต่สเกลขนาดใหญ่ ไปจนถึงสเกลขนาดเล็ก ทั้งการพัฒนาเอสเอ็มอีและนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

 

การเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษี

อย่างไรก็ตามบีโอไอได้ขยายเวลาการขอรับการส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากไปจนถึงช่วงปลายปี 2564 ขณะเดียวกันนางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการบีโอไอ ระบุเพิ่มเติมว่า และเพื่อกระตุ้นให้เกิดการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว บีโอไอได้ยกระดับมาตรฐานกิจการสนับสนุนการท่องเที่ยวเพิ่มเติม จึงเห็นชอบให้ปรับปรุงประเภทกิจการกระเช้าไฟฟ้า และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ท่องเที่ยว โดยอนุมัติการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในโครงการลงทุนในกิจการกระเช้าไฟฟ้า และการส่งเสริมรถรางไฟฟ้า โดยกำหนดเงื่อนไขต้องมีการลงทุนไม่น้อยกว่า 100 ล้านบาท นอกจากนี้ยังส่งเสริมธุรกิจโรงแรม และผู้ประกอบการในพื้นที่เมืองรอง 55 จังหวัดด้วย

 

เพราะฉะนั้นทำให้ปี 2562 ที่ผ่านมาจะมีโครงการขอรับคำส่งเสริมการลงทุน 756.1 พันล้านบาท (หรือประมาณ 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ตรงกับเป้าหมายที่บีโอไอตั้งไว้ ทั้งนี้สัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ มียอดขอรับคำส่งเสริมการลงทุนแล้ว 506.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 67% ของยอดการขอรับคำส่งเสริมการลงทุน

Leave a Reply

Your email address will not be published.